magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

THREE FLAGSHIP INITIATIVES PLANNED Strategy to focus on farming, healthcare and tourism this year

The National Electronics and Computer Technology Centre is pursuing three flagship initiatives for the co-creation of excellence with partners, the ultimate goal being to leverage the competitiveness of the country as a whole.

Nectec executive director Pansak Siriruchatapong said the agency’s direction and strategy this year was concentrated on three initiatives – Smart Farm, Smart Healthcare and Digitised Thailand – which focus on utilising technology to support the agriculture, healthcare and tourism sectors. Read more…– ( 215 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พืชจีเอ็ม ในประเทศบราซิลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

Published on March 15, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28  กุมภาพันธ์  2556
ข่าวหมวดแนวโน้ม -   สหรัฐอเมริกา ทำการเพาะปลูกพืชจีเอ็ม จำนวน 69.5 ล้านแฮกแตร์ ในปี 2012 คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 0.7ของปีก่อน 2011 แต่สำหรับประเทศบราซิล ที่เป็นประเทศลำดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา มีการเพาะปลูกพืชจีเอ็ม ในอัตราเพิ่มสูงถึงร้อยละ 21  ที่คิดเป็นจำนวนพื้นที่ 36.6 ล้านแฮกแตร์ ถือว่ามีการเติบโตรวดเร็วมากที่สุดของโลก ก้าวข้ามประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ คือ สหรัฐอเมริกา  แคนาดา ออสเตรเลีย และยุโรป

อ้างอิง : Brazil’s GM-crop surge .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7438), 406-407.
http://www.nature.com/news/seven-days-22-28-february-2013-1.12494– ( 47 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รางวัล สาขาชีววิทยา

Published on March 15, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28  กุมภาพันธ์  2556
ข่าวหมวดรางวัล -   เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013 นักชีววิทยา 11 คน ได้เข้ารับรางวัลในพิธีการมอบรางวัลในการค้นพบที่สำคัญทาง วิทยาศาสตร์ ชีวภาพ จากผลงานการทำงานในเรื่อง มะเร็ง  จีโนมิกส์ ประสาทชีววิทยา และสเต็มเซลล์  รางวัลมีมูลค่ารวม 3 ล้านเหรียญสหรัฐ  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนต่างๆ รวมถึง องค์กร Russian social media  mogul  Yuri Milner โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับโปรไฟล์งานวิจัยสาขา ชีววิทยาการแพทย์
ในอนาคต จะมีการมอบรางวัล 5 รางวัลประจำปี เมื่อปีที่แล้ว 2012 รางวัล Milner ได้มีการมอบรางวัลเป็นครั้งแรกจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่สาขาฟิสิกส์พื้นฐาน แก่นักฟิสิกส์ด้านทฤษฎี

อ้างอิง : Biology prizes . (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7438), 406-407..
http://www.nature.com/news/seven-days-22-28-february-2013-1.12494– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พืชอินเดียอาจสามารถทำลายเซลล์มะเร็ง

กลุ่ม นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์มะเร็งมหาวิทยาลัย Georgia Regents (GRU) ค้นพบว่าพืชอินเดียที่ปกติถูกใช้เพื่อรักษาอาการอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ และไข้มาลาเรีย อาจช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้
Dr. Ahmed Chadli นักวิจัยภายใต้โครงการการวิจัย ด้าน Molecular Chaperone ของศูนย์มะเร็ง GRU และยังเป็น นักเขียนอาวุโสในวารสารวิจัยชื่อว่า “the Journal of Biological Chemistry’s” กล่าวว่า โดยปกติเซลล์มะเร็งจะหลีกเลี่ยงการถูกทำลายโดยการขโมยโมลกุล chaperones ซึ่งเป็นโปรตีนที่คอยปกป้องโปรตีนตัวอื่นเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานตามปกติ และเพื่อให้โปรตีนตัวอื่นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ในปัจจุบันการพัฒนาทางด้านยาได้มุ่งเน้นที่ chaperone Hsp90 (Heat shock protein 90) เพราะเป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการจัดรูปร่างของโปรตีน จึงกำลังเป็นที่สนใจในวงการยาทางด้านการรักษาโรคมะเร็งเป็นอย่างยิ่ง อย่าง ไรก็ตาม ผลทดสอบจากคลินิกเกี่ยวกับตัวยับยั้ง Hsp90 ยังเป็นที่น่าผิดหวัง ในปัจจุบันโมเลกุลขนาดเล็กส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อการแสดงออกของโปรตีนอย่าง ไม่ตั้งใจ ซึ่งโปรตีนเหล่านั้นคอยปกป้องเซลล์มะเร็งจากการตายของเซลล์และยังลดตัว ยับยั้ง Hsp90 ในการทดสอบในคลินิก
Chaitanya Patwardhan นักศึกษาปริญญาโทใน กลุ่มวิจัยของ Dr. Chadli ค้นพบว่า gendunin ซึ่งเป็นส่วน ประกอบของพืชอินเดียทำร้าย chaperone ตัวร่วม ของ Hsp90 ที่ชื่อว่า p23
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-newsที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/

– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่

สาระสำคัญจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่” วันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. 56 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กทม. มีสาระสำคัญ 9 ประการดังนี้

 

Read more…– ( 1391 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยาเม็ด 50 มิลลิกรัม 2 เม็ด เท่ากับยา 100 มิลลิกรัม 1 เม็ดหรือไม่?

ยาเม็ด 50 มิลลิกรัม 2 เม็ด เท่ากับยา 100 มิลลิกรัม 1 เม็ดนั้น ไม่แตกต่างกัน ขนาดที่ต่างกันนั้นทำให้การกินยาเป็นเรื่องง่ายขึ้น เนื่องจากยาแต่ละชนิดต้องกินในปริมาณที่ต่างกัน การมีเม็ดยาหลายขนาดทำให้แพทย์เลือกสั่งจ่ายยาให้คนไข้ได้ แต่ทางที่ดีที่สุดคือ การมีจำนวนเม็ดยาน้อยที่สุดเพื่อลดความยุ่งยาก และเพิ่มโอกาสในการกินยาของคนไข้ องค์การอนามัยโลกคาดว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ได้กินยาตามกำหนด ซึ่งเป็นไปได้ว่าเพราะพวกเขามียาที่ต้องกินหลายเม็ดเกินไปนั่นเอง

อ้างอิง : สมศักดิ์ ลิขิตรัตนพิศาล. (2555, พฤศจิกายน).  ยาเม็ด 50 มิลลิกรัม 2 เม็ด เท่ากับยา 100 มิลลิกรัม 1 เม็ดหรือไม่?.  ไซแอนซ์ อิลลัสเตรเต็ด, (17), 25.– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ข้อมูลการทดลองยา

Published on March 14, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 7 มีนาคม  2556
ข่าวหมวดธุรกิจ -  บริษัทยายักษ์ใหม่ของสวิสเซอร์แลนด์ Roche ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า  บริษัทอาจจะเปิดให้นักวิจัยเข้าถึงข้อมูลการทดลองยา ทางคลินิก (anonymized clinical-trial data)  โดยที่ผ่านมามักมีคำขอจากคณะผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความต้องการอย่างยิ่งในการอนุมัติยา
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ เป็นการทำตามหลัง บริษัท GlaxoSmithKline ที่เปิดให้เข้าถึงข้อมูลการทดลองยา เมื่อเดือนที่แล้ว
องค์กรด้านยาของยุโรป มีความตั้งใจว่า ในปีหน้าที่จะเปิดเผยข้อมูลการทดลองยาให้แก่สาธารณชนเข้าถึงได้อย่างเสรี

อ้างอิง : Drug-trial data .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 495 (7439), 10 – 11.
http://www.nature.com/polopoly_fs/1.12537!/menu/main/topColumns/topLeftColumn/pdf/495010a.pdf– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การอนุมัติยา

Published on March 14, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28  กุมภาพันธ์  2556
ข่าวหมวดธุรกิจ -   หน่วยงาน US Food and Drug Administration หรือ FDA ได้อนุมัติยาชื่อใหม่  ชื่อ Kadcyla ( adotrastuzumab emtansine) ที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมระยะปลายๆ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2013  ยาชื่อนี้พัฒนาโดยบริษัท Genentech แห่งกรุงซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  เป็นยาลักษณะ antibody-drug conjugate ที่สามารถเชื่อมโยงกับ blockbuster antibody therapy Herceptin  (trastuzumab) ที่รักษาแบบคีโม  เทคนิคนี้มีเป้าหมายเพื่อลด ผลข้างเคียงของยา และกระตุ้นแอนตี้บอดี้ ที่สามารถส่งถึงเซลล์มะเร็งโดยตรง

อ้างอิง : Drug approval . (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7438), 406-407.
http://www.nature.com/news/seven-days-22-28-february-2013-1.12494– ( 199 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นโยบาย open access ของสหรัฐอเมริกา

Published on March 14, 2013 by in S&T Stories

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 28  กุมภาพันธ์  2556
ข่าวหมวดนโยบาย -  งานวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ที่ใช้งบประมาณมากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
จะต้องทำการเปิดเผยผลลัพธ์การวิจัย ให้แก่สาธารณชน ให้เข้าถึงได้ แบบฟรี ในระยะเวลาหลังจากตีพิมพ์ แล้ว 1 ปี  มีการแถลงการณ์เรื่องนี้ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2013 คำสั่ง ข้อบังคับนี้ เป็นการขยายนโยบายเดิมที่ บังคับเฉพาะสาขาวิชาชีวภาพการแพทย์ (Biomedical science) เท่านั้น

อ้างอิง :  US open access . (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 494 (7438), 406-407.
http://www.nature.com/news/seven-days-22-28-february-2013-1.12494– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รักษาจอประสาทตา (Retinas) ที่เสียหายด้วยสเต็มเซลล์ของปลาม้าลาย


กลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอต้า (University of Alberta) ประเทศแคนาดาค้นพบว่า เซลล์ต้นกำเนิดของปลาม้าลาย (Stem cells) สามารถสร้างเซลล์รับแสงในชั้นจอประสาทตาของนัยน์ตาที่เสียหาย (Damaged photoreceptor cells) ขึ้นมาใหม่

ผู้นำกลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอต้า Ted Allison กล่าวว่า นักพันธุศาสตร์รู้ว่าเซลล์ต้นกำเนิดของปลาม้าลายแตกต่างจากของมนุษย์ เพราะสามารถแทนที่เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับกับระบบการมองเห็นที่เสียหาย โดยเฉพาะเซลล์ rods และ cones ที่เป็นเซลล์รับแสงตัวสำคัญของจอประสาทตาในมนุษย์ rods จะช่วยในการมองเห็นในเวลากลางคืน ในขณะที่ cones จะช่วยการมองเห็นในเวลากลางวัน แต่สิ่งที่ยังไม่รู้และยังไม่แน่ใจก็คือ เรากำหนดให้เซลล์ต้นกำเนิดให้ไปแทนที่เพียงแค่ cones ในจอประสาทตาได้หรือไม่ ซึ่งความรู้ตรงจุดนี้จะเป็นประโยชน์ที่สำคัญต่อการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อรักษาระบบดวงตาของมนุษย์ในอนาคตข้างหน้า ทั้งนี้เพราะสำหรับคนที่ระบบการมองเห็นเสียหาย การรักษา cones มีความสำคัญมากที่สุดเพราะช่วยในการมองเห็นตอนกลางวัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/11209-science-and-technology-news

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนมีนาคม 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 13 มีนาคม 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/test2012/– ( 92 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments