นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Northwestern มลรัฐอิลินอยส์ ทำลายสถิติโลกโดยการสร้างวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ 2 ชนิด ชื่อว่า NU-109 และ NU-110 ซึ่งเป็นวัสดุที่มีพื้นที่ผิวมากที่สุดในปัจจุบัน NU-109 และ NU-110 เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่จัดอยู่ในประเภทของสารประกอบที่เป็นผลึก (crystalline compounds) ที่เรียกว่า “metal-organic frameworks (MOFs)” โดย MOFs นี้ได้รับการพิจารณาว่ามีศักยภาพการใช้งานเพื่อเป็นภาชนะบรรจุสำหรับการขนส่งและการเก็บรักษา เช่น ก๊าซธรรมชาติ ตัวเร่งปฏิกริยา (catalyst) และเคมีวัสดุที่ยั่งยืน (sustainable materials chemistry) อื่นๆ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วอชิงตัน เดือนตุลาคม 2555. (ค้นข้อมูลวันที่ 5 ตุลาคม 2555 ) จาก http://www.ostc.thaiembdc.org/test2012/S&Tnewsletter–
ย้อนรอย “เครื่องดื่มน้ำดำ”
กลายเป็นเรด โอเชี่ยน (Red Ocean) หรือการแข่งขันที่รุนแรง และเข้มข้นที่สุด เมื่อเจ้าสังเวียนน้ำดำรายเก่ากับรายใหม่ ท้าชิงความเป็นยักษ์ใหญ่ แห่งวงการ “น้ำอัดลมน้ำดำ” ด้วยความฮอตในเรื่องนี้เรามาร่วมย้อนรอยบรรยาน้ำดำยี่ห้อต่างๆ ที่เคยขายและยังคงมีวางขายอยู่ในเมืองไทยมากกว่า 30 ปี ว่าแต่ว่ามีใครเกิดทันบ้าง – ( 1139 Views)
เทศกาลดอกไม้บานรับเหมันต์
ฤดูหนาวกำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่อึดใจนี้แล้ว (ฤดูหนาวเริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์) และในช่วงฤดูหนาวธรรมชาติก็มักจะแต่งแต้มให้ดอกไม้นานาพันธุ์ ชูช่อออกดอกให้เราได้ดื่มด่ำ และชื่นชมความสวยงาม และการได้มีโอกาสแวะเวียนไปเที่ยวชมสวนดอกไม้นานาพันธุ์ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ในช่วงต้นฤดูหนาวแบบนี้ วันนี้จึงขอแนะนำสถานที่สำหรับเที่ยวชมพฤกษานานาพันธุ์ ดังนี้ – ( 1382 Views)
ไส้เดือนดินผู้พิชิตธาตุโลหะหนัก
ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยอินทรียสารในดิน อีกทั้งการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือนถือเป็นการพรวนดินอย่างดี ทำให้ดินมีช่อวว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกพืช อีกทั้งยังใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากไส้เดือนอีกด้วย และนอกจากนี้แล้วไส้เดือนยังเป็นที่นิยมอย่างยาวนานในการใช้ไส้เดือนป็นเหยื่อสำหรับตกปลา ประโยชน์ของไส้เดือนดิน ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้เพราะมีรายงานการวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยพอนดิเชอรี่ ประเทศอินเดีย ได้ทำการวิจัยเพื่อหาทางออกให้กับปัญหากองขยะรอบๆ เมือง ซึ่งจากปัญหาขยะที่กองเกลื่อนรอบเมืองนั้นได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางดินและเสี่ยงต่อการปนเปื้อนแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค จากการวิจัยพบว่าไส้เดือนดินไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยย่อยและแปรสภาพชยะชีวภาพให้กลายเป็นปุ๋ยเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยย่อยสลายพิษจากธาตุโลหะหนักได้อีกด้วย เนื่องจากระบบย่อยอาหารของไส้เดือนมีความสามารถในการแยกโลหะหนักออกจากสสารฮิวมิคที่เป็นส่วนประกอบหลักของดิน และจะไม่ปล่อยธาตุโลหะหนักเหล่านั้นกลับลงสู่ดินอีกด้วย และเมื่อไส้เดือนตายเราก็ทำเพียงแค่คัดไส้เดือนเหล่านั้นออกไปเท่านี้ก็เป็นการกำจัดขยะที่มีโลหะหนักทิ้งไปได้แล้ว แหล่งที่มา : “สาระสิ่งแวดล้อม : ไส้เดือนย่อยสลายธาตุโลหะหนัก”. สานสุข สานความสุขสู่สังคม. 2 : 34 ; กันยายน-ตุลาคม 2555. ไส้เดือนดิน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : th.wikipedia.org/wiki/ไส้เดือนดิน. (วันที่ค้นข้อมูล 8 พฤศจิกายน 2555).– ( 966 Views)
การให้ยาผ่านทางผิวหนังควบคู่กับการใช้คลื่นเหนือเสียง ทำให้ยาสามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น
วิศวกรจาก MIT พบว่า การทายาบริเวณผิวหนังร่วมกับการใช้คลื่นเหนือเสียง (Ultrasound waves) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซึมผ่านยาได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจใช้เป็นใบเบิกทางในการนำส่งยาที่ไม่สร้างความเจ็บปวด (noninvasive drug delivery) หรือการนำส่งยาโดยปราศจากเข็มฉีดยา (needle-free vaccinations) สำหรับผู้ป่วย Carl Schoellhammer บัณฑิตจาก MIT ภาควิชาวิศวกรรมเคมี และเป็นหนึ่งในผู้นำการวิจัยระบบใหม่นี้ กล่าวว่า “ระบบนี้สามารถนำมาใช้สำหรับยาทาบริเวณผิวหนัง (tropical drug) อาทิ สารสเตียรอยด์ (เช่น cortisol) systemic drugs และโปรตีน (เช่น ฮอร์โมนอินซูลิน) และแอนติเจนสำหรับการให้วัคซีน” คลื่นเหนือเสียง (Ultrasound) เป็นคลื่นเสียง ความถี่สูงที่มีค่าสูงกว่าความถี่สูงที่สุดที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ การใช้คลื่นเหนือเสียงทำให้ยาสามารถซึมผ่านชั้นบนสุดของผิวหนังได้รวดเร็ว มากขึ้น ซึ่งเป็นผลเพียงชั่วคราวและไม่ทำให้ เกิดความเจ็บปวดใดๆ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด แหล่งที่มา : Office of Science and Technology. (2555). รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก
ตู้เอทีเอ็ม พลังงานแสงอาทิตย์
หากบ้านของเราอยู่ในชุมชนที่ค่อนข้างจะทุรกันดาร หรือว่าวันใดวันหนึ่งได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในแดนดินที่ค่อนข้างจะไม่ค่อยสะดวกสบายมากนัก น้ำไฟมีใช้กันอย่างประหยัด พลังงานต่างๆ ก็ต้องใช้กันอย่างทะนุถนอม เราก็คงจะลำบากกันไม่ใช่น้อย และที่สำคัญไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตามแต่ “เงิน” ก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะต้องมีติดตัวกันไว้ ถ้าหากเราไปท่องเที่ยวเราจะพกเงินสดติดตัวจำนวนมากไปด้วยก็ดูจะเป็นการล่อแหลมต่อพวกมิจฉาชีพกันไม่ใช่น้อย ดังนั้น “ตู้กดเงินสด” หรือ “ATM” (Automatic Teller Machine) จึงมีความสำคัญไม่ใช่น้อย และหากเราจำเป็นต้องกดเงินสดจาก ATM แต่เครื่อง ATM นั้นมีไม่มากนัก ยิ่งอยุ่ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่ห่างไกลกว่าจะได้กดเงินจะต้องขึ้นรถ ลงเรือ ต่อมอเตอร์ไซค์ ไปอีกหลายกิโลเมตร เท่ากับเราต้องสูญเสียทั้งเงินและพลังงานในการเดินทางไปมากทีเดียว การที่จะสร้างตู้ ATM ให้พร้อมใช้หรือมีในถิ่นทุรกันดาร หรือทุกๆ พื้นที่ก็คงจะลำบาก เพราะการก่อสร้างหรือการติดตั้งตู้ ATM ในแต่ละแห่งนั้นต้องใช้อุปกรณ์มากมาย ด้วยเหตุนี้เกาะบาหลี จึงได้ผุดไอเดียสร้างสรรค์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการสร้างตู้ ATM ในชนบทที่ห่างไกลโดยใช้โครงสร้างที่ของตู้ด้วยไม้ไผ่ อะลูมิเนียมรีไซเคิล และติดกระจกแทนการใช้ฐานคอนกรีตหลายร้อยกิดลกรัม พร้อมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้พลังงานกับตู้ ATM เพื่อให้พลังงาน และแสงสว่าง โดยตู้ ATM อนุรักษ์พลังงานนี้จะไม่พึงพาพลังงานจากสายไฟฟ้าแต่อย่างใด และผลลัพทธ์ที่ได้จากตู้ ATM นี้คือ ช่วยประหยัดพลังงาน สร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีความสวยงาม
Lonely Planet แนะ 10 ภูมิภาคน่าเที่ยวที่สุดในโลกปี 2013
อีกไม่กี่เดือนก็จะหมดปี 2012 กันแล้ว ช่วงเริ่มต้นปีใหม่ในปี 2013 หลายคนอาจจะกำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อไปชาร์ตแบตให้กับตัวเอง แต่สถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลกในแต่ละประเทศนั้นมีมากมายจนไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนกันนดี เพราะหนึ่งประเทศมีหลายแคว้น หลายเมือง หลายรัฐ หลายจังหวัด ดังนั้น Lonely Planet นิตยสารท่องเที่ยวชื่อดังจึงได้ทำการคัดสรรหลายสถาน หลากดินแดนที่น่าไปเยือน โดยวัดจากวัฒนธรรม กิจกรรม เส้นทางบุกเบิก ครอบครัว อาหาร การผจญภัย กับ 10 อันดับ ภูมิภาคน่าเที่ยวที่สุดในโลก ปี 2013 – ( 309 Views)
doodle google : รำลึก 165 ปี อับราฮัม บราม สโตกเกอร์
กูเกิลวันนี้ (วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555) โชว์รูป “แดรกคิวลา” หลายคนอาจคิดไปว่าวันนี้เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับแดรกคิวลาซาตาน อย่างไรหรือไม่ แต่จริงๆ แล้ว ไม่ใช่อย่างที่คิดเพราะกูเกิลทำดูเดิลนี้ขึ้นมาเพื่อฉลองวันเกิดครบ 165 ปี ให้กับ อับราฮัม บราม สโตกเกอร์ ((Abraham Stoker) นักเขียนชาวไอริช ผู้ที่มีงานเขียนทั้งแนว นวนิยาย สารคดี เรื่องสั้น และ งานวิจารณ์ จากผลงานทั้งหมดของ อับราฮัม นั้นมีเรื่องแดรกคิวลาที่ประสบความสำเร็จสูงสุด และเป็นนวนิยายที่เป็นที่รู้จักและเป็นจุดกำเนิดของเรื่องราวเกี่ยวกับ “แดรกคิวลา” มาจนถึงทุกวันนี้ – ( 122 Views)
ภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไททันมีน้ำซ่อนอยู่
ยานสำรวจแคสสินีเผยให้เห็นภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryo volcano) อย่างน้อย 3 ลูกบนผิวดวงจันทร์ไททัน ซึ่งเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ ภูเขาไฟเหล่านี้พ่นน้ำ หรือสารระเหยอย่างอื่นออกมาแทบที่จะเป็นหินหลอมเหลวร้อนจัด เนื่องจากอุณหภูมิบนพื้นผิวของไททันต่ำกว่า -180 องศาเซลเซียส น้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเล็กน้อยก็ยังจัดว่าร้อนมาก สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่บนไททัน ประกอบด้วยน้ำแข็ง ซึ่ง ณ อุณหภูมิต่ำขนาดนี้จะมีความแข็งไม่แพ้ก้อนหินบนโลกของเรา ไททันมีชั้นเมฆล้อมรอบ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวของมันได้ ยานแคสสินีจึงใช้เรดาร์ในการทำแผนที่นับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา ยานสำรวจลำนี้ได้บินผ่านเหนือเขตที่เรียกว่า โซตรา ฟาคูลา (Sotra Facula) หลายรอบ และค่อย ๆ สร้างภาพสามมิติที่แสดงให้เห็น เทือกเขาซึ่งมีภูเขาไฟอย่างน้อย 3 ลูก นอกจากนี้ยังพบภูเขาขนาดใหญ่อีก 2 ลูก ซึ่งลูกหนึ่งมีปล่องปรากฏอยู่บนยอดอย่างชัดเจน ภูเขาเหล่านี้รวมตัวกันเป็นเทือกเขาที่มีความยาวหลายร้อยกิโลเมตรและเห็นได้ชัดว่ามีร่องรอย การไหลของสารที่ทะลักลงสู่ด้านข้าง จนถึงบัดนี้ยังไม่มีการตรวจพบการปะทุของภูเขาไฟแบบจังๆ จึงได้แต่เพียงอนุมานว่าสิ่งที่ถูกพ่นออกมาจากภูเขาไฟเหล่านี้น่าจะเป็นน้ำ แหล่งที่มา : ภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไททันมีน้ำซ่อนอยู่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.iamknow.com/ภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไททัน. (วันที่ค้นข้อมูล 7 พฤศจิกายน