ร่างกายของมนุษย์เราประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่างๆ ในร่างกายซึ่งจะเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่างๆ โดยปกติมนุษย์เราเมื่อเจริญเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่จะมีกระดูกรวมกันแล้วประมาณ 206 ชิ้น จำนวนกระดูกของมนุษย์เราอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งทารกแรกเกิดจะมีกระดูกประมาณ 300 ชิ้น ในเวลาต่อมากระดูกบางชิ้นจะเชื่อมต่อรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต กระดูกส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์จะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นกระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆ โดยตรงแต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของคอหอยด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง – ( 3424 Views)
ปริมาณสาร BPA มีส่วนเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน
คณะนักวิจัยจาก NYU School of Medicine เปิดเผยว่า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานในเด็กและวัยรุ่นนั่นก็คือ ระดับความเข้มข้นของ bisphenol A (BPA) ที่ตรวจพบในปัสสาวะ ซึ่งสาร BPA มาจากกระบวนการ สังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการสั่งห้ามใช้สาร BPA ในขวดนมและขวดหัดดื่มสำหรับเด็กทารกโดยองค์การอาหาร และยาสหรัฐฯ (FDA) ตามที่ได้เสนอในรายงานข่าววิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจากวอชิงตันฉบับประจำเดือนกันยายน 2555 มาแล้วนั้น แต่ก็ยังมีการใช้สาร BPA กันอย่างแพร่หลายใน การผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม ตัวอย่างเช่น ภาชนะบรรจุน้ำอัดลม สาร BPA คือ เอสโตรเจนเกรดต่ำที่ใช้ในการผลิตขวดน้ำพลาสติกที่ติกฉลากสัญลักษณ์รีไซเคลิลหมายเลข 7 และใช้เป็นตัวเคลือบภายในกระป๋องอะลูมิเนียม โดยทางผู้ผลิตกล่าวว่า แต่ก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าสารเคมีมีผลให้กลไกการเผาผลาญพลังงานต่างๆ ใน ร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้น และผลจากการได้รับสาร BPA เข้าไปในร่างกายมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease) โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคความผิดปกติ ทางประสาทวิทยา (neurological disorders) โรคเบาหวาน
การขับเคลื่อนนโยบายยกเครื่องการศึกษาของสหรัฐฯ
The Washington Post ได้รายงานว่า ในช่วงเวลา สามปีครึ่งของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีประธานาธิบดีโอบามา ได้ยกเครื่องระบบการศึกษาของรัฐนับตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และกฏหมายการปฏิรูปการศึกษาได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสแล้ว และกำลังจูงใจให้รัฐต่างๆ รับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่มีผู้นำประเทศคนก่อนๆได้พยายามทำมาก่อน ประธานาธิบดีโอบามาได้จัดสรรงบประมาณหลายพันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในการตั้งงบประมาณให้กับรัฐต่างๆ ที่ตกลงสนับสนุนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ (charter school) โดยใช้คะแนนการทดสอบนักเรียนในการประเมินครูและรับนโยบายการบริหารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น โอบามายังทบทวนนโยบาย “ไม่มีเด็กคนไหนถูกทอดทิ้ง” (No Child Left Behind) ของประธานาธิบดี จอร์ส บุซ ซึ่งสภาคองเกรสได้เคยมีมติผ่านกฏหมายนี้ (The No Child Left Behind Act of 2001 (NCLB) เป็นการอนุมัติ ขยายกฏหมายที่ชื่อ Elementary and Secondary Education Act ซึ่งประกอบด้วยโครงการสำคัญสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส และสนับสนุนการปฏิรูปมาตรฐานการศึกษามาตรฐานโดยยึดตามมาตรฐานที่ตั้งไว้และ กำหนดเป้าหมายการวัดที่จะปรับปรุงผลลัพธ์ทางการศึกษา กฏหมายดังกล่าวต้องการให้รัฐพัฒนาการประเมินทักษะ พื้นฐานแก่นักเรียนในระดับต่างๆ เพื่อรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง กฏหมายฉบับนี้ไม่มีการกำหนดมาตรฐานการวัดระดับชาติ แต่ให้รัฐต่างๆ
ปรากฏการณ์ใบไม้เปลี่ยนสี่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (Autumn หรือ Fall) ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2012 นี้จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน 2555 และจะมีปรากฏการณ์หนึ่งที่ทั้งคนพื้นเมือง และนักท่องเที่ยวต่างก็ตั้งตารอคอย คือ “การเปลี่ยนสีของใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง” ใบไม้นานาพันธุ์จะร่วมกันเปลี่ยนสีเหมือนเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า “ฤดูหนาว” กำลังจะเริ่มขึ้น สิ่งที่สร้างสีสันให้กับฤดูใบไม้ร่วงประกอบด้วยเม็ดสี 3 ชนิดขอบใบไม้คือ 1. คลอโรฟลิล์ (Chlorophyll) ให้สีเขียว 2. แคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ให้สีเหลือง ส้ม และน้ำตาล 3. แอนไทไซยานิน (Anthocyanins) ให้สีแดงเข้ม สาเหตุที่ทำให้ใบไม้เปลี่ยนสีในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั่นก็คือ เมื่อช่วงฤดูร้อนสารคลอโรฟิลล์และแคโรทีนอยด์ถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ใบไม้มีสีเขียว แต่เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง ช่วงเวลากลางคืนจะยาวนานมากกว่า การผลิตสารคลอโรฟิลล์ก็จะถูกผลิตออกมาน้อยลง จนในที่สุดก็ไม่สามารถจะผลิตได้ ทำให้สารแคโรทีนอยด์และแอนไทไซยานินแสดงสีสันได้ชัดเจนขึ้น และความเข้มของสีแต่ละสีนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อุณหภูมิและความชื้น ติตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/9289-sci-tech-news– ( 139 Views)
เลือกบริโภคยืดอายุ “ไต”
โรคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายคนเรา โรคไตแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ไตวายเฉียบพลัน เป็นอาการเฉียบพลันที่มีสาเหตุจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด กระดูก การติดเชื้อในเลือด อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนไต หรือการขาดน้ำอย่างรุนแรง การรักษา ผู้ที่เป็นโรคไตชนิดเฉียบพลันต้องรักษาโดยการฟอกเลือด และควบคุมเรื่องอาหารและการบริโภค เพื่อป้องกันมิให้อาการกำเริบหรือส่งผลให้ไตเสื่อสมรรถภาพเร็วขึ้น โรคไตเรื้อรัง ไตจะเสื่อมประสิทธิภาพอย่างช้าๆ เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงแข็ง โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน โรคทางพันธุกรรม เช่น ถุงน้ำในไต การรักษา รักษาด้วยการกินยาและควบคุมเรื่องอาหารและการบริโภค เพื่อป้องกันมิให้อาการกำเริบหรือส่งผลให้ไตเสื่อสมรรถภาพเร็วขึ้น – ( 215 Views)
ปรุงกลิ่นเท้าให้ปราศจาก “กลิ่น” ไม่พึงประสงค์
ช่วงอากาศอับชื้น ดูจะเป็นใจให้กลิ่นไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับเท้าได้ง่าย ๆ เพราะเท้ามีลักษณะเฉพาะคือ มีต่อมเหงื่อมาก ทำให้มีเหงื่อออกได้มากเป็นพิเศษ ดังนั้น ถ้าไม่ดูแลใส่ใจเรื่องความสะอาดให้ดีทั้งเท้า รองเท้า และตู้เก็บรองเท้า กลิ่นเหม็น ๆ ไม่พึงประสงค์นี้ก็รุนแรงพอที่จะเดินทางออกมารบกวนคุณและผู้คนรอบข้างจนทำให้สูญเสียความมั่นใจ ดังนั้นเราไม่ควรจะปล่อยให้ “เท้า” ของเราปล่อยก๊าซพิษทำลายมิตรรอบข้างด้วยการ “ปรุงเท้าให้หอม” ด้วยวิธีต่อไปนี้ อาบน้ำให้เท้า อย่าเพียงแค่น้ำเปล่าหรือน้ำสบู่จากการอาบน้ำไหลผ่านเท้านั้นนะคะ ต้องล้างและถูสบู่ให้ทั่ว โดยเฉพาะง่ามนิ้ว ตาตุ่ม และส้นเท้า แล้วเช็ดให้แห้งบำรุงด้วยครีมเข้มข้น หรือปิโตรเลียม เจล เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังเท้าซึ่งมีต่อมไขมันน้อยเท้าจึงแห้ง และแตกได้ง่าย แต่สิ่งที่ต้องระวังโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งรีบในตอนเช้า คือ อย่าสวมถุงน่อง/ถุงเท้า หรือรองเท้า ทั้งที่ครีมซึ่งชโลมลงไปยังไม่ซึมเข้าสู่ผิวดี เพราะจะยิ่งเพิ่มความอับชื้นให้เท้าได้ – ( 446 Views)
“ASEAN Curriculum Sourcebook” หลักสูตรแกนกลางอาเซียน
ในปี 2558 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ทุกฝ่ายต่างเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะภาคการศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชน ที่ถือเป็นอนาคตสำคัญของประเทศ สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดทำ “Asean Curriculum Sourcebook หรือ หลักสูตรแกนกลางอาเซียน” โดยจะกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของเด็กไทย ตั้งแต่ประถมศึกษามัธยมศึกษา อาชีวะศึกษา รวมถึงการศึกษานอกโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้เด็กและพลเมืองอาเซียนได้เรียนรู้สิ่งที่คล้ายคลึงกัน หลักสูตรแกนกลางอาเซียน หรือ Asean Curriculum Sourcebook มีกรอบการเรียนรู้ร่วมกัน5 เรื่องหลักคือ – ( 6110 Views)
Red Tide ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี
ปรากฏการณ์เรดไทด์ (red tide) หรือเรียกกันว่า ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ” แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดจากขี้ปลาวาฬแต่อย่างใด ปรากฏการณ์เรดไทด์ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจากการเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติของสาหร่ายเซลล์เดียว เช่น พันธุ์คาเรเนีย เบรวิส จึงทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีไปเป็นสีเดียวกับสาหร่ายเซลล์เดียวที่ขึ้นในบริเวณนั้น เช่น สีน้ำตาล สีแดง หรือ สีเหลือง การเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้บางครั้งเกิดเป็นวงกว้าง จากเหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ในท้องทะเล ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ หรือ แม้กระทั่งมนุษย์ เนื่องจากสาหร่ายเหล่านี้เมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็จะทำให้ออกซิเจนในน้ำทะเลนั้นลดลง และสาหร่ายเซลล์เดียวเหล่านี้ก็ได้ปล่อยสารพิษลงสู่น้ำทะเลรอบข้าง ส่งผลให้สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตาย หรืออาจจะมีสารพิษตกค้างอยู่ และหากเรารับประทานเข้าไปเราอาจจะได้รับพิษ หรือเกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้ ปรากฏการณ์เรดไทด์ เกิดขึ้นได้อย่างไรยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่คิดว่าอาจจะเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเล ความเค็ม และ ปริมาณสารอาหาร ก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยหลักในการก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรดไทด์ขึ้นได้ มนุษย์ก็เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยหลักที่อาจจะก่อให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ก็เพราะบางครั้งเผลอทิ้งขยะลงสู่ทะเลโดยไม่ตั้งใจ และเมื่อขยะมีจำนวนมากขึ้นก็จะเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ให้กับสาหร่ายเซลล์เดียว ทำให้สาหร่ายเซลล์เดียวนั้นสามารถแพร่ขยายประชากรได้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นหากไม่อยากให้เกิดปรากฏการณ์เรด์ไทด์ เราต้องช่วยกันลดปัญหาขยะในท้องทะเลลง เพื่อให้สัตว์น้ำได้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยตามระบบนิเวศ – ( 2507 Views)
นักท่องเที่ยวเฮ…พกบัตรเครดิตเข้า “พม่า” ได้
นักท่องเที่ยวมีเฮ…. พม่าเปิดช่องทางให้ใช้บัครเครดิตได้ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมความงดงามของประเทศพม่ากันอย่างมากมาย แต่ในการเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศพม่านั้นอาจจะไม่ค่อยสะดวกนักเมื่อต้องพกเงินเป็นจำนวนมากในการไปท่องเที่ยว จับจ่ายใช้สอย และซื้อของติดไม้ติดมือกลับบ้าน ก็เนื่องจากประเทศพม่าไม่อนุญาตให้มีการใช้บัครเครดิต แต่นักท่องเที่ยวก็เริ่มได้รับข่าวดีว่า เมื่อสหรัฐฯ ได้ประกาศยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจพม่า บริษัทมาสเตอร์การ์ดอาสาเป็นทัพหน้าในการเข้าไปเจรจาธุรกิจกับธนาคารในพม่าเพื่อนำบัตรเครดิตเข้ามามาใช้ในประเทศ จากการเจรจาในที่สุดรัฐบาลพม่าก็ยอมใจอ่อนออกใบอนุญาตให้ดำเนินการธุรกิจบัตรเครดิต โดยให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกหลายบริษัท ได้แก่ วีซ่า มาสเตอร์การ์ด, เจแปน เครดิต บูโร และ ไซน่า ยูเนียนเพย์ ได้เข้ามาดำเนินการเปิดธุรกิจบัตรเครดิต และขณะนี้ประเทศพม่าได้เริ่มมีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการอ่านบัครเครดิต และได้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตามตู้กดเงินสดของธนาคารทุกแห่งทั่วประเทศ และในส่วนของธุรกิจบริการ อาทิ โรงแรม และร้านอาหารชั้นนำก็ได้เริ่มติดตั้งเครื่องรูดบัตรเครดิตไว้เรียบร้อยแล้ว หากใครที่จะเดินทางไปเยี่ยมชมความงดงามของสถาปัตยกรรมในประเทศพม่า ก็เริ่มเบาใจได้แล้วว่าไม่ต้องพกเงินสดตุงกระเป๋าเข้าประเทศพม่าแล้ว มีเพียงแค่บัตรเครดิตใบเดียวก็สามารถเที่ยวได้อุ่นใจหายห่วง และจากการที่รัฐบาลพม่าได้เปิดโอกาสให้มีการใช้บัตรเครดิตได้นั้นจะเป็นอีกทางหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้กระเตื้องมากขึ้น แหล่งที่มา : “hotnews : พม่ามีบัตรเครดิตครั้งแรกในสิบปี”. SPICY. 10,423 : หน้า 52. (3-9 พฤศจิกายน 2555).– ( 145 Views)
ทำงานวันละ 11 ชั่วโมงเสี่ยง “หัวใจวาย”
ผลการศึกษาจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน สุดพบว่าคนที่ทำงานเกินวันละ 11 ชั่วโมงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2 ใน 3 ที่จะเกิดอาการหัวใจวาย พร้อมกับแนะแพทย์ให้ซักประวัติคนไข้ให้ครอบคลุมถึงระยะเวลาของการทำงานแต่ละวันด้วย นอกเหนือจากเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน ได้ศึกษาข้าราชการกว่า 7,000 คนที่ทำงานกับรัฐบาลอังกฤษโดยใช้เวลาติดตามสุขภาพของคนเหล่านี้นาน 11 ปี โดยเก็บข้อมูลสภาพของหัวใจของคนเหล่านี้จากประวัติคนไข้และการตรวจสุขภาพ ในช่วงเวลาดังกล่าว มี 192 รายเกิดอาการหัวใจวาย รายงานซึ่งตีพิมพ์ใน Annals of Internal Medicine พบว่า คนที่ทำงานเกินวันละ 11 ชั่วโมงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 67% ที่จะเกิดอาการนี้เมื่อเทียบกับคนที่ทำงานตามเวลาราชการ นักวิจัยบอกว่าผลการศึกษาชิ้นนี้แนะว่าคนที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น โรคอ้วน สูบบุหรี่ ควรลดชั่วโมงการทำงานของตัวเอง ศาสตราจารย์มิกา กีวีมากิ หัวหน้าทีม กล่าวว่า “คนที่ทำงานตลอดทั้งวันมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นโรคหัวใจ ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ่ายยาโรคหัวใจ” ชาวอังกฤษ 2.6 ล้านคนเป็นโรคหัวใจ ไขมันที่สะสมในหลอดเลือดได้ปิดกั้นเลือดที่จะไปเลี้ยงหัวใจ โรคหัวใจคร่าชีวิตประชาชนมากที่สุด แต่ละปีมีคนตายเพราะโรคนี้ 101,000คน อาการหัวใจวายเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจเกิดการอุดตันโดยสิ้นเชิง หากเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ หัวใจในส่วนที่เชื่อมกับหลอดเลือดนั้นก็จะตาย