magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "S&T Stories" (Page 29)
formats

อาการคันนั้นเกิดจากอะไร

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง โอ๊ย…คันจังเลย!! แต่เอ๊ะ…อาการคันนั้นเกิดจากอะไรนะ? งานวิจัยล่าสุดพบเซลล์ประสาทที่ทำให้เกิดอาการคันแล้ว นักวิจัยเปิดเผยว่าได้มีการค้นพบสารเคมีตัวสำคัญที่อยู่เบื้องหลังอาการคันคะเยอตามจุดต่างๆ แล้ว กับคำถามที่เป็นความสงสัยมายาวนานว่า ทำไมคนเราจึงเกิดอาการคัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มีคำตอบให้เราแล้วในวันนี้ เซลล์ประสาทที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการคัน ได้ปล่อยสารเคมีที่มีความเฉพาะเจาะจงทำการส่งข้อวความพิเศษว่า “ฉันอยากเกาจัง!!” ไปยังสมอง การค้นพบนี้มาจากการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ใช้หนูเป็นสัตว์ทดลอง โดยทดลองเปลี่ยนย้ายโมเลกุลที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเกี่ยวข้องกับอาการคันออกไป และหลังจากนั้นพบว่าหนูทดลองตัวที่ว่าไม่เกิดอาการคันให้เห็นอีกเลย รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/446982– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พิซซ่าเพื่อสุขภาพ

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง พิซซ่าเพื่อสุขภาพ ขึ้นชื่อว่า “พิซซ่า” สาวๆ ทั้งหลายที่ห่วงเรื่องความสวยงามของเรือนร่างคงจะส่ายหัว ปฏิเสธที่จะกินมันเป็นแน่แต่รู้หรือไม่ตอนนี้มีผู้คิดค้น “พิซซ่าเพื่อสุขภาพ” ที่กินได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะขาดสารอาหารหรือได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็น ศาสตราจารย์ไมค์ ลีน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ จากมหาวิทยาลัยกลาส์โกลว์ และคณะได้คิดค้นพิซซ่าแช่แข็งเพื่อสุขภาพนี้ขึ้น เพื่อขายในประเทศสกอตแลนด์ โดยอ้างว่าพิซซ่านี้มีสารอาหารที่จำเป็นมากถึง 47 ชนิด รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ที่ได้จากสาหร่ายทะเลและพริกแดง โดยได้ตั้งราคาขายอยู่ที่  3.50 ปอนด์ หรือประมาณประมาณ 168 บาท และได้วางขายอยู่ในโซนอาหารเพื่อสุขภาพตามซุปเปอร์มาเก็ตหลายๆ แห่ง พิซซ่าแช่แข็งทั่วๆ ไปนั้นจะให้พลังงานประมาณ 300 แคลอรี่ และมีไขมัน 13 กรัม แต่พิซซ่าที่ศาสตราจารย์ลีนคิดขึ้นให้พลังงานเพียง 172 แคลอรี่ และมีไขมันแค่ 5.3 กรัม ซึ่งนับเป็นจุดเด่นที่สำคัญของพิซซ่านี้ เนื่องจากยังไม่มีบริษัทไหนคิดค้นพิซซ่าที่ให้พลังงานต่ำและดีต่อสุขภาพมาก่อน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447038– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

หน้าจอโทรศัพท์มือถือของคุณอาจใช้ชาร์จแบตฯ ได้

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง หน้าจอโทรศัพท์มือถือของคุณอาจใช้ชาร์จแบตฯ ได้ ทุกวันนี้อุปกรณ์พกพาอย่างมือถือหรือแทบเบล็ตนั้นถูกใช้อยู่อย่างตลอดเวลาจนอายุแบตเตอรี่นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ และหลายๆ คนก็ต้องคอยมองหาที่ชาร์จอุปกรณ์ของตัวเองตลอดเวลา  บริษัทเปิดใหม่ SunPartner Group ซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานทั้งสิ้น 30 คนใน Aix-en-Provence ที่ฝรั่งเศสจึงได้พยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ในการชาร์จมือถือขึ้นมา พวกเขาคิดว่าเวลาคนนั่งอยู่ในร้านอาหาร ร้านกาแฟแบบนั่งข้างนอก หรือที่โต๊ะของตัวเองนั้นชอบเอามือถือวางหงายไว้ด้านหน้าของตัวเองเพื่อที่ว่าจะได้สังเกตได้ง่าย ถ้าเกิดพวกเขาสามารถนำแผงโซลาร์ใส่ลงไปข้างในมือถือได้ล่ะก็ อาจจะทำให้ความวุ่นวายในการที่จะต้องขวนขวายหาปลั๊กไฟนั้นลดลงก็เป็นได้ ซึ่งพวกเขาก็ได้สร้างแผงโปร่งใสต้นทุนต่ำที่ทำได้เช่นนั้นด้วยเช่นกัน และก็อยู่ระหว่างขั้นตอนการทดสอบกับผู้ผลิตจำนวนหน่งและคาดว่าจะเห็นว่ามันถูกบรรจุลงไปในอุปกรณ์มือถืออย่างเร็วก็ต้นปีหน้าก็เป็นได้  รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447045– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การค้นพบสเต็มเซลล์ใหม่อาจช่วยให้นิ้วเรางอกขึ้นมาใหม่ได้

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง การค้นพบสเต็มเซลล์ใหม่อาจช่วยให้นิ้วเรางอกขึ้นมาใหม่ได้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นสามารถสร้างปลายนิ้วมือและนิ้วเท้าขึ้นมาได้ใหม่หลังจากโดนตัดไปแล้ว แต่ในตอนนี้มีงานวิจัยชิ้นใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าสเต็มเซลล์ในเล็บนั้นมีบทบาทอย่างไรในกระบวนการดังกล่าว งานวิจัยชิ้นหนึ่งในหนูที่ให้รายละเอียดไว้ในสาร Nature เมื่อวันที่  12 ที่ผ่านมานั้นเปิดเผยสัญญาณเคมีที่ทำให้เสต็มเซลล์งอกเนื้อเยื่อเล็บขึ้นมาใหม่ และยังรวมเส้นประสาทที่ทำให้เกิดการสร้างตัวใหม่ของเล็บและกระดูกด้วย การค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเสต็มเซลล์ของเล็บนั้นอาจถูกนำมาใช้คิดค้นวิธีบำบัดรักษาใหม่สำหรับผู้ที่ต้องสูญเสียแขนหรือขาจากการผ่าตัดได้ – ( 59 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สักถาวร ติดทนนาน เพราะอะไร

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง สักถาวร ติดทนนาน เพราะอะไร การ “สัก” เป็นหนึ่งในแฟชั่นเก่าแก่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในขณะนี้ หัวหน้าเผ่ายอร์มีรอยสักอยู่เต็มตัวไม่เว้นแม้กระทั่งใบหน้า แม้กระทั่งฟาร์โรห์ของอียิปต์ก็ยังชอบการสัก และมันก็ไม่ใช่แฟชั่นที่เลือนหายไปในหลายๆ พื้นที่ของโลก รอยสักเหล่านี้มีคุณค่าและวัตถุประสงค์ ตั้งแต่ในเรื่องของศาสนา สัญลักษณ์ของความกล้าหาญ เรื่องทางเพศ และเครื่องหมายป้องกันภัยจากสิ่งชั่วร้าย และอีกหลากความหมาย – ( 32 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Up, up and away : ก้าวข้ามไปสู่นวัตกรรมที่เหนือกว่า

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง Up, up and away : ก้าวข้ามไปสู่นวัตกรรมที่เหนือกว่า กูเกิ้ลเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดตัวกับนวัตกรรมที่จะเปิดมิติใหม่ให้กับวงการการสื่อสารไร้สาย ภายใต้ชื่อว่า “ เดอะ สตราโทสเฟีย” นวัตกรรมนี้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากการทดลองเล่นกับเทคโนโลยีใหม่ โดยการปล่อยลูกบอลลูนที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปสู่ห้วงอวกาศ คาดว่าเราจะสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายขนาดยักษ์นี้ทำให้ประชาชนที่อยู่นอกพื้นที่ให้บริการสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ – ( 45 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จำนวนประชากรโลกอาจถึง 1.1 หมื่นล้านคนในปี 2100

Published on June 26, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง จำนวนประชากรโลกอาจถึง 1.1 หมื่นล้านคนในปี 2100 จำนวนประชากรโลกนั้นอาจสูงถึงหนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้านคนภายในปี 2100 นี้ จากการอ้างอิงถึงการวิเคราะห์ทางสถิติครั้งใหม่ ตัวเลขนี้แสดงถึงจำนวนที่สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในปี 2011 ซึ่งเกือบทั้งหมดของส่วนที่เพิ่มขึ้นมานั้นเกิดจากอัตราการเกิดในแอฟริกาไม่ได้ลดลงอย่างรวดเร็วตามที่เคยคาดการณ์กันไว้ ทางสหประชาชาติได้รายงานว่าจำนวนประชากรได้แตะตัวเลขเจ็ดพันล้านเมื่อเดือนตุลาคม 2011 ซึ่งนั้นเป็นการเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าทึ่งจากแค่ห้าล้านคนที่เคยอาศัยอยู่บนโลกในช่วงแปดพันปีก่อนคริสตกาล หรือหนึ่งพันล้านคนที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อปี 1805 การปะทุครั้งใหญ่ของจำนวนประชากรคาดว่าจะทำให้จำนวนประชากรในเมืองใหญ่ๆ นั้นล้นตัว ซึ่งอาจจะทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความแออัดยัดเยียดแย่ลงไปกว่าที่เป็นอยู่ได้ ณ ตอนนี้นั้น ประชากรของแอฟริกาได้อยู่ที่ 1.1 พันล้าน แต่คาดว่าว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอีกถึงสี่เท่าตัว หรือ 4.2 พันล้านภายในปี 2100 รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447051– ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไขปริศนารังสีเอ็กซ์ของหลุมดำ

Published on June 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ไขปริศนารังสีเอ็กซ์ของหลุมดำ หลายสิบปีมาแล้วที่นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์งงอยู่กับคำถามที่ว่าหลุมดำสร้างรังสีเอ็กซ์พลังงานสูงได้อย่างไร วันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบคำตอบแล้ว  การศึกษาครั้งใหม่นี้ นำโดยนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ จากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือนาซา และจากสถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ ได้สร้างงานวิจัยที่เชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการสังเกตการณ์ได้สำเร็จ โดยการแสดงให้เห็นว่า แก๊สที่หมุนวนเป็นก้นหอยก่อนที่จะเข้าสู่หลุมดำนั้นเอง ที่เป็นตัวการที่ทำให้รังสีเอ็กซ์ถูกปล่อยออกมา งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า ในขณะที่แก๊สที่พุ่งเป็นรูปก้นหอยเข้าสู่ใจกลางของหลุมดำเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลนั้น จะเกิดการสร้างจานพอกพูนมวลขึ้น ปรากฏการณ์นี้จะทำให้แก๊สร้อนขึ้นสูงถึง 10 ล้านองศาเซลเซียส อุณหภูมิบริเวณในกลางระดับนี้ถือว่าร้อนกว่าดวงอาทิตย์ถึง 2,000 เท่าแต่นับเป็นอุณหภูมิของบริเวณส่วนใหญ่ของแผ่นจานดังกล่าว จึงก่อนให้เกิดรังสีเอ็กซ์พลังงานต่อออกมา แต่แม้ทฤษฎีจะกล่าวเช่นนั้น ในการสังเกตการณ์กลับพบว่า เราตรวจพบรังสีเอ็กซ์พลังงานสูงที่ถูกปล่อยออกมา และมีพลังงานมากกว่ากลุ่มพลังงานอ่อนถึง 100 เท่า รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447054– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เผยข้อมูลการวิ่งของเสือชีตาร์

Published on June 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง เผยข้อมูลการวิ่งของเสือชีตาร์ น่าทึ่งไม่ใช่เล่น เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ ประเทศอังกฤษ จับข้อมูลรายละเอียดการล่าเหยื่อของเสือชีตาร์ในธรรมชาติจากเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น จีพีเอส วงแหวนตรวจจับการเคลื่อนที่ และอื่นๆ  ศาสตราจารย์อลัน วิลสัน และทีมงานสามารถบันทึกความเร็วสูงสุดของการวิ่งของเสือชีตาร์ได้ถึง 93 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว  ก่อนหน้านี้ การวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของเสือชีตาร์ทำได้เพียงแค่การวัดความเร็วเทียบกับเหยื่อในทางเส้นตรง เช่น การวัดเทียบกับสุนับเกรย์ฮาวน์ที่ชีตาร์สามารถล่าได้ แต่สำหรับการเสือชีตาร์ในธรรมชาตินั้น การประมาณความเร็วก็ทำได้เพียงแค่การศึกษาจากกล้องภาพยนตร์หรือการสังเกตการณ์โดยตรงในธรรมชาติ ในช่วงเวลาจริงที่ชีตาร์ออกล่าเหยื่อ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447057– ( 65 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มารู้จัก QR Code กันเถอะ

Published on June 20, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง มารู้จัก QR Code กันเถอะ QR Code  เป็นบาร์โค้ดสองมิติชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยมอดูลสีดำเรียงตัวกัน มีสัณฐานสี่เหลี่ยม มีพื้นหลังสีขาว ที่สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนคิวอาร์ ในโทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง และสมาร์ตโฟน เพื่อถอดข้อมูลในรูปข้อความ หรือโปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล และอื่น ๆ โดยรหัสคิวอาร์นี้ สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 โดย เดนโซ-เวฟ บริษัทลูกของโตโยต้า โดยนับเป็นรหัสแท่งสองมิติประเภทหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น – ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments