magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 31)
formats

เผยกลไกและอนาคตของปะการัง

Published on June 14, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยกลไกและอนาคตของปะการัง นักวิทยาศาสตร์จากรัตเจอร์ส ได้อธิบายกระบวนการทางชีววิทยาของการสร้างกระดูกของปะการังเป็นครั้งแรก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับแนวปะการังในมหาสมุทรทั่วโลก โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Current Biology แล้ว ดร.ทาลี แมสส์ นักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก และทีมงานจากสถาบันอุทกศาสตร์และปะการัง รัตเจอร์ส ได้แสดงให้เห็นถึง โปรตีนที่สร้างขึ้นจากปะการังว่าสามารถก่อหิวปูนขึ้นในท่อทดสอบได้ โปรตีนชนิดนี้เป็นโปรตีนลับของปะการังที่จะตกตะกอนคาร์บอนเนตจนกลายเป็นโครงกระดูกของปะการังไป “นี่เป็นก้าวแรกที่เราจะเข้าใจว่า ปะการังสร้างกระดูกของตัวเองได้อย่างไร” ดร.แมสส์กล่าว รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447016– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตามติดสิบปีภารกิจสำรวจดาวอังคารของ “ออพพอร์ทูนิตี้”

Published on June 14, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ตามติดสิบปีภารกิจสำรวจดาวอังคารของ “ออพพอร์ทูนิตี้” ก้าวย่างสู่ปีที่ 10 แล้วนับตั้งแต่จากโลกมาของยานสำรวจดาวอังคารขององค์การนาซา นามเก๋ไก๋ว่า “ออพพอร์ทูนิตี้” หรือ Opportunity ที่แปลว่า ความหวัง นั่นเอง ล่าสุด รถวิ่งบนดาวอังคารลำนี้ออกวิ่งอีกครั้งหนึ่งแล้ว และต้องทำการสำรวจอีกหลายสัปดาห์กันเลยทีเดียว สำหรับโครงการนี้ นาซาได้ปล่อยรถสำรวจดาวอังคารไปสองคัน คือ ยานสปิริต ในวันที่ 10 มิถุนายน 2003 และยานออพพอร์ทูนิตี้ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2003 ยานทั้งสองถึงดาวอังคารในเดือนมกราคม 2004 และปฏิบัติภารกิจหลักระยะเวลา 3 เดือนประสบความสำเร็จ จึงได้เริ่มทำงานตามภารกิจเสริมมาเป็นเวลาหลายปี ยานทั้งสองพบหลักฐานว่า ดาวอังคารในยุคก่อนนั้น “เปียก” โดยในปี 2010 นั้น ยานสปิริตยุติการปฏิบัติการในช่วงที่เข้าสู่หน้าหนาวหน้าที่ 4 ของดาวอังคาร ส่วนยานออพพอร์ทูนิตี้ก็เริ่มเก่า และการทำงานของข้อต่อบางส่วนก็เริ่มใช้การไม่ได้ แต่ยังสามารถทำงานอื่นๆ ต่อไปได้ เช่น กระบวนการขุดเจาะสำรวจดิน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447020– ( 59

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระดองเต่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร

Published on June 14, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง กระดองเต่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร การวิจัยใหม่พบว่า กระดองเต่า โครงสร้างอันซับซ้อนที่ประกอบไปด้วยกระดูก 50 ชิ้นนั้น มีวิวัฒนาการมานานก่อนไดโนเสาร์จะครองโลกเสียอีก  ในวารสาร Current Biology ฉบับล่าสุดนั้น มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวว่าเต่าและกระดองของมันนั้นเก่าแก่กว่ายุคจูราสสิคเสียอีก ซึ่งโครงสร้างของเต่านั้นถูกออกแบบมาให้ทนทานและอยู่ได้นาน ซึ่งแสดงถึงการปรับแต่งมาหลายล้านปี Tyler Lyson จาก Yale University และพิพิธภัณฑ์ Smithsonian กล่าวว่ากระดองนั้นเริ่มการเปลี่ยนแปลงเมื่อกว่า 260 ล้านปีมาแล้วในยุค Permian “เหมือนกับโครงสร้างที่สลับซับซ้อนอื่นๆ กระดองเต่านั้นวิวัฒนาการผ่านมาหลายล้านปีและค่อยๆ กลายมาเป็นรูปร่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน” รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446965– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยีนอาจบ่งบอกถึงคะแนน

Published on June 14, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ยีนอาจบ่งบอกถึงคะแนน ทีมวิจัยจากนานาชาติพบว่า เครื่องหมายทางพันธุกรรม (genetic marker) อาจใช้เพื่อทำนายผลการเรียนอนาคตได้ จากข้อมูลการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 125,000 คนในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรปโซนตะวันตก การศึกษาครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว เป็นผลงานการศึกษาของ Social Science Genetic Association Consortium (SSGAC) ซึ่งประกอบไปด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค มหาวิทยาลัยอีราสมุส มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด มหาวิทยาลัยบริสตอล และมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ทีมวิจัยของ SSGAC ทำการศึกษาสิ่งที่เรียกว่า genome-wide association study (GWAS) หรือการศึกษาการเชื่อมโยงของจีโนมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างๆ เพื่อหาว่า ความแปรปรวนของยีนมีความสัมพันธ์อย่างไรต่อผลสำเร็จทางการศึกษา ในแง่จำนวนปีที่ตัวอย่างใช้ในการสำเร็จการศึกษา ในงานวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยได้ทดสอบเครื่องหมายทางพันธุกรรมหลายแสนตัวเพื่อหาว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรค คุณสมบัติ และชีวิตอย่างไร รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446969– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยีนกลายพันธุ์ ทำให้น้ำหนักเพิ่ม

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ยีนกลายพันธุ์ ทำให้น้ำหนักเพิ่ม งานวิจัยใหม่ได้กล่าวว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั้งหมดอาจจะมียีนกลายพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีน้ำหนักเกิน นักวิจัยจาก Maastricht University ประเทศฮอลแลนด์ ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของอาสาสมัครชายหญิง ประมาณ 5,000 คน เป็นระยะเวลา 10 ปี และทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอจนกระทั่งพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีน MMP2 ในอาสาสมัครหญิง ซึ่งเป็นสาเหตุของการสร้างเนื้อเยื่อไขมัน ยีน MMP2 เป็นยีนที่พบได้ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากคิดเป็นร้อยละ 30 แต่ไม่พบในผู้ชาย นอกจากนี้ นักวิจัยยังค้นพบว่ายีน FTO ที่กลายพันธุ์ในผู้ชาย เป็นยีนที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ผู้ชายคนใดที่มียีน FTO กลายพันธุ์จะมีความเสี่ยงที่จะน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 87 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มียีน FTO กลายพันธุ์ ยีน FTO โดยปกติแล้วจะไปเพิ่มความรู้สึกอยากกินอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูงอยู่แล้ว แต่เมื่อยีน FTO กลายพันธุ์จะทำให้เกิดความรู้สึกอยากทานอาหารมากขึ้น จนทำให้ทานมากกว่าคนปกติมากถึง 100 แคลอรี่ต่อมื้อ เฉลี่ยแล้วได้รับพลังงานเกินไปมากถึง 2,100 แคลอรี่ต่อสัปดาห์เลยทีเดียว นักวิจัยจึงขนานนามยีนนี้ว่า ยีน

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Buzzy : ผึ้งตัวน้อยช่วยลบความเจ็บจากเข็มฉีดยา

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง Buzzy : ผึ้งตัวน้อยช่วยลบความเจ็บจากเข็มฉีดยา อุปกรณ์ Buzzy ดังกล่าวประกอบไปด้วยมอเตอร์สำหรับการสั่นและแพ็คน้ำแข็งรูปปีกแมลงสำหรับสร้างความสับสนให้กับระบบประสาทของร่างกายและเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการแทงเข็ม ด้วยวิธีเดียวกับการรินน้ำเย็นลงบนแผลไฟไหม้น้ำร้อนทำให้เจ็บปวดลดลงนั้น เจ้า Buzzy ก็ได้ใช้วิธีการเดียวกันเพื่อกระตุ้นต่อมรับความเย็นในระบบประสาทเพื่อสกัดความเจ็บแบบฉับพลันที่จะเกิดขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องได้รับการฉีดยาทุกวันหรือทุกสัปดาห์เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคไขข้ออักเสบนั้นคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว และ Buzzy นั้นใช้งานได้ดีไม่ว่าจะโดนฉีดยาหรือแม้กระทั้งผึ้งต่อย ซึ่งในกรณีโดนผึ้งต่อยหรือเสี้ยนตำนั้น Buzzy เองก็มีอุปกรณ์สำหรับช่วยในการดึงเข็มพิษออกมาด้วยเช่นกัน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446894– ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การนั่งอ่านแทบเบล็ตก่อนนอนนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพ

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การนั่งอ่านแทบเบล็ตก่อนนอนนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพ ในช่วงยุคสมัยที่หลอดไฟเพิ่งถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใหม่ โทมัส เอดิสันได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนว่าสิ่งประดิษฐ์จะไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพหรือรบกวนการนอนหลับแต่อย่างใด แต่เมื่อเราได้เริ่มขยับก้าวไปสู่สังคมที่เสียบปลั๊กตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น Charles Czeisler ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับคำมั่นสัญญานั้นอีกครั้งหนึ่ง “ยิ่งเราทำให้ชีวิตของเราสว่างไสวขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ดูเหมือนว่าเราจะยิ่งนอนน้อยลงไปเท่านั้น” Czeisler ได้กล่าวบทแสดงข้อคิดเห็นไว้ในวารสาร Nature “เมื่อต้นทุนในการผลิตแสงสว่างนั้นลดต่ำลงไปกว่าร้อยเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การบริโภคแสงสว่างก็เพิ่มขึ้นไปตามๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงระหว่างปี 1950 และปี 2000 นั้นต้นทุนของการผลิตแสงสว่างลดลงไป 6 เท่า ซึ่งทำให้อัตราการบริโภคต่อหัวของชาวอังกฤษนั้นเพิ่มขึ้นมาถึงสี่เท่าเลยทีเดียว และการเพิ่มขึ้นของการบริโภคแสงสว่างนี้ได้มาคู่ขนานกับการเพิ่มขึ้นของภาวะการอดนอนเช่นเดียวกัน”  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446891– ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ภาวะโลกร้อนอาจเกิดช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ภาวะโลกร้อนอาจเกิดช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ นักวิจัยหลายรายได้ให้ความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจทำให้โลกร้อนช้ากว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ ทีมนักวิจัยนานาชาติ นำโดย Alexander Otto จาก Environmental Change Institute ของมหาวิทยาลัยอ็อคฟอร์ด ได้รายงานข้อสรุปในวารสาร Nature Geoscience ว่า โลกในขณะนี้ร้อนเร็วกว่าเวลาในช่วง 11,000  ปี ที่ผ่านมา แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าทำไมบรรยากาศจึงร้อนน้อยกว่าที่พวกเขาคาดการณ์ไว้ และช้ากว่าในปี 1990 โดยนักวิจัยได้ศึกษาว่าทำไมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจึงได้รับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศในระยะยาวจากการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแสดงให้เห็นว่าโลกจะร้อนช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ถึงแม้ว่าจะมีอากาศร้อนขึ้นช้าลง นักวิทยาศาสตร์ยังคงเชื่อว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากกว่า 4 C เป็นระดับที่อันตราย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446888– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เปลี่ยนความเชื่อจุดกำเนิดการเดินสองขาของมนุษย์

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เปลี่ยนความเชื่อจุดกำเนิดการเดินสองขาของมนุษย์ นักโบราณคดี มหาวิทยาลัยยอร์ค ศึกษาและพบว่า การยืนสองขาอาจจะมาจากการตอบสนองต่อภูมิประเทศ มากกว่าที่จะมาจากการย้ายที่อยู่เพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อย่างที่ทฤษฎีเดิมเชื่อกันมา การศึกษาครั้งล่าสุดจากนักโบราณคดี มหาวิทยาลัยยอร์ค ท้าทายทฤษฎีที่ว่าบรรพบุรุษของเราพัฒนาการมาจากสัตว์สี่เท้าที่สร้างบ้านอยู่บนต้นไม้มาเป็นสัตว์ยืนสองเท้าที่สามารถเดินและปีนป่ายได้ นักวิจัยเชื่อว่า การยืนสองเท้าของคนถือกำเนิดมาจากบริเวณภูมิประเทศขรุขระทางแอฟริกาตะวันออกและใต้ ที่มีสาเหตุมาจากภูเขาไฟและการเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกในยุค Pliocene โฮมินิน บรรพบุรุษยุคแรกของเรา อาจจะสนใจภูมิประเทศแบบหินแข็งและช่องเขา เพราะมันหมายถึงที่อยู่อาศัย และโอกาสในการล่าเหยื่อที่ดีขึ้นได้ แต่การจะอยู่ในที่แบบนั้นได้ จะต้องมีความสามารถในการยืนและปีนป่ายขึ้นที่สูงได้ อันเป็นจุดกำเนิดของการเริ่มเดินสองขาของมนุษย์ นับว่านักวิจัยมหาวิทยาลัยยอร์ค ท้าทายทฤษฎีเดิมที่เชื่อว่า บรรพบุรุษเดิมของเราไม่อยากอาศัยอยู่บนต้นไม้อีกต่อไป เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้ต้นไม้มีจำนวนน้อยลง จึงลงจากต้นไม้มายืนสองขาบนพื้นดิน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446883– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยาต้านมะเร็งลดอาการอัลไซเมอร์ในหนู

Published on May 31, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ยาต้านมะเร็งลดอาการอัลไซเมอร์ในหนู นักวิจัยมะกันพบว่า ยาต้านมะเร็งทำให้การบกพร่องทางความจำของหนูที่เป็นโรคอัลไซเมอร์เกิดอาการผันกลับ ส่งผลให้หนูมีอาการเป็นอัลไซเมอร์ลดลง ผลงานจากนักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยพิตต์เบิร์ก ชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีส่วนที่เล่าถึงยาเบซาโรทีน อันเป็นยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ ให้ใช้เพื่อการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนังประเภททีเซลล์ได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพิตต์เบิร์กพบว่า ยาชนิดนี้มีผลทำให้ระบบการรับรู้ที่เคยบกพร่องกลายเป็นดีขึ้นมาได้ในการทดลองในหนู โดยหนูที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมให้มีโรคที่เกี่ยวข้องกับอัลไซเมอร์ในมนุษย์สามารถมีอาการดีขึ้นได้ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า ยานี้ทำให้ก้อนอะไมลอยด์ในสมองหายไปจนไม่เหลือเลย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446880– ( 44 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments