magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

สาระวิทย์ เดือนพฤษภาคม 2557 (14)

Cover Story

  • โรคกลัวคณิตศาสตร์ แฝงอยู่ในพันธุกรรม

เรื่องเด่น

  • บทความพิเศษ: ปฏิทินวิทยาศาสตร์ 2557
  • หน้าต่างข่าว วิทย์-เทคโนฯ โลก: มัมมี่ก็เป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดเหมือนคนยุคปัจจุบัน
  • ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์: ลูกแมวประหลาด มีตาเดียว จมูกงวงช้าง

Read more…– ( 24 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โลกร้อนทำกระแสลมขั้วโลกใต้แรงสุดในรอบ1000 ปี

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงแคนเบอร์ราประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่12พ.ค.ว่า ผลการศึกษาของบรรดานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย(เอเอ็นยู)ระบุ ว่า ขณะนี้เกิดกระแสลมในมหาสมุทรใต้มีความรุนแรงที่สุดในรอบ1,000 ปี ท่ามกลางภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ทวีปแอนตาร์กติกาหนาวเย็นขึ้นและ ออสเตรเลียกำลังเผชิญภัยแล้งที่รุนแรงกว่าเดิม

โดยระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศส่งผลให้กระแสลมใน มหาสมุทรใต้มีความรุนแรง นอกจากนี้ นักวิจัยยังกล่าวด้วยว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯโดยฝีมือมนุษย์ทำให้โลกร้อนขึ้นเช่นเดียวกับทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในกระแสลมตะวันตกที่เคยมีความเร็วลมสูงถึง200 กิโลเมตรในศตวรรษที่20 ขณะที่นายสตีเว่น ฟิปป์ส หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 รูโหว่ของชั้นโอโซนในบรรยากาศขยายตัวกว้างมากขึ้น อันมีสาเหตุมาจากการที่มนุษย์ปล่อยคลอโรฟลูโอโรคาร์บอนส์อันจะทำให้ทางตอน ใต้ของออสเตรเลียน่าจะเผชิญฤดูหนาวที่แห้งแล้งหนักขึ้นอีก

รายการอ้างอิง :

2557. โลกร้อนทำกระแสลมขั้วโลกใต้แรงสุดในรอบ1000 ปี. เดลินิวส์ (ต่างประเทศ). ค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภามคม 2557. จาก http://www.dailynews.co.th/Content/foreign/236921/โลกร้อนทำกระแสลมขั้วโลกใต้แรงสุดในรอบ1%2C000+ปี.

 – ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์บนกระจกอาคารสำนักงาน

โดย William G. Schulz &Emily Bones, Chemical and Engineering News January 6, 2014

Feb_STnews_2014_9

หน้าต่างสำนักงานอาคารและตึกระฟ้าสามารถทำเป็นสีสันต่างๆ  เพื่อเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์นั้น  มีความเป็นไปได้ยุคสมัยนี้ ถ้าหากว่าแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) มีน้ำหนักเบา ประสิทธิภาพสูง และมีความสวยงาม ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ รายงานว่า แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์กึ่งโปร่งแสง สามารถนำมาประยุกต์ใช้บนหน้าต่าง โดยที่แผ่นเซลล์แสงอาทิตย์นี้ควรมีประสิทธิภาพสูงในการดูดกลืนแสงและ สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ได้อย่างเพียงพอและแสงยังคงสามารถทะลุผ่านได้

จากการศึกษาวัสดุอินทรีย์ที่ใช้สามารถดูดกลืนแสงอินฟราเรดและแสงที่ตามอง เห็น แต่วัสดุแหล่งนี้มีประสิทธิภาพ ในการ เปลี่ยนแปลงพลังงานต่ำ  ส่วนวัสดุอนินทรีย์กึ่งตัวนำ อาทิ เช่น ซิลิกอนอสัณฐาน (Amorphous silicon) มี ประสิทธิภาพสูงในการดูดกลืนแสงที่ตามองเห็น เพราะฉะนั้นวัสดุประเภทนี้ควรบางเพื่อให้โปร่งแสง เพื่อช่วยลด ปริมาณของโฟตอน (Photons) คณะผู้วิจัย นำทีมโดย นักฟิสิกส์ Henry J. Snaith มหาวิทยาลัย Oxford ประเทศ อังกฤษ ได้ผลิตแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์จากแร่เพอรอฟสไกด์ (Perrovskites) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่กำลังได้รับความสนใจ อย่างมากในหมู่นักวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากว่าแร่ชนิดนี้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับวัสดุอนินทรย์กึ่งตัวนำ และมีความสามารถสูงในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18043-science-and-technology-news– ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Google Science Fair ประตูบานใหม่สำหรับนักวิทยาศาสตร์เยาวชน

Google.com เว็บไซต์เพื่อการสืบค้นที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันนี้ กำลังจัดการแข่งขันด้าน วิทยาศาสตร์บนระบบอินเตอร์เน็ต การแข่งขัน Google Science Fair เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 โดย Larry Page และ Sergey Brin ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Google มีวัถตุประสงค์ ในการกระตุ้นให้เยาวชนและคนรุ่นใหม่ระดมความคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิทยาศาสตร์ และค้นหา คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถโดดเด่นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้

Feb_STnews_2014_11

ผู้สนับสนุนการแข่งขันในปีนี้เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เช่น Lego Group, National Geographic, Scientific America Magazine และ Virgin Galactic Space Venture ผู้ชนะในการแข่งขันจะได้ เยี่ยมชมสถานีอวกาศ Virgin Galactic ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐ New Mexico ในฐานะผู้เข้าชม VIP ได้ร่วมเดินทางไปยังหมู่เกาะ กาลาปาโกส กับคณะของ National Geographic เป็นระยะเวลา 10 วัน และเงินรางวัลเป็นจำนวน 1,800,000 บาท ($60,000) สำหรับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต้นสังกัดของผู้ชนะเพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา และงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์

การแข่งขันนี้เปิดโอกาสให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษาอายุ 13 – 18 ปี จากทั่วโลก โดยสามารถลงแข่งขันได้ทั้งรายบุคคลและ กลุ่มผู้แข่งขัน บริษัท Google จะคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 15 คนหรือกลุ่ม โดยโครงการที่จะผ่านเข้ารอบนั้นจะต้องเป็น โครงการที่เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในเชิงลึก มีกำหนดส่งผลงานวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 และจะ ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในระดับโลกในเดือนสิงหาคม 2557 จากนั้น ผู้เข้ารอบสุดท้ายจะรวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรม แสดงผลงานที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท Google ซึ่งตั้งอยู่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

Feb_STnews_2014_13 Feb_STnews_2014_12

ตัวอย่างผู้ชนะที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลกคือ Shree Bose อายุ 17 ปี โดยในปี พ.ศ. 2554 เธอเป็นผู้ชนะจากการวิจัยยารักษาโรคมะเร็งจากยาซิสแพลติน (cisplatin) และในปี พ.ศ. 2555 เธอก็ยังได้เป็นผู้ชนะจากการวิจัยการตรวจสอบเนื้องอกที่อาจจะ พัฒนาเป็นเนื้อร้ายในเต้านม ผลงานอื่นๆ ของผู้ชนะในปีที่ผ่านมา เช่น ยาป้องกันโรคไข้หวัด ไฟฉายที่ไม่ต้องใช้พลังงาน จากถ่านไฟฉาย และพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากกล้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/18043-science-and-technology-news

 

 

 – ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การบริหารจัดการการวิจัย และ SciVal

การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น การจำกัดการเพิ่มขึ้นของงบประมาณจากภาครัฐ ความจำเป็นของการเพิ่มหรือขยายขีดความสามารถเพื่อดึงดูดเงินทุนสนับสนุนและความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลงานวิจัยและวิชาการ คือ ความท้าทายที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย (โดยเฉพาะของภาครัฐ) ส่วนใหญ่กำลังเผชิญ โดยกิจกรรมสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว คือ การปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการบริหารจัดการการวิจัยที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสถานะ จุดอ่อนและจุดแข็งของความสามารถจากผลงานวิจัยและวิชาการ ทั้งในระดับรายบุคคล ทีม/ฝ่าย/คณะ และหน่วยงานใหญ่ รวมถึงหน่วยงานคู่แข่งและพันธมิตร

Read more…– ( 155 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ธนบัตร 500 บาทแบบใหม่

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวเศรษฐกิจ

กรุงเทพฯ 7 พ.ค.2557 – ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะนำธนบัตร 500 บาทแบบใหม่ออกใช้ ซึ่งธนบัตรแบบใหม่นี้มีเทคนิคป้องกันการปลอมแปลงเป็นอย่างดี ติดตามจากรายงาน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.
http://www.mcot.net/site/content?id=536a2d7ebe04709c248b459b#.U2rhalf9Hcs– ( 10 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ก้อนน้ำแข็งขั้วโลก… เค็ม หรือจืด?

สำนักข่าวไทย นำเสนอสารคดี

เวลาดูสารคดีชีวิตสัตว์ขั้วโลก เราก็จะเห็นก้อนน้ำแข็งลอยล่องอยู่ในน้ำทะเล บ้างก็มีหมีแม่ลูก นกเพนกวิ้นตัวเล็กตัวน้อยเกาะลอยไปกับมันตุ๊บป่อง… ตุ๊บป่อง… เคยนึกสงสัยไหมครับว่า ไอ้เจ้าน้ำแข็งขั้วโลกเนี่ย… มันจืด รึว่ามันเค็ม?

ที่มันน่าสงสัยก็เพราะ เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าน้ำทะเลทั่วโลกมีรสเค็ม(อันเนื่องมาจากแร่ธาตุต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำ) ทีนี้ไอ้เจ้าน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำทะเล… มันจะเค็มมั๊ย…?

ก่อนจะตอบได้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกนั้นเค็มหรือจืด ก็ต้องเล่าที่มาของก้อนน้ำแข็งทั้งหลายที่ลอยตุ๊บป่องอยู่ก่อน ซึ่งเจ้าก้อนน้ำแข็งพวกนี้มีต้นกำเนิดสองประเภทด้วยกันครับ ได้แก่…
Read more…– ( 94 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

แอพพลิเคชั่นสำหรับคนรักอาหาร

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวสารคดีโลก

อาร์เจนตินา 6 พ.ค.2014 – แอพพลิเคชั่นใหม่ที่กำลังมาแรงในอาร์เจนตินาและเป็นที่สนใจอย่างมากโดยเฉพาะในหมู่คนที่ชื่นชอบอาหาร
“คุกแอพ” เป็นเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นใหม่ล่าสุดที่กำลังฮิตกันมากในกรุงบัวโนสไอเรสของอาร์เจนตินา โธมัส เบอร์มิวเดซ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์บอกว่า อาหารเป็นช่องทางนำไปสู่บทสนทนาทุกเรื่องราว เขาเชื่อว่าเมื่อผู้คนพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องของอาหารจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายโดยเฉพาะเมื่อได้ชมศิลปะการทำอาหารฝีมือของพ่อครัวชั้นเยี่ยม และยังทำให้ได้พบปะกับผู้คนมากมายที่เข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์

ลูกค้ายังสามารถจองโต๊ะเพื่อไปรับประทานอาหารที่บ้านของพ่อครัวผ่านคุกแอพโดยไม่ต้องไปเข้าคิวรอ เพียงแค่ชำระเงินทางออนไลน์เมื่อเข้าไปจองโต๊ะเท่านั้น  มาร์ติน อาร์โรโฮ ลูกค้าที่เพิ่งมาใช้บริการครั้งแรกบอกว่า คุกแอพเป็นช่องทางแบ่งปันความรู้สึกคลั่งไคล้ในเรื่องอาหารของเขากับผู้คนทั่วไปนอกจากในหมู่เพื่อนๆ ซึ่งเมื่อมีความสนใจในเรื่องเดียวกันก็ยิ่งอยากทำความรู้จักกันมากขึ้น
Read more…– ( 25 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรคชิคุนกุนยาระบาดถึงเฮติแล้วหลังพบในประเทศแถบแคริบเบียนเมื่อสิ้นปีก่อน

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ

ปอร์โตแปรงซ์ 7 พ.ค.2014 – เจ้าหน้าที่เฮติยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคแล้ว 14 คน หลังจากโรคนี้แพร่ระบาดในประเทศแถบทะเลแคริเบียนอย่างรวดเร็ว  นับตั้งแต่พบผู้ป่วยรายแรกเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน

กระทรวงสาธารณสุขเฮติเผยว่า จะเร่งแจ้งเตือนผ่านทางวิทยุให้ประชาชนเฝ้าระวังอาการที่อาจเกิดจากโรคนี้ หากมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้สูงและปวดตามข้อ ปกติแล้วโรคชิคุนกุนยาเป็นโรคที่พบในเอเชียและแอฟริกา แต่เพิ่งพบในประเทศแถบทะเลแคริบเบียนเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมที่เกาะเซนต์มาร์ติน ซึ่งเป็นดินแดนของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ จากนั้นโรคก็แพร่อย่างรวดเร็วไปยังเกาะใกล้เคียงและเฟรนช์เกียนา จังหวัดพ้นทะเลของฝรั่งเศส โรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกัน และไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ผู้ป่วยมักหายได้ภายในสัปดาห์ แต่บางคนอาจมีอาการปวดข้อนานหลายเดือนจนถึงหลายปี

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.
http://www.mcot.net/site/content?id=53698978be0470e7fa8b458a#.U2mO7Vf9Hcs– ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อาคารนวัตกรรมเพื่ออนาคต

อาคารกลุ่มนวัตกรรม2 หรือ INC2

อาคารที่ออกแบบตอบ โจทย์งานวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ของไทย ใหญ่และครบวงจรที่สุดในไทย ด้วยเงินลงทุนกว่า 3 พันล้านบาท

จากบริษัทเล็ก ๆ ‘โพลีพลาสติก’ เดินหน้าวิจัยนวัตกรรมร่วมกับ MTEC จนเติบโต และขยายสร้างศูนย์เทคนิคัลโซลูชั่นในอาคารกลุ่มนวัตกรรม2 นิคมวิจัยไฮเทคของสวทช. ที่ตอบโจทย์ ตรงใจเอกชนที่สนใจนวัตกรรม

โพลี พลาสติก (PolyPlastic) บริษัทจากญี่ปุ่นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกทางวิศวกรรมสำหรับขึ้นรูปอุปกรณ์ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ตั้งอยู่บนชั้น 8 ของอาคาร D อาคารกลุ่มนวัตกรรม2 อุทยานวิทยาศาสตร์ หลังจากเช่าพื้นที่อยู่ในศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติหรือ เอ็มเทค (MTEC) ซึ่งมีความร่วมมือในโครงการวิจัยต่างๆ ตั้งแต่ปี 2551 Read more…– ( 210 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments