magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Articles posted by Valaiporn Changkid (Page 17)
formats

Titan แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลได้อย่างน่าประหลาดใจ

ดร. Athena Coustenis จาก Paris-Meudon Observatory ในประเทศฝรั่งเศสได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลของดวงจันทร์ไททาน (หนึ่งในบริวารของดาวเสาร์) ที่เก็บ รวบรวมได้ตลอดระยะเวลา 30 ปี  ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ  พบว่า การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลของดวงจันทร์ไททานมีผลต่อมันมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อน หน้า  ดร. Coustenis ได้นำเสนอผลการสังเกตุนี้เมื่อ วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555 ที่ European Planetary Science Congress ณ เมืองมาดริด ประเทศสเปน ดร. Coustenis อธิบายไว้ว่า สภาวะต่างๆ บนดวงจันทร์ไททานเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของมันเช่นเดียวกับโลกของเรา  ซึ่งเราสามารถเห็นความแตกต่างของฤดูกาลได้จากอุณหภูมิ ส่วนประกอบทางเคมี และรูปแบบการหมุนเวียน ของชั้นบรรยากาศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณขั้วดวงจันทร์ ตัวอย่างเช่น ทะเลสาปไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon lakes) ที่จะก่อตัวขึ้นรอบๆ บริเวณขั้วเหนือของดวงจันทร์ในระหว่างฤดูหนาว เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงและการควบแน่น  ชั้นของเมฆหมอกที่ล้อมรอบดวงจันทร์ไททานบริเวณเหนือของดวงจันทร์ลดลงอย่าง ชัดเจนในระหว่าง equinox (วันที่มี ช่วงเวลากลางวันเท่ากับเวลากลางคืน) 

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Doodle Google ฉลองครบครบ 172 ปี ของ Auguste Rodin

Doodle Google ในวันนี้เป็นวันครบรอบ 172 ปี ของ ออกุสต์ โรแดง (อังกฤษ: Auguste Rodin) มีชื่อเต็มว่า ฟรองซัว โอกุสต์ เรอเน โรแด็ง (ฝรั่งเศส: François-Auguste-René Rodin) เป็นประติมากรชาวฝรั่งเศส  โรแดงเริ่มศึกษาประติมากรรมที่ปารีส มีชื่อเสียงจากการสร้างรูปปั้นจำลอง งานชิ้นหลัง ๆ ของเขาได้รับแรงบรรดาลใจจากดังเต (Dante Alighieri นักกวีผู้ยิ่งใหญ่ชาวอิตาลี) กวีคนสำคัญ โดยผลงานชิ้นสำคัญได้แก่ “ประตูนรก” (The Gates of Hell) ซึ่งได้แรงบรรดาลใจจากฉากในกวีนิพนธ์ “ไฟนรก” (Inferno) ของดังเต และรูปปั้น “นักคิด” (The Thinker) ที่นำเสนอภาพของดังเตเมื่อยามครุ่นคิด – ( 320 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การรับประทานไวตามินรวมเป็นประจำทุกวันอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลงได้

มีรายงานเกี่ยวกับประโยชน์จากการรับประทานไวตามินที่ขัดแย้งกันหลายฉบับ  โดยเฉพาะเรื่องของประโยชน์ของไวตามินในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เรื้อรัง  เมื่อเร็วๆ นี้  นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้เปิดเผยผลการวิจัยทางคลินิก (clinical trial) ที่ติดตามแพทย์เพศชายสูงอายุเกือบ 15,000 ราย เป็นเวลากว่าทศวรรษ  พบว่า การรับประทานไวตามินรวมสามารถลดโอกาสเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคมะเร็งลงได้ ร้อยละ 8 ในขณะที่ การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับไวตามินส่วนมาก เน้นไปที่การศึกษาถึงผลกระทบจากการรับประทานไวตามิน หรือแร่ธาตุชนิดใดชนิดหนึ่งในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม และไวตามินดี  แต่การวิจัย ทางคลินิกครั้งนี้ ผู้ทำการวิจัยต้องการทดสอบว่าการรับประทานไวตามินรวมเป็นประจำทุกวันนั้นมี ผลต่อความเสี่ยงของการ เกิดโรคมะเร็งหรือไม่  ซึ่งการศึกษานี้ถือเป็นหนึ่งในความพยายามที่ยาวนานที่สุดเพื่อตอบคำถาม เกี่ยวกับประโยชน์จากการรับประทานไวตามิน ผลจากการวิจัยพบว่า การรับประทานไวตามินรวมจะไม่ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก  ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้  แต่เมื่อนักวิจัยพิจารณาถึงผลการรับประทานไวตามินรวมต่อการเกิดโรคมะเร็ง ชนิดอื่นๆ ที่เหลือ พบว่า สามารถลดการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ 12 ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9319-sci-tech-news-nov แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2555. ค้นข้อมูลวันที่

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับอาการป่วยทางจิต

นักวิจัยจากสถาบัน Karolinska ได้ทำการศึกษาตัวอย่างชาวสวีเดนเป็นจำนวนมาก และครอบคลุมชาวสวีเดน มากที่สุดเท่าที่เคยมีการศึกษามา พบว่า นักคิดหรือ นักสร้างสรรค์ทั้งทางศิลปะและทางวิทยาศาสตร์ เช่น นักเต้นรำ นักวิจัย ช่างภาพ และผู้ประพันธ์ มักเข้ารับการรักษาอาการ ป่วยทางจิตบ่อยครั้งกว่าบุคคลทั่วไป  ดังนั้น จึงน่าจะมีการเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการเขียนและโรคทางจิต เมื่อปีที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยแสดงให้เห็นว่า จิตกรและ นักวิทยาศาสตร์ที่มักมีโอกาสป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) และโรคจิตเภท (schizophrenia) มากกว่าบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ คณะวิจัยได้ทำการศึกษา เพิ่มเติมไปยังโรคทางจิตชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคจิตอารมณ์ (Schizoaffective Disorder)  โรคซึมเศร้า (depression)  โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)  ภาวะดื่มสุราแบบเสี่ยง (alcohol abuse)  การติดยาเสพติด (drug abuse)  โรคออทิซึม (Autism)  โรคสมาธิสั้น (ADHD)  โรคกลัวอ้วน (Anorexia Nervosa)  และการฆ่าตัวตาย (SUICIDE) ที่ได้ รวบรวมข้อมูลจากการดูแลผู้ป่วยนอกไว้มากกว่าข้อมูลจากผู้ป่วยในโรงพยาบาล การศึกษาได้ทำการติดตามผู้ป่วยและญาติที่รวมไปถึงลูกพี่ลูกน้อง

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Bi-Fi: กระบวนการสื่อสารใหม่จากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งสู่แบคทีเรียอีกเซลล์หนึ่งซึ่งสามารถปฏิวัติสาขาวิศวกรรมชีวภาพได้

อินเตอร์เน็ตได้ทำให้เกิดการปฏิวัติการสื่อสาร มาแล้วทั่วโลก  และในปัจจุบัน นักวิจัยจาก Standford University กำลังมองหาสิ่งสนับสนุนที่คล้ายคลึงกันนี้ให้กับวิศวกรรมชีวภาพด้วยกระบวน การใหม่ที่เรียกว่า “Bi-Fi”  เทคโนโลยีที่ใช้ไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายที่เรียกว่า “M13” เพื่อเพิ่มความสลับซับซ้อนและปริมาณข้อมูลที่สามารถส่งข้อความจากเซลล์ แบคทีเรียหนึ่งไปยังแบคทีเรียอีกเซลล์หนึ่ง  นักวิจัยกล่าวว่า Bi-Fi สามารถช่วยให้วิศวกรรมชีวภาพสร้าง ความซับซ้อนของกลุ่มเซลล์แบคทีเรียที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุตามหน้าที่ ที่สำคัญทางชีวภาพ ตามธรรมชาติของเซลล์แบคทีเรียนั้น การสื่อสารระหว่างเซลล์จะให้สารเคมีเป็นสัญญาณในการสื่อสาร ซึ่งใช้เป็นทั้งข้อความและผู้ส่งข้อความ  แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการติดต่อ สื่อสารนี้ก็มีข้อจำกัดอย่างยิ่งในแง่ของความซับซ้อนและความรวดเร็วในการรับ ส่งข้อมูล รศ.ดร. Drew Endy จากภาควิชาวิศวกรรมชีวภาพ อธิบายว่า ถ้าการเชื่อมต่อเครือข่ายของคุณขึ้นอยู่กับน้ำตาล  ดังนั้น ปริมาณข้อมูลก็ถูกจำกัดด้วยปริมาณน้ำตาล  Endy และ Monica Ortiz นักศึกษาดุษฎีบัณฑิตจากภาควิชาวิศวกรรมชีวภาพกล่าวว่า การแยกตัวส่งข้อความและข้อความออกจากกันสามารถเพิ่มปริมาณข้อมูลการส่งได้ดี ยิ่งขึ้น ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9319-sci-tech-news-nov แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนพฤศจิกายน 2555.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รางวัล Golden Goose Award

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 สมาชิกรัฐสภา ตัวแทนจากชุมชมการศึกษา ชุมชนวิทยาศาสตร์ ชุมชนธุรกิจ และ ผู้มีชื่อเสียงอื่นๆ ได้รวมตัวกันเพื่อเป็นเกียรติและมอบรางวัลให้แก่นักวิจัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล 7 ท่าน (Dr.Charles Townes, Osamu Shimomura, Martin Chalfe, Roger Tsien, Eugene White, Rodney White, Della Roy) โดยผลงานวิจัยของทั้ง 7 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ วงการเทคโนโลยี การแพทย์ และการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมหาศาล นักวิจัยกลุ่มนี้เป็นผู้ได้รับรางวัลรุ่นแรกของโครงการ Golden Goose Award ซึ่งเป็นโครงการที่มอบ รางวัลให้แก่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็นงานวิจัยที่แปลกประหลาดและคลุมเครือ แต่ต่อมากลับก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากแก่มนุษยชาติ และระบบเศรษฐกิจ โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยชั้นนำของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ที่ชนะรางวัลที่ 1 ของ Golden Goose Award คือ Charles Townes ผู้ประดิษฐ์เทคโนโลยีการฉายแสงเลเซอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภาพประธานาธิบดีสหรัฐฯ สวมกอดภรรยา ถูก RT มากที่สุด

จากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ บารัค โอบามา ได้รับชัยชนะได้รับการเลือกตั้งให้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งสามารถเอาชนะคู่แข่ง มิตต์ รอมนีย์ จากควันหลงเหตุการประวัติศาสตร์ครั้งนั้น โลกของโซเชียลเน็ตเวิร์คได้มีการทวิตข้อความและนำเสนอชัยชนะของโอบามาเป็นประวัติศาสตร์ของโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คเลยทีเดียว หลังจากบารัค โอบามา ทราบถึงผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการแล้วว่าตนนั้นได้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นสมัยที่ 2  โอบามา ได้สวมกอดภรรยาย อย่างอบอุ่น ภาพนี้ได้ถูกทวิตผ่าน ทวิตเตอร์ พร้อมคำอธิบายสั้นๆ ว่า “four more yers” และได้รับการรีทวิตผ่านทวิตเตอร์ถึง 650,200 ครั้ง และมีคนกดไลค์กว่า 3.2 ล้านคนบนสังคมเฟซบุ๊ค จากการรีทวิตครั้งประวัติศาสตร์นี้ได้เป็นการทำลายสถิติของนักร้องวัยรุ่นชื่อดัง “จัสติน บีเบอร์” ที่มีผู้คนรีทวิตในช่วงที่บีเบอร์ช่วยเหลือแฟนคลับของเขาที่่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งมีผู้ทวิตทั้งหมด 200,000 ครั้ง แหล่งที่มา : ภาพโอบามากอดภรรยาถูก RT มากที่สุด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.arip.co.th/news.php?id=415820. (วันที่ค้นข้อมูล 10 พฤศจิกายน 2555).– ( 106

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐ

ในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริการะหว่าง นายบารัค โอบามา และ นายมิทท์ รอมนีย์ ผลปรากฏว่า “บารัค โอบามา” ได้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับพรรคเดโมแครตอีกครั้ง เมื่อบารัค โอบามา ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ให้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งจะครบวาระในปี 2560 ทุกๆ 4 ปี ประชาชนชาวอเมริกามีหน้าที่ที่สำคัญในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคน ต่อไปของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกานั้นซับซ้อนกว่าของประเทศอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ประชากรทุกคนของประเทศสามารถออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ต้องการ เพื่อเป็นประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง แต่การเลือกตั้งประธานธิบดีของ สหรัฐฯ  เป็นการออกเสียงทางอ้อม โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้ – ( 277 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

วารสาร C&N ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม 2555 ได้สัมภาษณ์ผู้สมัครแข่งขันตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คือ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา และ ผู้ว่าการรัฐ มิท รอมนี่  ถึงแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งจะไม่ได้พบในสื่ออื่นๆ  ประเด็นการสัมภาษณ์มีดังนี้ การสนับสนุนการวิจัย (research support) บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับความปลอดภัยของประเทศ (national security) การเข้าถึงข้อมูล (open access) งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ การคาดหวังด้านจริยธรรมคุณธรรมในงานด้านวิทยาศาสตร์ (scientific integrity) การพัฒนาพลังงาน  (energy) การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ  (climate change) การพัฒนานัวตกรรม (innovation) การพัฒนาระบบการศึกษา (education) จากประเด็นการสัมภาษณ์ถึงแนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จาก 8 ประเด็นข้างต้น มีหลายประเด็นที่ทั้ง บารัค โอบามา และ มิท รอมนี่ ได้มีความเห็นสอดคล้องไปในแนวเดียวกัน ดังนี้ ประเด็นในเรื่อง การสนับสนุนการวิจัย (research support) โอบามาและรอมนี่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า 

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดจากการวิจัยโรคมะเร็งใช้เป็นหนทางใหม่ในการผลิตเส้นใยไนลอน

การกลายยีนที่พบในเนื้องอกสมองจะเป็นผลที่นำไปสู่การผลิตไนลอนในเชิงพาณิชย์ ที่มีราคาถูก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะนักวิจัยจาก Duke Cancer Institute ได้อธิบายไว้ในนิตยสาร Nature Chemical Biology ฉบับ วันที่ 23 กันยายน 2555  ถึงการค้นพบโดยบังเอิญที่เป็นการล้มล้างความคิดเดิมที่ว่าเซลล์มะเร็งเป็น เซลล์ร้ายต่อร่างกาย แต่การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและเคมีสามารถนำเซลล์มะเร็งมาใช้งานที่เป็น ประโยชน์ได้ Zachary J. Reitman ผู้ช่วยวิจัยที่ Duke กล่าวว่า พวกเขาได้ทำการศึกษาสาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ทำให้เนื้อเยื่อที่ดีกลายเป็นเนื้อเยื่อร้ายและเติบโตกลายเป็นเนื้องอก  โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อเพิ่ม ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาของเนื้องอกว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร  ทำให้พวกเขาสามารถออกแบบการบำบัดรักษาโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น  แต่พวกเขากลับพบว่าข้อมูลที่พวกเขาทราบจากการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็น การปูทางสำหรับ วิธีการผลิตเส้นใยไนลอนที่ดียิ่งขึ้น ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนตุลาคม 2555. (ค้นข้อมูลวันที่ 5 ตุลาคม 2555 ) จาก

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments