magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

นักวิทยาศาสตร์พบสารเร่งเนื้อแดงทำให้เป็นโรคหัวใจ

นักวิทยาศาสตร์ เผยแพร่ผลการศึกษาพบ สารเร่งเนื้อแดงส่งผลเสียต่อหัวใจ เนื่องจากสารคาร์นิทีนในเนื้อแดง ถูกทำลายโดยแบคทีเรียในลำไส้ เพราะฉะนั้นผู้ที่รับประทาน สเต็ก เนื้อบด และเบคอนมากไป อาจมีผลหัวใจ

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 8 เม.ย.ว่า นักวิทยาศาสตร์สหรัฐ เผยแพร่ผลการศึกษาลงในนิตยสารการแพทย์เนเจอร์ เมดิซึน ระบุว่า สารเคมีที่พบในเนื้อแดง ช่วยอธิบายเหตุผลว่าทำไมการรับประทาน สเต็ก เนื้อบด และเบคอนมากเกินไป จึงเป็นผลเสียต่อหัวใจ เนื่องจากสารคาร์นิทีนในเนื้อแดงนั้น ถูกทำลายโดยแบคทีเรียในลำไส้ การเริ่มต้นของปรากฏการณ์แบบลูกโซ่ ซึ่งส่งผลให้ระดับของคอเลสเตอรอลสูงขึ้นและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจก็ เพิ่มมากขึ้น นักโภชนาการเตือนว่า อาจเกิดความเสี่ยงต่อคนที่รับประทานอาหารเสริมคาร์นิทีน

นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาอีกหลายชิ้น ที่พบว่า การรับประทานเนื้อแดงเป็นประจำอาจทำลายสุขภาพได้ ในสหราชอาณาจักร รัฐบาลได้แนะนำประชาชนว่าอย่ารับประทานเนื้อแดง หรือเนื้อแปรรูป มากกว่า 70 กรัมต่อวัน ซึ่งเท่ากับเบคอนหั่นบาง ๆ 2 ชิ้น ทั้งนี้ ไขมันอิ่มตัวและวิธีการถนอมเนื้อแปรรูป ถูกคิดว่าทำให้เกิดปัญหาต่อหัวใจ.

รายการอ้างอิง :
นักวิทยาศาสตร์พบสารเร่งเนื้อแดงทำให้เป็นโรคหัวใจ. เดลินิวส์ (ต่างประเทศ). วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2556.

– ( 46 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นาโนเทคเร่งแผนความปลอดภัยขอเป็นต้นแบบภูมิภาคอาเซียน

นาโนเทคจับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่างแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยนาโนฯ มุ่ง 3 แผนหลัก หวังเป็นผู้นำในอาเซียน

นายสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า จากการจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี : แผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่เออีซี” หน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ตาม “แผนยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี พ.ศ. 2555-2559”เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผลิต จำหน่าย ตลอดจนการใช้นาโนเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นาโนอย่างมีจริยธรรมเหมาะสม ยั่งยืน และมีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นต้นแบบในการนำไปใช้ต่อไป Read more…

– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

คำแนะนำดีๆๆ จาก ดร.หริส สูตะบุตร

คำแนะนำดีๆๆ จาก ดร.หริส สูตะบุตร จากการบรรยายให้กับบุคลากร สวทช. ในโครงการเพิ่มพูนขีดความสามารถและเติมพลังในการทำงานสำหรับผู้บริหารระดับกลาง ประจำปี 2556

  1. ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
  2. เรื่องระเบียบ อย่าเชื่อความจำ
  3. อย่าคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว เร็วเกินไป หรือกัดไม่ปล่อย
  4. อย่าดุใครโดยไม่จำเป็น
  5. ให้ผู้ที่ถูกสั่งให้ทำงาน เข้าใจเหตุผลที่ต้องทำ และเห็นด้วยว่าต้องทำ
  6. ช่วยคนอื่นทุกครั้งที่มีโอกาส และให้ความอบอุ่น เรื่องที่เกี่ยวกับคนต้องยอมให้เวลา ปัญหาเล็กจะได้ไม่กลายเป็นปัญหาใหญ่
  7. คิดถึงส่วนรวมก่อนเสมอ
  8. ต้องถ่องแท้
    1. ได้ยินอะไรเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน อย่าเพิ่งเชื่อ หาข้อมูลให้ชัดเจนก่อน ขอให้ใช้ระบบบวกและลบสะสม
    2. การจะพูดจะเขียนต้องชัดเจน เข้าใจได้ง่าย
    3. อย่าพูดครึ่งจริงครึ่งเท็จ
    4. อย่าทึกทัก
  9. การแทงหนังสือต้องสื่อความหมายชัดเจน และมีข้อมูลพอให้ผู้รับหนังสือทำงานต่อได้
  10. ต้องรู้หลักการของกฏระเบียบสำนักงาน
  11. ต้องรู้งานของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาระดับรองลงไปดีพอ เพื่อจะได้ให้คำแนะนำได้อย่างรวดเร็ว และต้องร่วมรับผิดชอบเมื่อมีปัญหา
  12. เมื่อลูกน้องมาหารือ เรื่องงานของเขา เช่น งานกฏหมาย งานพัส ต้องไม่ตอบกลับว่า งานของคุณ คุณน่าจะรู้ดี มาถามผมทำไม
  13. พยายามรับคนดี คนเก่งเข้ามาทำงาน ควรเลือกคนที่มีศักยภาพที่จะเก่งกว่าเราเข้าทำงาน
  14. Succession plan เป็นส่วนหนึ่งของานบริหาร
  15. เมื่อจะแก้ปัญหาต้องคิดทั้งระบบ
  16. แตกปัญหาใหญ่ให้กลายเป็นปัญหาย่อย แล้วแก้แต่ลปัญหา
  17. รู้จักถาม รู้จักฟัง รู้จักแขวน
  18. พยายามไม่แสดงอารมย์
  19. คิดทุกคำที่พูด ไม่พูดทุกคำที่คิด หรือ “ทุกคนมีคอลัมน์ซ้าย”
  20. ใช้ประโยชน์จากความเห็นที่แตกต่าง

– ( 106 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

เกาหลีใต้เชื่อขีปนาวุธเกาหลีเหนือไปไม่ถึงสหรัฐ

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ
เกาหลีใต้ 5 เม.ย. 2013  – รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ ระบุเกาหลีเหนือเคลื่อนขีปนาวุธพิสัยกลางมาไว้ที่ชายฝั่งตะวันออก ในลักษณะของการซ้อมรบแล้ว แต่เชื่อว่าศักยภาพของขีปนาวุธไปไม่ถึงแผ่นดินใหญ่สหรัฐ

หลังจากที่หนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุน ของญี่ปุ่น รายงานว่า เกาหลีเหนือได้เคลื่อนขีปนาวุธพิสัยไกล KN-08 มายังชายทะเลฝั่งตะวันออก เพื่อเตรียมโจมตีสหรัฐและเกาหลีใต้แล้ว  นายคิม กวาน จิน รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ ได้ออกมาชี้แจงว่า ขีปนาวุธดังกล่าวไม่ใช่ KN-08 ที่มีพิสัยทำการราว 10,000 กิโลเมตร ซึ่งสามารถโจมตีเมืองต่างๆ ในสหรัฐได้ แต่เป็นขีปนาวุธพิสัยกลาง รุ่นมูซูดาน ที่มีระยะทางราว 3,000 กิโลเมตร ซึ่งไม่ถึงดินแดนของสหรัฐ ได้แค่เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฐานทัพสหรัฐที่เกาะกวม นอกจากนั้นไม่เห็นมีความเคลื่อนไหวทางทหารใดๆ
แต่กระนั้นเพื่อความไม่ประมาท เกาหลีใต้ได้เตรียมพร้อมรับมือและตอบโต้ในทุกรูปแบบอยู่แล้ว

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้เผยทางวิทยุเสียงอเมริกา (วีโอเอ) ระบุเกาหลีเหนือเตรียมยิงขีปนาวุธในระยะไม่กี่วันนี้ ซึ่งสหรัฐก็เตรียมพร้อมรับมือ หลังจากที่เกาหลีเหนือประกาศพร้อมโจมตีสหรัฐด้วยอาวุธนิวเคลียร์ได้ทันทีที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเป็นเพียงคำขู่ เพราะเกาหลีเหนือยังไม่มีศักยภาพพอที่จะเปิดฉากโจมตีสหรัฐ
Read more…– ( 56 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน

การสัมมนา เรื่อง สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน (Inclusive Society by Universal Design : New Challenge in AEC) วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น เน้นที่การคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเสริมการออกแบบที่เป็นสากล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ ผลิตภัณฑ์ การบริการสาธารณะ และข้อมูลข่าวสารสำหรับทุกคน วิทยากรประกอบด้วยกลุ่มตัวแทนจากผู้ใช้ กลุ่มผู้ให้บริการ และนักวิจัย จากการเสวนาในครั้งนี้ หวังว่าจะช่วยให้ทราบถึงสถานภาพของความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน และโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะพัฒนาเทคโนโลโยีเพื่่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับทุกคนให้มีชีวิตอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีโดยที่ไม่เป็นภาระ เทคโนโลยีจะไม่เป็นสิ่งกีดขวางผู้ใด เทคโนโลยีจะสร้างสังคมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข

การจะก่อให้เกิดสังคมอยู่ดีนั้น ต้อง

  1. มีความเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ ต้องส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค และหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ
  2. คำนึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์
    Read more…

– ( 466 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

ครบ 40 ปี การประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของโลก

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา  4 เม.ย.2013 – เมื่อวันที่ 3 เมษายนปี 2516 หรือเมื่อ 40 ปีก่อนเป็นวันที่มีการประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือขึ้นเป็นเครื่องแรกของโลก

มาร์ติน คูเปอร์ ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 84 ปี เป็นผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของโลกซึ่งมีขนาดยาว 10 นิ้ว และมีน้ำหนัก 1.13 กิโลกรัม แต่ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือได้ย่อส่วนลงเหลือ น้ำหนักเพียงไม่กี่กรัม โทรศัพท์มือถือรุ่นแรก ๆ มีราคาแพงมากถึงราว 120,000 บาท และต้องใช้เวลาชาร์จไฟนานถึง 10 ชั่วโมง

คูเปอร์ บอกว่า แนวคิดเกี่ยวกับโทรศัพท์เปลี่ยนแปลงไป หลังจากที่มีการประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือเพราะเดิมทีเราโทรศัพท์โดยมีจุดหมายปลายทางไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แต่ตอนนี้ เราสามารถโทรศัพท์หาบุคคลนั้นได้โดยตรง องค์การสหประชาชาติคาดว่า มีผู้จดทะเบียนโทรศัพท์มือถืออยู่ทั่วโลก 6,000 ล้านราย

ชมภาพข่าวได้ที่เว็บไซต์สำนักข่าวไทย อสมท. – http://www.mcot.net/site/content?id=515cf270150ba01f44000319#.UV4idFdhsa8– ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร

จากการบรรยายเรื่อง ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้น โดยวัตถุประสงค์ของการบรรยายในหัวข้อนี้ เพื่อมุ่งเน้นเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมประชากรยุง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังสามารถนำความรูัที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

การบรรยายแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นเรื่อง “บทบาทของวิทยาศาสตร์ต่อการลดโรคนำโดยยุง” (โดย น.พ. วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)  ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “การใช้สารเคมีควบคุมยุง” (โดย รศ. ดร. นฤมล โกมลมิศร์ จากภาควิชากีฏวิทยาทางการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล) และช่วงที่สาม เป็นเรื่อง “แบคทีเรียปราบลูกน้ำยุง ความเป็นมาและแนวทางการพัฒนา” (โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ ศ. ดร. วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร. บุญเฮียง พรมดอนกอย จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ)
Read more…– ( 498 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กลยุทธ์ การคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรม (Creative Innovation Thinking)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ร่วมกับ ชมรมผู้เช่าอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  ได้จัด  TSP Talk เรื่อง “กลยุทธ์ การคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรม : Creative Innovation Thinking” โดย อาจารย์ ดร. ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์ ดร. ภูมิพร ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม หรือ Innovation เป็นสูตรจำง่ายๆ ว่า Idea + Know how = Innovation

ดังนั้น เวลาที่จะทำอะไร ต้องเห็นภาพรวม เห็น output สุดท้าย แล้วถึงวางแผนว่าจะต้องเตรียมอะไร ทำอะไรบ้าง ใส่อะไรเข้าไปจึงจะบรรลุภาพรวมหรือ output สุดท้ายนั้นๆ

จะเห็นได้ว่า บริษัทที่สามารถดำเนินกิจการอยู่ได้นั้น มีการทำวิจัยและพัฒนาหรือ R & D อยู่ จึงต้องมี value creation คิดถึงผู้ใช้ ผลิตอะไรออกมาให้โดนใจผู้ใช้ ต้องสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นก่อนแล้วมูลค่าจะตามมา ส่วนที่ผลิตออกมาให้โดนใจผู้ใช้ ก็จะมีนวัตกรรมเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย
Read more…– ( 2320 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การตกลงกันในพืชจีเอ็ม

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 4 เมษายน  2556
ข่าวหมวดธุรกิจ – เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2013 บริษัทยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีชีวภาพ 2 บริษัท คือ DuPont (Wilmington, Delaware)  และ Monsanto (St.Louis, Missouri)  ได้ร่วมกันตัดสินใจตกลงเรื่อง ถั่วเหลืองจีเอ็มพันธ์ใหม่ ที่มีข้อพิพาทในสิทธิสิทธิบัตรมายาวนาน โดยที่บริษัทดูปองต์จะจ่ายเงินให้แก่บริษัทมอนซานโต อย่างน้อย  US$ 1.75 billion ในทศวรรษหน้า สำหรับการได้สิทธิ์ ถั่วเหลืองสายพันธ์  herbicide tolerant line 2 ชนิด
รวมถึง มอนซานโต  จะได้สิทธิ์เข้าถึงสิทธิบัตรบางฉบับของดูปองต์ ในเรื่อง การทนทานเชื้อโรคและการร่วงของใบในข้าวโพด

อ้างอิง : GM crop deal .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 496 (7443), 10 – 11.
http://www.nature.com/news/seven-days-29-march-4-april-2013-1.12704– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเสียชีวิต จากไข้หวัดนก

ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์  ฉบับวันที่ 4 เมษายน  2556
ข่าวหมวดเหตุการณ์ -   มีการรายงานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2013 ที่ประเทศจีน มีผู้ชายเสียชีวิต 2 คน จากการติดเชื้อไข้หวัดนกที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับมนุษย์มาก่อน ผู้เสียชีวิตมีอายุ 27 ปี และ 87 ปี จากกรุงเซี่ยงไฮ้  ที่ได้รับเชื้อไวรัส H7N9 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์  และเสียชีวตภายใน 8 วัน
และยังมีผู้ป่วยหนัก ผู้หญิง อายุ 35 ปี จากจังหวัด Anhui

อ้างอิง : Bird flu deaths .  (2013). Seven days : The News in  brief. Nature., 496 (7443), 10 – 11.
http://www.nature.com/news/seven-days-29-march-4-april-2013-1.1270– ( 60 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments