magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "เก็บมาเล่า เอามาฝาก" (Page 104)
formats

“การแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6″ (RDC 2013)

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอเชิญชม “การแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6″ (RDC 2013) รอบชิงชนะเลิศ ในหัวข้อ “Streng then Logistics for AEC” (สเตร็งเธ็นโลจิสติกส์ ฟอร์ เออีซี)”ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 13:00-17:00 น. ณ ลานชั้น 1 ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ประตูน้ำ รายการอ้างอิง : “การแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 6″ (RDC 2013). บ้านเมือง ( กระจกเงา). ฉบับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตั้งผอ.ซอฟต์แวร์ประเทศไทยคนใหม่

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงข่าวเปิดตัวนายเฉลิมพล ตู้จินดา ผอ.เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยคนใหม่ ว่าการแต่งตั้งนายเฉลิมพล เพราะสวทช.ต้องการให้ซิฟต์แวร์พาร์คเข้ามาตอบโจทย์ให้กับประเทศไทย ภายใต้แนวคิดซอฟต์แวร์พาร์คไปทั่วโลก โดยต้องสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ 3,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปี ทั้งต้องเป็นหน่วยงานที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของไทยในการที่จะผลักดันให้ ประเทศรอดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางให้เป็นประเทศที่มีรายได้ระดัยสูง นอกจากนี้ยังต้องนำพาไทยไปสู่การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ที่มีความต้องการจะเข้าสู่ตลาดซอฟต์แวร์โดยเฉพาะด้านโมบายล์ และ Social หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้บริโภค โดยที่ซอฟต์แวร์พาร์คจะเป็นสื่อกลางในการขายตลาดแอพพลิเคชั่นที่เด็กเป็นผู้ คิด รายการอ้างอิง : ตั้งผอ.ซอฟต์แวร์ประเทศไทยคนใหม่. ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การใช้เลขไทยในการเขียนเอกสารเว็บ

เอกสารเว็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เนื้อหาออกสู่สาธารณะผ่านเทคโนโลยีเว็บและอินเทอร์เน็ต ซึ่งเอกสารเว็บทั้งหมดจะถูกเครื่องมือบางอย่างในกลุ่ม Search Engine วิเคราะห์ประเมิน “ค่าดัชนี” เพื่อใช้บริการสืบค้นกับผู้ใช้ อีกทั้งพฤติกรรมของผู้ใช้ที่สืบค้น ก็จะเขียนคำค้นในรูปแบบที่สั้น กระชับ และใช้ความเร็วในการเขียนมากกว่าการให้ความสำคัญกับรูปแบบ หรือไวยากรณ์ เช่น ชื่อสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ก็มักจะค้นด้วยคำว่า “สวทช” มากกว่า “สวทช.” หรือชื่อเต็ม เช่นเดียวกับชื่อมหาวิทยาลัยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็มักจะค้นด้วยคำว่า “จุฬา” หรือ “chula” เป็นต้น รวมทั้งการค้นด้วยตัวเลขไทย เทียบจะไม่มีให้เห็น ด้วยเหตุผลข้างต้น การนำเสนอเนื้อหาในเอกสาร จึงควรให้ความสำคัญกับ Search Engine Robot และพฤติกรรมผู้ใช้ นอกจากจะต้องคำนึงถึงเทคนิคในการเพิ่ม “ค่าดัชนี” แล้ว การพิมพ์เนื้อหาโดยการใช้ตัวเลขไทย (๐ ๑ ๒ ๓ … ๙) จึงควรละ หันมาใช้ตัวเลขอารบิค หรือปุ่ม Numbering ตามค่ากำหนดของ Editor จะเหมาะสมครับ หลายๆ ท่านอาจจะแย้งว่าก็มีประกาศ ครม.

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การย่อหน้ากับเอกสารเว็บ

ถือเป็นการปฏิบัติที่สืบทอดกันมานานแล้ว ในการพิมพ์งานใดๆ มักจะมีการย่อหน้าบรรทัดแรก ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สืบเนื่องมาตั้งแต่การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด โดยการย่อหน้าบรรทัดมักจะกำหนดด้วย “การเคาะคานเว้นวรรค จำนวน xxx เคาะ” และถูกปรับเป็นย่อหน้า 0.5 นิ้ว หรือ 2.5 เซนติเมตร เมื่อการพิมพ์ปรับไปใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processor) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ “ผู้อ่าน” อ่านได้สะดวก ทราบว่าเนื้อหาขึ้นพารากราฟใหม่แล้ว อย่างไรก็ดี เมื่อมาถึงยุคเอกสารเว็บ การย่อหน้ากลับเป็นการสร้างปัญหาให้กับผู้อ่านได้มาก เพราะการพิมพ์ในเอกสารเว็บไม่สามารถกำหนดระยะย่อหน้าที่แน่นอนได้ เพราะฟอนต์ที่ใช้มีหน่วยจากค่าความสูง ไม่ใช่ความกว้าง ดังนั้นการย่อหน้าโดยเคาะ 5 เคาะ 8 เคาะ จึงได้ระยะที่ไม่เท่ากันในแต่ละฟอนต์ แต่ละรูปแบบของฟอนต์ วิธีการพิมพ์เนื้อหาสำหรับเอกสารเว็บ จึงไม่ควรย่อหน้า (โดยเฉพาะการย่อหน้าด้วยการเคาะ) กรณีที่โปรแกรมสร้างเอกสารเว็บ หรือนำเสนอเอกสารเว็บ ไม่ได้กำหนดค่าโปรแกรมควบคุมการย่อหน้าไว้อัตโนมัติ ให้พิมพ์ตัวอักษรแรกของบรรทัดแรกชิดขอบพื้นที่ Editor เลยครับ ไม่ต้องมาเคาะเอง และพิมพ์ไปเรื่อยๆ จนโปรแกรมตัดคำอัตโนมัติ ไม่ต้องไปกดปุ่ม Enter เพื่อตัดคำเอง ทั้งนี้จะกดปุ่ม Enter เมื่อจบพารากราฟและต้องการขึ้นพารากราฟใหม่เท่านั้น ลองทบทวนวิธีการพิมพ์งานของท่านกันดูนะครับ– (

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วุฒิสภาสหรัฐผ่านร่าง กม.เก็บภาษีขายทางออนไลน์

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ วอชิงตัน 7 พ.ค.2013 -วุฒิสภาสหรัฐลงมติผ่านร่างกฎหมายเก็บภาษีจากสินค้าและบริการทางออนไลน์ด้วยคะแนน 69 ต่อ 27 เสียงในวันจันทร์ และส่งมาพิจารณายังสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ  ซึ่งสมาชิกสภาบางส่วนคัดค้านเนื่องจากมองว่าเป็นการขึ้นภาษี ร่างกฎหมายดังกล่าวระบุให้รัฐสามารถเรียกเก็บภาษีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มีรายได้เกินกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต ทั้งการจำหน่ายตามรายการ สินค้า หรือผ่านโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์ ตามร่างกฎหมายดังกล่าวระบุว่ารายได้จากภาษีขายจะนำส่งแต่ละรัฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของผู้ขายสินค้าและบริการ ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันการจำหน่าย สินค้าและบริการทางออนไลน์ส่วนใหญ่มักปลอดภาษี อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=518890dc150ba06e4200041e#.UYi7sMphsa8– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลังจากน้ำสร้างกระแสไฟฟ้าใช้ตามบ้าน หนึ่งเดียวในไทย ทำสำเร็จพร้อมใช้

นวัตกรรมฝีมือคนไทย ในโครงการเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำขนาดเล็ก ออกแบบใบพัดให้เร่งความเร็วน้ำได้ดีเยี่ยมสร้างบ่อ ทางน้ำ เพื่อให้สอดรับกับการไหลของน้ำจากแหล่งธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำธาร ที่มีกระแสน้ำไหล จนทำให้เกิดเป็นพลังที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ นำไปใช้ในครัวเรือน หรือในหมู่บ้าน ดูรายละเอียด รายการอ้างอิง : พลังจากน้ำสร้างกระแสไฟฟ้าใช้ตามบ้าน หนึ่งเดียวในไทย ทำสำเร็จพร้อมใช้. E Enterprise (UNSEEN TECHNOLOGY).  ฉบับวันที่ 01 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ลงนามความร่วมมือขยายผลการผลิตต้นกล้าปาล์มฯ

รศ.วุฒิชัยกปิลกาญจน์อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)หรือสวก.ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตและการ จัดจำหน่ายต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ภายใต้โครงการต้นแบบในการขยายผลปาล์มน้ำมันไปสู่เกษตรกรเพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนให้เกิดการขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง และเพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมี รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ รองอธิการบดีวิทยาเขตกำแพงแสน และนางสาวเกษชฏา มีความสุขผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สวก.ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่2เมษายน 2556 ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากโครงการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มแบบก้าว กระโดดเพื่อมุ่งพัฒนาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปาล์มที่ดี คือ ให้ผลผลิตสูงและน้ำมันที่สูง ซึ่งศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ค้นพบเทคโนโลยีการ ผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและดีเอ็นเอทำให้ได้ยีนจาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ดีเช่นเดียวกับพ่อแม่พันธุ์โดยในระยะแรกนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) จะร่วมกันผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันจำนวน100,000 ต้น และดำเนินการขยายผลสู่เกษตรกรต่อไป รายการอ้างอิง : ลงนามความร่วมมือขยายผลการผลิตต้นกล้าปาล์มฯ. สยามธุรกิจ. ฉบับวันที่ 08 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Budding visions

Thai animation short takes top prize at the Asia Digital Art Award 2012 Humans always want more.The more we get, the more we want, and to get what we want we exploit natural resources to satisfy our endless demands. This is the message of Never Ending , a Thai animation short that took the top

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หาช่องช่วยบริษัทยักษ์นำเข้าเซรามิก

นายณัฐพล ณัฎฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ในฐานะโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงอยู่ระหว่างพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการ จากกรณีที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จะออกประกาศให้กระเบื้องเซรามิกทุกประเภทต้องผ่านการตรวจสอบและต้องได้ มาตรฐาน มอก.2508-2555 หลังจากผู้บริหารบริษัทนำเข้ากระเบื้องเซรามิกรายใหญ่คือ บริษัท บุญถาวรเซรามิค จำกัด และบริษัทแกรนด์โฮมมาร์ท กรุ๊ป จำกัด ได้เข้าร้องกับกระทรวงในเรื่องนี้ เนื่องจากหลังออกประกาศแล้วจะทำให้ทั้งกระเบื้องที่ผลิตในประเทศ และผู้นำเข้าต้องผ่านการทดสอบและได้รับ มอก. จากเดิม ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะขอหรือไม่ขอ มอก.ก็ได้ นายณัฐพลกล่าวว่า การที่ผู้นำเข้าร้องกับกระทรวง เนื่องจากเกรงว่าหากต้องผ่านการตรวจและได้รับรองมาตรฐาน สมอ.จะดำเนินการได้เพียงใด เพราะขณะนี้ห้องทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์บริการปิดปรับปรุงยังไม่มีกำหนดเปิด เหลือเพียงศูนย์เทคโนโลยีวัสดุและโลหะแห่งชาติ (MTEC) ที่จะเปิดดำเนินการในเดือนมิ.ย.นี้ หากเกิดปัญหาในกระบวนการทดสอบอาจกระทบกับธุรกิจวัสดุก่อสร้างที่กำลังอยู่ ช่วงขาขึ้นตามการลงทุนในประเทศ อย่างไรก็ตาม ประกาศฉบับนี้ สมอ.ได้ยืนยันต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาไปเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2556 คาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเดือนมิ.ย. และมีผล 180 วัน หลังออกประกาศ หรือมีผลในช่วงเดือนธ.ค.2556 ถ้าจะแก้ไขประกาศก็ต้องดึงกลับมาเริ่มกระบวนการใหม่ทั้งหมด แต่เบื้องต้นกระทรวงกำลังดูว่าจะมีทางลดผล กระทบได้อย่างไร เช่น ยืดระยะเวลามีผลบังคับใช้เป็น 360 วันหลังประกาศ

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระวัง “เห็ดพิษ” ชีวิตถึงดับ

ย่างเข้าเดือนหกฝนก็ตกพรำๆ แบบนี้ ชาวบ้านคงพากันไปเก็บเห็ดที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อนำมาเป็นอาหาร และขายสร้างรายได้เสริม โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกดีแถมอากาศอบอ้าวเช่นนี้ ทำให้เห็ด ในป่าหลายชนิดที่พักตัวเป็นเส้นใยใต้ผืนป่าในช่วงฤดูแล้ง ทยอยก่อโครงสร้างดอกเห็ดชูขึ้นเหนือพื้นดิน ซึ่งเห็ดเหล่านี้มีทั้งเห็ดที่ รับประทานได้และเห็ดที่รับประทานไม่ได้ หรือที่เรียกว่า “เห็ดพิษ”  ในแต่ละปีกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มีผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษนับพันๆ ราย และบางรายร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ดังจะเห็นปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอยู่ในชนบทของภาคอีสาน และรองลงมาคือภาคเหนือ ผู้ป่วยที่กินเห็ดพิษ เข้าไปส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว หลังจากกินเห็ดพิษไปประมาณ 20 นาทีถึง 24 ชั่วโมง รายที่อาการรุนแรงจะถึงขั้นเสียชีวิตภายใน 1-8 วันด้วยอาการตับวาย ไตวาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด และชนิดของพิษที่กินเข้าไปด้วย– ( 206 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments