ภาพประกอบจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rip-grad-g-very-sad&group=8
พาสเตอร์ยาที่เรามีใช้เพื่อปิดแผล ห้ามเลือดในแผลขนาดเล็กที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ได้เริ่มก่อกำเนิดขึ้นตั้งแต่ ปี ค.ศ.1921 โดยนายเอิร์ล ดิกสัน (Earle Dickson) สามีที่น่ารักของนางโจเซฟิน ดิกสัน (Josephine Dickson) ด้วยความที่สามีภรรยาคู่นี้เป็นคู่สามีภรรยามือใหม่ นางโจเซฟินยังไม่ชำนาญการเป็นแม่บ้านแม่เรือนนัก เวลานางแปลงกายเป็นแม่บ้านอาการมีดบาด ตะปูตำ น้ำร้อนลวก จะมาเยือนนางอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้เอิร์ลผู้สามีจึงต้องปรนนิบัติพัดวีทำแผลเล็กๆ น้อยๆ ให้ตลอดเวลา เอิร์ลผู้ซึ่งทำงานอยู่ในบริษัท จอนห์นสัน แอนด์จอนห์สัน จึงปิ๊งไอเดียการทำแผลแบบประหยัดเวลา แต่เพิ่มความสะดวกสบายด้วยการนำผ้าก็อซมาวางบนเทปกาวเพื่อใช้ทำแผลให้ภรรยา
เมื่อเอิร์ต้องทำแผลให้กับภรรยาบ่อยๆ และเห็นว่าวิธีดังกล่าวนั้นสะดวก ในปี ค.ศ.1921 เอิร์ลจึงได้นำแนวคิดนี้ไปเสนอให้กับนายจ้างที่บริษัท จอห์นสัน แอนด์จอห์นสัน ซึ่งบริษัทฯ ก็ตอบรับแนวคิดและได้ผลิตแถบพันแผลแบบมีกาวขึ้นมาด้วยขนาด 3 นิ้ว ยาว 18 นิ้ว แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก
ต่อมาในปี ค.ศ.1924 บริษัทฯ ได้ลุกขึ้นมาปรับปรุงแทปกาวปิดแผลอีกครั้ง ได้มีการสร้างเครื่องจักรขึ้นมาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้านี้นี้โดยเฉพาะ และให้ชื่อสินค้านี้ว่า “แบนด์-เอด” (band-aid) เมื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาแผ่นเทปกาวปิดแผลขึ้นก็ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้ทำกำไรสูงสุดให้กับบริษัทในทันที
ในปี ค.ศ1951 ได้มีการปรับปรุงรูปโฉมใหม่ให้มีความกระทัดรัด ใช้ง่าย มีหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมต่อการเลือกใช้งาน ตั้งแต่นั้นมาเทปกาวปิดแผลหรือพาสเตอร์ยานี้ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก และในปัจจุบันพาสเตอร์ยาก็มีความหลากหลายทั้งขนาด และ สีสรร บางยี่ห้อก็มีรูปการ์ตูน ดอกไม้ เพื่อสร้างความสวยงามอีกด้วย
แหล่งที่มา : MK Restaurants พาปิ๊ง! ไอเดียซิ่ง…ในสิ่งที่ไม่ธรรมดา. กรุงเทพฯ : แสงแดด มีเดีย กรุ๊ป. 2549.– ( 312 Views)