ชูนวัตกรรมไทย เพิ่มมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร เดินสายเยือนอินเดียเจรจาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นำร่องอัพเกรดลำไยพรีเมียม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินทางเยือนประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน – 28 มิถุนายน 2556 เพื่อศึกษากรณีตัวอย่าง และเจรจาความร่วมมือในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการลำไยอย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงระบบจัดการด้านการตลาด เพื่อเป็นต้นแบบของระบบการบริหารจัดการผลไม้เพื่อการส่งออกอย่างยั่งยืน– ( 158 Views)
เนื้อเยื่อสมองเทียมสามมิติ
เทคโนโลยีในการสร้างเนื้อเนื่อเทียมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยีประเภทต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเนื่อเยื่อประเภทต่างๆ เช่น กระดูก กระดูกอ่อน ผิวหนัง ปอดเป็นต้น ดูรายละเอียดที่ รายการอ้างอิง : เนื้อเยื่อสมองเทียมสามมิติ. วงการแพทย์ (วัสดุและอุปกรณ์การแพทย์). ฉบับวันที่ 01 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556. – ( 60 Views)
งานวิจัยเนื่องในพระราชดำริของ เจ้าชายอากิฌิโนโนมิยะ ฟูมิฮิโตะ
สาระวิทย์ฉบับนี้มีความภูมิใจนำเสนอเรื่องราวงานวิจัยเกี่ยวกับ “โครงการศึกษาวิจัยพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่” งานวิจัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริของเจ้าชาย อากิฌิโนโนมิยะ ฟูมิฮิโตะ แห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้พระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อผู้อ่านสาระวิทย์ โดยเฉพาะครับ ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นนี้อาจจะยังไม่เคยมีการนำเสนอผ่านสื่อมวลชนมากนัก งานวิจัยชิ้นนี้ เจ้าชายอากิฌิโนฯ ทรงมีโอกาสเดินทางมาศึกษาไก่ป่าสีแดงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยด้วย และพบความสัมพันธ์ระหว่าง ไก่ป่ากับไก่บ้าน (พื้นเมือง) ดังกล่าว ซึ่งประเด็นนี้เป็นหนึ่งในหัวข้อที่ศึกษาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ในมิติทางชีววิทยา นอกจากนี้ก็ยังมี มิติทางอื่นๆ อีกได้แก่ มิติทางมนุษยศาสตร์ มิติทางนิเวศวิทยา และมิติทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 3, มิถุนายน 2556. เช่น “พหุสัมพันธ์คนกับไก่“ ปฏิบัติการบินทะลุฟ้าท้าฝันเด็กไทย ทำวิจัยในสภาวะไร้น้ำหนักที่ญี่ปุ่น กรณีของปลาไหลสีทอง อึ่งอ่างสีทอง ศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130601-sarawit-issue3.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). สาระวิทย์. 3(6). จาก http://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit– ( 72 Views)
อีเมลฉบับแรก เขียนถึงสาระวิทย์
ทันทีที่ e-magazine สาระวิทย์ถูกคลิกส่งถึงสมาชิกทางอีเมลกว่าพันราย ชั่วระยะเวลาไม่นานนัก เราก็ได้รับอีเมลตอบรับจากสมาชิกทันที และถือเป็นอีเมลฉบับแรกที่ส่งมาถึงกอง บ.ก.เราครับ เสียงสะท้อนจากผู้อ่าน จะเป็นประโยชน์ต่อทีมงานเราอย่างมากครับ อีกทั้งยังเป็นกำลังใจให้ทีมงานเราด้วย ในการที่จะได้สรรหาสาระความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมานำเสนอแก่สมาชิกและผู้อ่าน และ สร้างสรรค์สาระวิทย์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปครับ นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 2, เมษายน 2556. เช่น สวัสดีปีงู ตอน เจ้าแห่งอสรพิษ กล้วยออกลูกกลางลำต้น ตู้เลี้ยงสัตว์ใต้ทะเลลึก “การปรับปรุงพันธ์ุข้าวไทย” งานวิจัยสู่ความเป็นเลิศเพื่อเกษตรกร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130520-sarawit-02.pdf รายการอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). สาระวิทย์. 2(4). จาก http://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit– ( 63 Views)
ปฐมบทของ Science Digest By NSTDA
การแสวงหาข้อมูล ข่าวสาร หรือความรู้ต่างๆ ในยุคปัจจุบัน สามารถทำได้สะดวกรวดเร็วเหลือเกินนะครับ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า นับตั้งแต่การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีที่ก้าวหน้าขึ้นก็ได้เปลี่ยนโฉมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไปชนิดก้าวกระโดดกันเลยทีเดียว เราสามารถติดตามข่าวสารต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งหนังสือพิมพ์ แต่สามารถอ่านข่าวได้โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต เราสามารถค้นคว้าข้อมูลต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งห้องสมุด เพราะเว็บไซต์ต่างๆ ในโลกอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลจากห้องสมุดทั่วโลกที่รอให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลเข้ามาใช้บริการ ใครอยากดูหนัง ฟังเพลง ชมกีฬา ก็มีเว็บ youtube ตอบสนองด้านความบันเทิงมากมาย นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ในนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ “สาระวิทย์” ฉบับที่ 1, มีนาคม 2556. เช่น “สวัสดีปีงู: ได้เวลาหยุดรู้แค่งูๆ ปลาๆ” เห็ดยักษ์ เกิดขึ้นได้อย่างไร การดื่มน้ำปัสสาวะ ช่วยบำรุงสุขภาพ ได้จริงหรือ!!?? จาก “เอนไซม์ทนด่าง” ในตัวปลวกสู่อุตสาหกรรมฟอกเยื่อกระดาษ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://nstda.or.th/nstda-digital-content/sites/default/files/20130517-sarawit-01.pdf รายการอ้างอิง : ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2556). สาระวิทย์. 1(3). จาก http://nstda.or.th/sci2pub/sarawit/– ( 66 Views)
“เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี”2013 เข้าเยี่ยมชม”สวทช.”เพิ่มพูนความรู้เติมเต็มนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี
หลังจากที่โครงการ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี 2013″ ที่จัดโดยกลุ่มบริษัทสามารถ และศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (สวทช.) ได้คัดเลือกผลงานจากที่ส่งเข้าประกวดว่า 100 ผลงาน และได้ทีมที่มีความเป็นไปได้ในธุรกิจเทคโนโลยีผ่านเข้ารอบจำนวน 60 ผลงานแล้วนั้น กระบวนการของการให้ความรู้เพื่อจุดประกายด้านความคิดสร้างสรรค์ และเสริมสนร้างความรู้ก็เริ่มขึ้นอย่างเข้มข้นมาอย่างต่อเนื่องและหนึ่งใน กิจกรรมที่สำคัญ คือ การเข้าเยี่ยมชมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี เพื่อให้ทุกทีมได้เกิดมุมมองใหม่ๆ และรู้จักนำเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับนวัตกรรมของตนเองไปปรับใช้ ทั้งความรู้ที่ได้จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) จากนี้ไป โครงการ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี 2013″ จะเพิ่มเติมทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี ด้านการตลาด และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถอย่างรอบด้าน และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้มากขึ้น ผ่านกิจกรรม Booth Camp และ Workshop เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทุกทีมสู่การนำเสนอผลงานในรอบต่อไป สำหรับผู้สนใจโครงการฯ สามารถดูความเคลื่อนไหวของโครงการฯ ได้ที่ www.nstda.or.th/bic หรือ www.samartsia.com รายการอ้างอิง : “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี”2013 เข้าเยี่ยมชม”สวทช.”เพิ่มพูนความรู้เติมเต็มนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี. ทันหุ้น. ฉบับวันที่
ไทยครองแชมป์โลกขายมันสำปะหลังผลิตภัณฑ์เด่นๆ ยอดพุ่งเกือบแสนล้าน
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ จ.นคร ราชสีมา มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังนานาชาติ และสมาคมที่เกี่ยวข้อง จัดงาน “ประชุมสัมมนามันสำปะหลังนานาชาติและนิทรรศ การมันสำปะหลังแห่งชาติ ปี 2556″ (World Tapioca Conference and Thailand Tapioca Exhibition 2013) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่20-23 มิ.ย. เพื่อประกาศศักยภาพประเทศในฐานะผู้ส่งออกมันสำปะหลังอันดับ 1 ของโลก ทั้งภาครัฐและเอกชน เชื่อมั่นมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปี 56 จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะทะยานสูงถึง 90,000 ล้านบาท นายบุญนริศร์ สุวรรณพูล รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นหนึ่งในฟันเฟืองในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจของไทยในแต่ละปีประเทศ ไทยสามารถผลิตหัวมันสำปะหลังสดได้ประมาณ 26-30 ล้านตัน ร้อยละ 70-75 นำไปแปรรูปเพื่อการส่งออก ส่วนที่เหลือถูกนำไปแปรรูปเพื่อใช้ในอุตสาห กรรมภายในประเทศ– ( 163 Views)
วันที่วงการวิทยาศาสตร์ไทยต้องการ’ฮีโร่’
ล่วงเลยมาถึงวันนี้ วันที่โลกมนุษย์เข้าสู่ยุคไซเบอร์เต็มตัวประเทศที่พัฒนาแล้วส่งนักบินอวกาศ ไปดาวอังคาร ไม่ก็คิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะมาอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เป็นวันเดียวกับที่ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลน บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ผลวิจัยยังออกมาว่า การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 48 ประเทศ อีกทั้งแนวโน้มการเลือกเรียนสายวิทย์ค่อยๆ ต่ำลง เฉลี่ยแค่ราว 7 หมื่นคนหรือ 35% ของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ 2 แสนคน ทั้งที่บ้านเรามีนักวิทยาศาสตร์เก่งๆ สร้างชื่อเสียงในระดับโลกอย่างต่อเนื่องทั้งที่แต่ละปีมีการคิดค้นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ล้ำสมัยสร้างคุณูปการแก่ประเทศชาติชิ้นแล้วชิ้นเล่า ทั้งที่รายการวิทยาศาสตร์กำลังได้รับความนิยมสุดขีดบนจอโทรทัศน์ แต่ทำมั้ย-ทำไม ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ที่ยังมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนน่า เวียนหัว ภาพลักษณ์ของนักวิทยาศาสตร์ยังไม่โดดเด่นเป็นไอดอลเสียที– ( 393 Views)
นำร่อง24สินค้าสิ่งแวดล้อม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์ (วท.) ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เปิดตัวระบบรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับผลิตภัณฑ์ และบริการ ตามมาตรฐานสากล ISO 14021 แบบรับรองตนเองประเภทที่ 2 เพื่อเพิ่มมูลค่า และยกระดับสินค้า มาตรฐานสิ่งแวดล้อมในระดับสากลนำร่องแล้วใน 24 ผลิตภัณฑ์ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า สินค้า ทั้ง 24 ผลิตภัณฑ์ จาก บริษัท ดีดี เนเจอร์ คราฟ จำกัด มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ฯลฯ เป็นสินค้าที่ตอบรับการพัฒนแบบ Green Growth การพัฒนาที่ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ประเทศในปี 2557-2559 และพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมถึงการสร้างจิตสำนึกของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และประชาชนตลอดกระบวนการใช้ผลิตภัณฑ์ ยกระดับสังคมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกทางหนึ่งด้วย ด้านนายวีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า การสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับการพัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัด เปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง ทั้งใน 24 ผลิตภัณฑ์
ตรวจจับพฤติกรรมเสี่ยงในการขับรถ
ประเทศไทยประสบปัญหาทางด้านอุบัติเหตุทางถนน โดยมีสถิติสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติ เหตุนั้น มีทั้ง รถ ถนน และ คน ซึ่งในส่วนของรถและถนนนั้น สามารถที่จะป้องกันได้ด้วยการออกแบบด้านวิศว กรรมที่มีความปลอดภัยสูง แต่ “คน” กลับกลายเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุด และแก้ไขได้ยากที่สุด ดังนั้นหากเราสามารถที่จะตรวจจับพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายในการขับขี่ได้ ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการป้องกัน ก่อนที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ และนี่ก็คือที่มาของ “โครงการพัฒนา การประยุกต์ใช้ระบบระบุตำแหน่งยุคหน้าเพื่อความปลอดภัยในยานพาหนะ”– ( 81 Views)