magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 28)
formats

Lab notebook: บันทึกช่วยจำในงานวิจัย

บันทึกช่วยจำในงานวิจัย (Laboratory notebook) เป็นการบันทึกความคิด ผลการทดลอง ข้อสังเกต ผลลัพธ์ และกระบวนการในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ วัตถุประสงค์หลักของบันทึกช่วยจำในงานวิจัยคือการบันทึกสิ่งที่อาจขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร โดยบันทึกเหตุการณ์ตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องแม่นยำ ประโยชน์ของบันทึกช่วยจำในงานวิจัย คือ ผู้ประดิษฐ์สามารถนำข้อมูลที่บันทึกไว้พิสูจน์สิทธิในศาลเวลาเกิดข้อพิพาททางกฎหมาย ส่วนผู้ร่างคำขอรับสิทธิบัตรสามารถนำสิ่งที่บันทึกไว้เป็นข้อมูลประกอบการร่างข้อถือสิทธิในคำขอรับสิทธิบัตรได้ บทความนี้ เขียนโดย ดร. ใจรัก เอื้อชูเกียรติ นักวิชาการ  สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี  ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้เกริ่นนำถึงความสำคัญและความจำเป็นของการมีบันทึกช่วยจำในงานวิจัย อธิบายถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อให้บันทึกช่วยจำในงานวิจัยนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดสมความมุ่งหมาย จากนั้นจึงกล่าวถึงคดีที่เกิดขึ้นที่มีการนำบันทึกช่วยจำในงานวิจัยมาใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิ คดีที่เกิดขึ้นทั้งหมดแม้เป็นคดีที่เกิดในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่สามารถนำผลของคดีมาศึกษาเทียบเคียงหากมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลไทยได้เช่นกัน ด้วยเหตุว่าพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ระบุว่าในการคัดค้านการขอรับสิทธิบัตรใด ๆ ผู้คัดค้านและผู้ถูกโต้แย้งสิทธิจะต้องนำเสนอหลักฐานประกอบการพิจารณาด้วย ในกรณีเช่นว่านั้น บันทึกช่วยจำในงานวิจัยจะเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ใช้ในการพิสูจน์สิทธิได้ว่ามีการทำวิจัยขึ้น หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สรุปได้จากตัวอย่างคดีที่เกิดขึ้นที่มีข้อเท็จจริงที่หลากหลายจะนำไปสู่ข้อพึงระวังและบทสรุป อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/13009-lab-notebook– ( 136 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีเส้นใยกันน้ำของโปแลนด์

Published on July 19, 2013 by in S&T Stories

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวสารคดีโลก โปแลนด์ 16 ก.ค.2013 – สารคดีโลกวันนี้ ชมเทคโนโลยีใหม่ของวัสดุกันน้ำที่นักวิทยาศาสตร์โปแลนด์คิดค้นขึ้น น้ำหยดนี้อาจช่วยปรับเปลี่ยนวิธีการที่เราใช้เสื้อผ้าในอนาคต นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีในเมืองลอดซ์ของโปแลนด์ ได้ประดิษฐ์เส้นใยกันน้ำที่สามารถสกัดกั้นของเหลว  ไม่ให้ซึมผ่านไปได้ ผิวหน้าของเส้นใยนี้จะถูกทำให้อิ่มตัวโดยใช้คุณสมบัติของพลาสมาเย็นที่ไม่ชอบน้ำ ซึ่งจะไม่แตกตัวเป็นไอออน จึงไม่สามารถยึดติดกับโมเลกุลของน้ำได้  วัสดุที่เคลือบด้วยพลาสมาเย็นจะสกัดกั้นอนุภาคของน้ำไว้ – ( 116 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทยเป็นอันดับที่ 38 จาก 144 ประเทศโดยการจัดอันดับของ WEF

World Economic Forum (WEF) ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ โดย 10 อันดับแรก ยังเป็นประเทศในภูมิภาคยุโรป (เช่น สวิสเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ) ประเทศสหรัฐอเมริกา และบางประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ดังตารางที่ 2 สำหรับประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 38 จาก 144 ประเทศ ทั้งนี้ติดตามบทวิเคราะห์การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ประจำปี 2012-2013 โดย World Economic Forum: WEF ซึ่งวิเคราะห์โดย ฝ่ายวิจัยและการจัดนโยบาย 5 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้ที่ http://www.sti.or.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=427&Itemid=283– ( 96 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ศักยภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยอยู่ตรงไหน?

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้จัดทำหนังสือ เรื่อง “ศักยภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยอยู่ตรงไหน?”  เพื่อให้ได้รับทราบบทบาทและความสำคัญของประเทศไทย ประกอบด้วยข้อมูล 7 บท ได้แก่ ความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ของประเทศ การวิจัยและพัฒนา บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยี  สิทธิบัต ผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศักยภาพไอซีทีไทย ติดตามอ่านได้ที่ http://www.sti.or.th/th/images/stories/files/sti%20index-s2.pdf – ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เมื่อสาหร่ายสีเขียวปราศจากอากาศ

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เมื่อสาหร่ายสีเขียวปราศจากอากาศ เมื่อสาหร่ายสีเขียว “ไม่สามารถหายใจได้” พวกมันจะกำจัดพลังงานส่วนเกินผ่านการผลิตของไฮโดรเจน นักชีววิทยาจาก Ruhr-University Bochum พบวิธีการสังเกตที่บ่งบอกว่าเซลล์เหล่านั้นขาดออกซิเจน พวกมันต้องการตัวส่งถ่ายโมเลกุลไนตริกออกไซด์และฮีโมโกลโปรตีน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์ ในร่างกายมนุษย์ ฮีโมโกลบินจะลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอด อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ทราบดีว่าไม่ได้ใช้ฮีโมโกลบินเพียงหนึ่งโมเลกุลเท่านั้น โดยธรรมชาติจะมีการผลิตโปรตีนจำนวนมากซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน สาหร่ายสีเขียวสายพันธุ์ Chlamydomonas reinhardtii ซึ่งสามารถลดการทำงานของฮีโมโกลบินได้ และมีนักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสบทบาทในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447087– ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของนั้นเหมือนพ่อแม่ลูก

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เมื่อวิทยาศาสตร์อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของนั้นเหมือนพ่อแม่ลูก ผู้คนนั้นมีความต้องการภายในอยู่ลึกๆ ที่ต้องการจะสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนอื่น แต่พฤติกรรมการเชื่อความสัมพันธ์ตามธรรมชาตินั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่แต่ในมนุษย์เท่านั้น สัตว์อื่นๆ ก็ดูเหมือนว่าจะมีความต้องการแบบเดียวกัน แต่สำหรับสัตว์เลี้ยงนั้นจะซับซ้อนมากขึ้นไปอีก และสัตว์เลี้ยงก็อาจจะเกิดความสัมพันธ์สนิทสนมไม่ใช่แค่กับสัตว์ชนิดเดียวกันเท่านั้นแต่กับเจ้าของของมันด้วย  โดยนักวิทยาศาสตร์จาก University of Veterinary Medicine ที่เวียนนานั้นได้ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของ และได้พบความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากกับความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกที่พบในมนุษย์ – ( 81 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ต่อต้านการติดเชื้ออย่างทันสมัยด้วยหุ่นยนต์

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ต่อต้านการติดเชื้ออย่างทันสมัยด้วยหุ่นยนต์ โรงพยาบาลนั้นก็เปรียบได้กับตัวแทนของความสะอาด และตอนนี้ทางระบบสุขภาพของทางมหาวิทยาลัย Loyola นั้นจะเป็นศูนย์สุขภาพทางการศึกษาแห่งแรกในรัฐอิลินอยส์ที่จะยกระดับการฆ่าเชื้อโรคไปสู่ระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยหุ่นยนต์ทรงกระบอกตั้งสูงสามฟุตสองตัวที่มีชื่อเล่นว่า Ralph และ Little Joe ที่ถูกตั้งให้โดยโรงพยาบาล Gottlieb และศูนย์สุขภาพของมหาวิทยาลัยนั้น พวกมันจะสามารถเก็บรายละเอียดงานฆ่าเชื้อได้ด้วยส่วนหัวที่สามารถหมุนไปมาและยิงรังสี UV ในห้องที่ไม่มีคนอาศัยอยู่เพื่อการฆ่าเชื้อโรคอย่างหมดจด จากการวิจัยนั้น หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อนั้นจะทำการกำจัด Clostridium difficile หรือ C. diff ที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่างโรคลำใส้ โรคอุจจาระร่วง ภายในเวลาน้อยกว่า 4 นาที และจำกัด Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) หรือเชื้อดื้อยาได้ภายใน 2 นาที รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447093– ( 39 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์มีส่วนช่วยควบคุมการเคลื่อนไหว

Published on July 17, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์มีส่วนช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวในหนู นักวิจัยจากเมืองเบอร์ลินและเมืองมิวนิคที่เยอรมันนี และจากเมืองอ็อกฟอร์ดที่อังกฤษนั้นได้เปิดเผยว่ามีโปรตีนตัวหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์นั้นควบคุมพัฒนาการของเยื่อหุ้มมัดกล้ามเนื้อและส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของหนูที่ไม่มีโปรตีนตัวดังกล่าวหรือถูกสารยับยั้งไว้ไม่ให้ทำงาน ซึ่งผลการทดลองได้ชี้ให้เห็นว่าตัวยาที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อส่งผลกับโปรตีน beta-secretase-1 โดยเฉพาะนั้น อาจจะมีผลค้างเคียงจากการรักษาโรคอัลไซเมอร์ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติกับการเคลื่อนไหวร่างกายได้ – ( 37 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กระทรวงวิทย์ฯ ร่วมมือกับอิตาลีนำเทคโนโลยีด้านอวกาศมาใช้

Published on July 9, 2013 by in S&T Stories

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเทคโนโลยี ชลบุรี 5 ก.ค.2556  – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับประเทศอิตาลี นำเทคโนโลยีด้านอวกาศ และดาวเทียมของอิตาลีมาใช้ในกิจการของไทย โดยมีเป้าหมายวิเคราะห์พื้นที่ด้าน การเกษตร สามารถจัดการพื้นที่เพาะปลูกได้ถูกต้อง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ร่วมกับสถานทูตอิตาลีประจำประเทศไทย เปิดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์เทคโนโลยีอวกาศ โดย นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เทคโนโลยีด้านอวกาศของอิตาลีมีความก้าวหน้าสูงอย่างมาก  และมีดาวเทียมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสามารถใช้งานในสภาพภูมิอากาศของไทยถึง 4 ดวง ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ไทยได้ทำข้อตกลงใช้งานดาวเทียม Cosmo-SkyMed ที่เป็นดาวเทียม ชนิดเรดาห์ มีคุณสมบัติพิเศษในการถ่ายภาพทะลุผ่านเมฆได้ จึงเป็นประโยชน์กับไทยที่อยู่ในเขตมรสุมสามารถนำภาพดาวเทียมมาวิเคราะห์สภาพอากาศและพื้นที่เสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ อีกด้วย ทำให้ประเมินสถานการณ์ และความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ซึ่งการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยมีความรวดเร็วมากขึ้น – ( 66 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จีนกำหนดโควตาส่งออกแร่หายาก

Published on July 7, 2013 by in S&T Stories

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวต่างประเทศ เซี่ยงไฮ้ 2 ก.ค.2013  -จีนซึ่งเป็นผู้ผลิตแร่หายากเกือบทั้งหมดของโลก ประกาศโควตาส่งออกแร่หายากในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ กระทรวงพาณิชย์จีนแถลงว่า ช่วง 6 เดือนหลังของปีนี้จะอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไม่เกิน 15,500 ตัน ไม่ต่างจากช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ที่กำหนดโควตาไว้ที่ 15,501 ตัน  แร่หายากมีทั้งหมด 17 ชนิด ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ไฮเทค ไปจนถึงลดการปล่อยก๊าซต่ำ จีนครองตลาดการผลิตกว่าร้อยละ 95 ของโลก และได้กำหนดโควตาการผลิตและส่งออก  โดยให้เหตุผลว่าต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน – ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments