magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by pornpan (Page 16)
formats

พลาสเตอร์ขนาดเล็กช่วยซ่อนตัวคุณจากยุงได้

Published on August 9, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง พลาสเตอร์ขนาดเล็กช่วยซ่อนตัวคุณจากยุงได้ พลาสเตอร์ขนาดเล็กที่มีสีสว่างสำหรับติดบนเสื้อผ้าหรือกระเป๋าสะพายนั้นอาจเป็นวิธีใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการต่อกรกับยุงร้ายและโรคต่างๆ ที่มียุงเป็นพาหะได้ โดยบริษัทเปิดใหม่ที่แคลิฟอร์เนียนั้นเกือบเข้าสู่กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายในพื้นที่ๆ มีความต้องการสูงแล้ว ยากันยุงที่ใช้กันอยู่นั้นบางทีก็เป็นเรื่องวุ่นวาย ราคาแพง และในบางกรณีก็เป็นพิษด้วย มุ้งนั้นบางก็ไม่ได้ช่วยเท่าไหร่ รวมถึงทุกคนก็กังวลกับการใช้ยากันยุงฉีดเพราะก็ไม่รู้ว่าในยากันยุงนั้นมีสารเคมีอะไรผสมอยู่บ้างด้วย ซึ่งบริษัทที่ชื่อ Kite จากแคลิฟอร์เนียนั้นคิดว่าทางบริษัทมีคำตอบสำหรับปัญหาดังกล่าว ซึ่งอยู่ในรูปของพลาสเตอร์สี่เหลี่ยมขนาด 1.5 นิ้วที่สามารถนำไปติดบนเสื้อผ้า กระเป๋าสะพาย รถเข็นเด็ก และของใช้อื่นๆ แล้วกลายเป็นวัตถุล่องหนจากสายตาของเหล่ายุงร้ายไปได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447275– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รายงานความร่วมมืองานวิจัยสาขาแพทยศาสตร์ในประเทศสิงคโปร์และออสเตรเลีย

Thomson Reuters ได้จัดทำรายงานวิเคราะห์เรื่อง รายงานความร่วมมืองานวิจัยสาขาแพทยศาสตร์ในประเทศสิงคโปร์และออสเตรเลีย โดยใช้กระบวนการทาง Bibliometrics และ ฐานข้อมูล InCites ของบริษัท Thomson Reuters เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล Bibliometrics เป็นการวัดและเปรียบเทียบสิ่งพิมพ์โดยใช้จำนวนผลงานวิจัย หรือ จำนวนการอ้างอิง หรือค่าเฉลี่ยจำนวนการอ้างอิงต่อหนึ่งบทความ ส่วนฐานข้อมูล InCites เป็นฐานข้อมูลที่เป็นเครื่องมือในการประเมินผลงานวิจัย (Web-Based Research Evalution Tool) ของบริษัท Thomson Reuters Thomson Reuters ใช้กระบวนการทาง Bibliometrics นับจำนวนบทความวิจัยตีพิมพ์สาขาแพทยศาสตร์ที่เป็นการวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิจัยสถาบันวิจัยสุขภาพด้านการแพทย์ (National Health and Medical Research Council : NHMRC) ประเทศออสเตรเลีย และ สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิจัย (Agency for Science, Technology and Research : A*STAR) ประเทศสิงคโปร์

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จินตนาการในหัวทำให้การรับรู้โลกเปลี่ยนไป

Published on August 2, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จินตนาการในหัวทำให้การรับรู้โลกเปลี่ยนไป งานวิจัยจากสถาบันคาโรลินสกา ประเทศสวีเดน เผยว่า จินตนาการของเราอาจจะมีผลต่อการรับรู้สิ่งรอบตัวของเรามากกว่าที่คิด สิ่งที่เราจินตนาการไม่ว่าจะเป็นภาพหรือเสียงในหัวของเราต่างก็สามารถเปลี่ยนการรับรู้ของเราได้ทั้งนั้น โดยงานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นกุญแจสำคัญในทางจิตวิทยาและประสาทวิทยาเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูลจากการรับรู้หลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน และได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Current Biology แล้ว “เรามักจะคิดว่า สิ่งต่างๆ ที่เราจิตนาการ กับสิ่งต่างๆ ที่เรารับรู้ เป็นเรื่องที่แยกจากกัน” คริสโตเฟอร์ เบอร์เกอร์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ที่ภาควิชาประสาทวิทยา นักวิจัยหลักเผย  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447124– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสุขของคนรักช็อกโกแลตสามารถรับรู้ได้ผ่านแววตา

Published on August 2, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ความสุขของคนรักช็อกโกแลตสามารถรับรู้ได้ผ่านแววตา ทุกวันนี้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีความสุข ความพึงพอใจจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปมากแค่ไหนผ่านดวงตาได้แล้ว โดยวิธีการตรวจสอบที่แสนง่ายดาย เพียงแค่มีเครื่องมือจักษุแพทย์แบบพื้นฐานก็สามารถทำการตรวจสอบได้แล้ว จากบทความในวารสารโรคอ้วนกล่าวว่า หากทฤษฎีนี้สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติ ก็จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการวิจัยและประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนและเสพติดอาหาร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447128– ( 22 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องปรินท์แบบสามมิติไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วกับวินโดว์

Published on August 2, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เครื่องปรินท์แบบสามมิติไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วกับวินโดว์ การแถลงข่าวของวินโดว์เมื่อวันพุธที่ 26 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมามีหนึ่งนวัตกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก นั่นคือการเพิ่มการรองรับเครื่องปรินท์แบบสามมิติในวินโดว์ 8.1 วินโดว์ 8 เป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดว์ที่แทบจะทุกครัวเรือนน่าจะเคยได้ใช้ บางคนอาจจะใช้เป็นวินโดว์ เอ็กซ์พี ในขณะที่บางคนก็ติดใจไปกับวินโดว์ 7 สำหรับวินโดว์ 8 นั้นเป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้ทั้งในระดับบุคคลทั่วไป และในเชิงธุรกิจ ประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ที่บ้าน ที่ทำงาน คอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือโน๊ตบุ๊ค แท็บเลต และมือถือที่เราเรียกกันว่า วินโดว์โฟน นั่นเอง วินโดว์ 8 นี้มีหลากหลายการใช้งานที่แตกต่างจากวินโดว์ที่เรารู้จักกันทั่วไปอย่างสิ้นเชิง รองรับการใช้งานแบบทัชสกรีน (หน้าจอสัมผัส) ซึ่งงานนี้ไมโครซอฟท์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า วินโดว์ 8.1 ที่ผ่านการพัฒนาโดยโปรแกรมเมอร์ตั้งแต่ปี 2009 (ก่อนการเปิดตัววินโดว์ 7 ซะอีก) จะกลายมาเป็นระบบปฏิบัติการต้นแบบที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ ปลอดภัยจากไวรัส และทุกคนสามารถเข้าถึงได้  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447133– ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อ่านเขียนหนังสือช่วยป้องกันความจำเสื่อม

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ชี้ชัด!อ่านเขียนหนังสือช่วยป้องกันความจำเสื่อม งานวิจัยใหม่เผยว่า การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง อาจช่วยรักษาความจำไม่ให้เสื่อมเมื่อแก่ตัวลงไปได้  งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานการค้นพบของ ดร.โรเบิร์ต เอส. วิลสัน แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยรัช ในนครชิคาโก สหรัฐอเมริกา โดยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Neurology แล้ว  “การศึกษาของเราเผยว่า การออกกำลังกายสมองโดยการร่วมกิจกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพของสมองในวัยชรา” ดร.วิลสัน เผย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447148– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มลพิษอากาศทำคนเสียชีวิตปีละ 2 ล้านคนทั่วโลก

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง มลพิษอากาศทำคนเสียชีวิตปีละ 2 ล้านคนทั่วโลก การศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์เผยว่า มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุให้มีคนเสียชีวิตมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงยังทำให้ผลกระทบจากมลพิษของอากาศแย่ลงไปอีกและยังเพิ่มอัตราการตายอีกด้วย  งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Environmental Research Letters แล้ว โดยได้มีการประมาณการว่า มีผู้เสียชีวิตปีละ 470,000 รายที่เสียชีวิตเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของโอโซนที่เกิดจากมนุษย์ และได้ประมาณการว่า มีผู้เสีชีวิต 2.1 ล้านคนต่อปี ที่เสียชีวิตจากมลพิษขนาด PM2.5 ที่มีผลมาจากมนุษย์ สาเหตุก็มาจากการที่ฝุ่นเหล่านี้ขัดขวางการสูดลมหายใจของปอด เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งและโรคทางระบบทางเดินหายใจ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447154– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วัดสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ด้วยสึนามิสุริยะ

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง วัดสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ด้วยสึนามิสุริยะ กล้องสังเกตการณ์พลวัติดวงอาทิตย์ (SDO) ของนาซ่า และยานอวกาศฮิโนเดะของญี่ปุ่น ได้ทำการวัดสึนามิสุริยะ จนนำมาซึ่งการประมาณสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ได้ถูกต้องเป็นครั้งแรก  สึนามิสุริยะ คือ การพวยพุ่งของชั้นบรรยากาศโคโรน่าของดวงอาทิตย์ ที่เรียกว่า Coronal Mass Ejection หรือ CME ในขณะที่ CME เดินทางไปในห้วงอวกาศนั้น สึนามิสุริยะนี้จะสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วถึง 1000 กิโลเมตรต่อวินาทีเลยทีเดียว สึนามิสุริยะมีส่วนคล้ายกับสึนามิน้ำบนโลก คือ รูปร่างของสึนามิสุริยะจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่มันเคลื่อนที่ผ่าน ในขณะที่เสียงเคลื่อนที่ในน้ำได้เร็วกว่าในอากาศ สึนามิสุริยะก็เคลื่อนที่ในพื้นที่ที่สนามแม่เหล็กเข้มข้นได้เร็วกว่าในพื้นที่ที่สนามแม่เหล็กอ่อน คุณสมบัตินี้ทำให้ทีมวิจัยสามารถวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ได้ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่http://vcharkarn.com/vnews/447157– ( 69 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ลอจิกเกตจากดีเอ็นเอสำเร็จแล้ว

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ลอจิกเกตจากดีเอ็นเอสำเร็จแล้ว นักเคมีจากมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่าสเตท ได้สร้างลอจิกเกตจากดีเอ็นเอที่สามารถดำเนินการได้ภายในเซลล์ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นการวิจัยพื้นฐานที่อาจจะทำให้เราสามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนในสิ่งมีชีวิตได้ต่อไป นำมาสู่การตรวจพบและรักษาโรคล้ำสมัยได้ในอนาคต ลอจิกเกต เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของการคำนวณของคอมพิวเตอร์ เมื่อนำมาประกอบกันด้วยวิธีต่างๆ ก็จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำการคำนวณได้หลากหลายมาก ตัวอย่าง เช่นการบวกเลขลบเลข แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือ ดีเอ็นเอหลายๆ เกลียวสามารถนำมาสร้างเป็นลอจิกเกต และนำมาต่อเป็นทรานซิสเตอร์ต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการคำนวณด้วยดีเอ็นเอยังประสบผลสำเร็จแค่ในหลอดทดลอง ไม่ใช่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447161– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถานะสมรสลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์

Published on August 1, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง สถานะสมรสลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ในช่วงวิกฤตโรคเอดส์ในช่วงปี 1980 นั้น ผู้ชายที่แต่งงานแล้วนั้นมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตด้วยเชื้อ HIV หรือเอดส์น้อยกว่าผู้ชายที่หย่าร้างหรือเป็นโสดแล้วมาก อ้างอิงจากการวิเคราะห์ของ University of California, Riverside  จากข้อมูลอัตราการเสียชีวิตในช่วงนั้น สำหรับผู้หญิงแล้วสถานะสมรสนั้นมีผลต่อการเสียชีวิตด้วยภาวะดังกล่าวไม่มาก แต่เชื้อชาตินั้นกลับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ โดยผู้หญิงชาวแอฟริกันอเมริกันนั้น เมื่อเทียบกับผู้หญิงผิวขาวแล้วมีโอกาสที่จะเสียชีวิตด้วยภาวะดังกล่าวมากกว่าถึง 9 เท่า ซึ่งถ้าเทียบอัตราส่วนแล้วมากกว่าเมื่อดูอัตราส่วนผู้ชายผิวสีต่อผู้ชายผิวขาวด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447165– ( 28 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments