magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการทำไร่อ้อย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อย (http://cropthai.ku.ac.th) โดยมีข้อมูลเชื้อพันธุกรรมอ้อยซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์สนใจมาก และพันธุ์อ้อยการค้าซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในส่วนเชื้อพันธุกรรมอ้อยเก็บรวบรวมลักษณะทางการเกษตรและทางพฤกษศาสตร์ เช่น ลักษณะลำต้น หูใบ แผ่นใบ สี กลุ่มขน ในส่วนพันธุ์อ้อยการค้า มีรูปภาพประกอบ ลักษณะทางการเกษตรมีอธิบายไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ความหวาน ขนาด การแตกก่อ ลักษณะกลุ่มขน ยังมีข้อมูลสภาพดินที่เหมาะสมกับแต่ละพันธุ์ และในฐานข้อมูลยังรวบรวมพันธุประวัติอ้อย ความสัมพันธ์ของพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อนักปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังมีระบบฐานข้อมูลการผสมพันธุ์ การเพาะเมล็ด และการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น เชื้อพันธุ์อ้อยแต่ละพันธุ์ออกดอกเมื่อไหร่ อ้อยแต่ละพันธุ์มีเพศดอกอะไร เคยผสมพันธุ์อ้อยคู่ใดเมื่อไหร่ อ้อยพันธุ์ใดผสมติดเมล็ดได้ดีหรือผสมไม่ติด อ้อยพันธุ์ใดผสมตัวเองไม่ติดบ้างหรือเป็นหมัน อ้อยพันธุ์ไหนให้ลูกผสมที่ดีเด่นบ้าง

บริษัท มิตรผล พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ได้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยไปยังประเทศลาว เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่ประสบปัญหาเหมือนไร่อ้อยในประเทศไทยคือ ไม่สามารถควบคุมโรคใบขาวในอ้อยได้ จนกระทั่งได้รับความรู้เรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงอ้อยปลอดโรคและคำแนะนำให้จัดตั้งหน่วยผลิตอ้อยปลอดโรคที่ลาวจาก ดร.เฉลิมพล เกิดมณี จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผลก็คือเมื่อนำอ้อยปลอดโรคจากหน่วยไปปลูกในไร่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโรคใบขาวได้เป็นผลสำเร็จ

เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง ผลงานวิจัยด้านอ้อยสู่การใช้ประโยชน์ ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 วันที่ 3 เมษายน 2556 เวลา 9.00 – 15.45 น. ณ ห้องประชุม CC-405 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย– ( 188 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง มีผู้ประกอบการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องสำอาง เวชสำอางที่สกัดจากสมุนไพรและที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ  เวชสำอางใช้แตกต่างจากเครื่องสำอาง คือ เวชสำอางใช้แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ (Functional cosmetics) สารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาอยู่บ้าง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีเลขทะเบียน อย.  กำกับ

กฎระเบียบทางเครื่องสำอางตามแนวทางภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน ที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2546 ในการกำหนด 12 หลักใหญ่ ข้อตกลงเรื่องเครื่องสำอางของอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะมีการแข่งขันกันมากขึ้นในเรื่องของคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย  การเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการเปิดตลาด AEC ต้องมีการศึกษากฎหมายของแต่ละประเทศที่เราจะส่งออกผลิตภัณฑ์ ซึ่งพบว่าผลิตภัณฑ์ประเภทสารกันแดดมักจะมีปัญหามากว่าเครื่องสำอางทั่วไป การพัฒนาผลิตภัณฑ์  ต้องพิจารณา 4 เรื่อง คือ  Product ideation, Product claims, Formulation และ Formula conclusion และต้องมีประวัติข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Product information file : PIF) ใน 4 ข้อ คือ ภาพรวมและข้อสรุปของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลแสดงคุณภาพของวัตถุดิบ ข้อมูลแสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิภาพ/สรรพคุณ

กลยุทธ์การตลาดของเครื่องสำอางและสารสกัดสมุนไพรเพื่อรับมือการเข้าสู่ AEC ตลาดเรื่องเครื่องสำอางในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น หากไทยคิดจะส่งออกน่าจะส่งไปที่กลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งขณะนี้เกาหลีได้พัฒนาทานาคา แป้งของพม่าโดยใช้นาโนแล้ว และกลับมาจำหน่ายที่ประเทศไทย

การทดสอบฤทธิ์สารสกัดสมุนไพรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากนาโนเทคโนโลยี สมุนไพร ประเทศไทยมีสภาวะเหมาะสมในการปลูกสมุนไพร เป็นแหล่งผลิตสมุนไพรชั้นเยี่ยม ประโยชน์ในการใช้สมุนไพร คือ รักษาโรค บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผม เป็นการเจริญเติบโตของตลาดและเครื่องสำอางและสมุนไพรไทย

เหตุผลที่ต้องทดสอบฤทธิ์สารสกัดสมุนไพร เพื่อต้องการข้อมูลในการพัฒนา คัดเลือก สมุนไพร ข้อมูลในการติดตามคุณภาพสมุนไพร และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในทางการค้า ตัวอย่างการทดสอบฤทธิ์สมุนไพรทางเวชสำอาง มี 2 ประเภท คือ Anti-aging และ Whitening และงานวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยี ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมโดยใช้น้ำมันรำข้าว บัวบก และอัญชัน

การซึมผ่านผิวหนังและการประเมินฤทธิ์ทางคลินิคของสารสกัดธรรมชาติในระบบนำส่งนาโน อุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติ (Natural cosmetic) คือ Skin barrier และ Active instability โดย 8 ขั้นตอนหลักในการประเมินฤทธิ์ทางคลินิคของสารสกัดธรรมชาติ คือ Literature review, Study design, Ethic protocol submission, Volunteer selection, Placebo run-in, Panel study, Data analysis และ Report

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยใช้นาโนเทคโนโลยี ขณะนี้แนวโน้มนาโนเทคโนโลยีกำลังได้รับความนิยม มีผลิตภัณฑ์มากมายที่อวดอ้างประสิทธิภาพของนาโน รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง แต่อีกไม่นาน Stem cell กำลังมา อย่างไรก็ตามเมื่อถึงจุดอิ่มตัว มนุษย์จะกลับไปที่ธรรมชาติ (Natural) เหมือนเดิม เพราะอาจมีบางคนหวาดกลัว กังวลกับเทคโนโลยีดังกล่าว ว่าจะมีความปลอดภัยหรือไม่– ( 1874 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ตลาดเปิดทาง ‘อีโค ดีไซน์’

อาคารประหยัดเพิ่มต้นทุน 5%แต่เพิ่มมูลค่าได้ 10-20%
หากกล่าวถึง “อีโค ดีไซน์” จากเศษวัสดุ วันนี้ไม่มีใครนึกถึงบุคคลอื่น นอกจาก สถาปนิก และอาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นอกจากมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นขวัญใจคออีโควัยเด็กแล้ว ยังเป็นมีลูกศิษย์ลูกหาวัย สว. เป็นลุงป้าจากวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ที่เดินทางไกลมาร่ำเรียนการออกแบบจากเศษวัสดุ ที่ Scrap Lab ที่เปิดสอนบุคคลทั่วไปที่คณะ Read more…– ( 131 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำบางคำมักนำไปใช้โดยไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง เช่นเดียวกับคำว่า นวัตกรรม ส่วนใหญ่ใช้เรียกสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดเป็นนวัตกรรม ที่ถูกต้องนวัตกรรมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่แต่มีการสร้างรายได้นำไปสู่การตลาด ดังนั้นนวัตกรรมต้องประกอบด้วย 1.มีความใหม่ ซึ่งอาจทำขึ้นใหม่ทั้งหมดหรือมีการพัฒนาจากของเก่า 2.มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3.สร้างผลสำเร็จเชิงพาณิชย์ และ 4.ต้องมีกระบวนการใชัความรู้และความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้นวัตกรรมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการคือ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการได้เปรียบ ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัททั่วโลกจึงมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องโดยอาจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านั้นประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและก้าวสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น ระดับในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ระดับค่อยเป็นค่อยไป เช่น เปลี่ยนชิ้นส่วนในโทรศัพท์ 2.ระดับเฉียบพลัน เช่น ผลิต CD ออกมาใช้แทนแผ่นเสียง 3.ระดับสิ้นเชิง เช่น สร้างเครื่องจักรไอน้ำใช้แทนแรงงงานคนและสัตว์ เหตุที่หลายบริษัทสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมาได้เนื่องจากมีศักยภาพหรือขีดความสามารถและมีการวางแผนจัดการที่ดี โดยแนวโน้มของการสร้างสรรค์นวัตกรรมคือ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพและลดขนาดของผลิตภัณฑ์

ในระยะแรกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยต่างๆ มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ มากมาย เพื่อให้ผู้สนใจนำไปวิจัยต่อยอดและนำไปสู่การทำธุรกิจ ต่อมาเริ่มมีการร่วมลงทุนทำวิจัยกับภาคเอกชน มีภาคเอกชนมาตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยในมหาวิทยาลัยและสวทช. ส่งผลให้เกิดการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมที่จะก้าวสู่เวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือแม้กระทั่งเวทีระดับโลก

เรียบเรียงจากการบรรยายเรื่อง บทบาทของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อการยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ AEC ในการประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 วันที่ 2 เมษายน 2556 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ห้องประชุม CC-405 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

LEXiTRON Dictionary

  •     พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย-อังกฤษ โดย
  •     หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา
  •     ของเนคเทค เป็นคลังข้อความพจนานุกรม
  •     ที่มีขนาดใหญ่ สามารถค้นคว้าและเรียนรู้ภาษาไทยควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ คลิกเลย

รายการอ้างอิง :
LEXiTRON Dictionary. เดลินิวส์ (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 54 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จุลินทรีย์ลดอ้วน

ความอ้วน เป็นปัญหาระดับโลกทั้งของหญิงและชาย แต่ผู้หญิงมักมีปัญหามากกว่าผู้ชาย เมื่อเธอมองกระจกเมื่อไหร่ จะเห็นตัวเองอ้วนกว่าความเป็นจริงอยู่เสมอ ไม่ว่าเธอจะอยู่ในน้ำหนักที่พอดีแล้วหรือน้ำหนักที่เกินมาตรฐานเมื่อเปรียบ เทียบกับส่วนสูง พวกเธอจึงสรรหาสารพัดวิธีที่จะทำให้ดูสวยสมส่วนในสายตาของพวกเธอเอง

ดังนั้น การค้นหาวิธีลดน้ำหนักและทำให้มีน้ำหนักที่พึงพอใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าไม่ต้องออกกำลังกายด้วยแล้วละก็ไม่ว่ายุคใดสมัยใด ศาสตร์แห่งการลดน้ำหนัก และการค้นคว้าเกี่ยวกับการลดน้ำหนักนั้นเป็นที่สนใจต่อผู้คนอยู่เสมอและเป็น ธุรกิจหลายพันล้าน Read more…– ( 91 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อถนอมรสชาติและเสริมสุขภาพ

เพื่อสร้างความตระหนักและเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตอาหารรับรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวกับการเลือกใช้และพัฒนาวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
เช่น สารปรับสมบัติรีโอโลยีสำหรับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว-กรณีศึกษาโดยใช้ซอสพริก

การพัฒนาแป้งชุบทอดเพื่อลดปริมาณไขมันในอาหารทอดกรอบ การพัฒนาสารทดแทนไขมันและสารผสมไฮโดรคอลลอยด์ที่ทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารให้มีอายุยาวนานโดยยังมีเนื้อสัมผัสไม่เปลียนไป เป็นเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นสาขาการผลิตที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญ คือ การผลิตอาหาร การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อถนอมรสชาติและเสริมสุขภาพ และสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอาหารไทยสามารถยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เน้นคุณภาพ รสชาติ เนื่อสัมผัส และการใส่ใจต่อสุขภาพ

http://nstda.or.th/nac2013/1-seminar.php

รายการอ้างอิง :
เทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อถนอมรสชาติและเสริมสุขภาพ. NAC2013 (ห้องประชุม M-120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย). วันที่ 1 เมษายน 2556.– ( 116 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสำหรับชุมชนเกษตรไทยใน AEC

“รถบรรทุกเอนกประสงค์” งานวิจัยเพื่อเกษตรชุมชน

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สินค้าเกษตรของไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น ขณะที่เกษตรกรไทยยังขาดเครื่องมือและความรู้ในการจัดการอีกมาก เครื่องมือสำคัญที่คู่กับเกษตรกรมาช้านานคือ รถอีแต๋น ซึ่งเกษตรกรนิยมใช้ในปัจจุบันเป็นพาหนะที่ได้จากการนำชิ้นส่วนโครงฐานรถเก่าและอะไหล่เก่ามาดัดแปลงและประกอบ จึงไม่ปลอดภัยในการใช้งานและจดทะเบียนรถยนต์ไม่ได้ รวมทั้งเกิดปัญหาขณะใช้งานบ่อย ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งของเกษตรกรเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัวและเป็นการลดทอนความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมมือกับ บริษัทสามมิตรมอเตอร์แมนูแฟคเจอริง จำกัด  (มหาชน) ดำเนินการพัฒนารถยนต์อเนกประสงค์สำหรับเกษตรกรชุมชน โดยใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานตามหลักวิศวกรรมของโครงฐานรถสำคัญ 5 ชิ้นส่วน ได้แก่ แชชซี ดุมล้อและระบบเบรก ระบบบังคับเลี้ยว ระบบกำลังส่ง และระบบส่งกำลังสะทือน มาประกอบเป็นรถอเนกประสงค์ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาชิ้นส่วนโครงฐานที่ไม่ได้มาตรฐาน และเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงอาจนำไปจดทะเบียนรถได้ เนื่องจากมีการออกแบบและคำนวณตามหลักวิศวกรรมที่ถูกต้อง

http://nstda.or.th/nac2013/1-seminar.php

รายการอ้างอิง :
การพัฒนางานวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสำหรับชุมชนเกษตรไทยใน AEC. NAC2013 (ห้องประชุม CC-306 อาคารศูนย์ประชุมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย). วันที่ 1 เมษายน 2556.

 – ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Machine Translation)

Published on April 4, 2013 by in ASEAN, IT Tech

ระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน หรือ ASEAN Machine Translation เป็นโครงการที่หลายประเทศในอาเซียนหวังว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำลายกำแพงด้านภาษาในกลุ่มของสมาชิกอาเซียนให้เข้าใจและสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น ภายใต้เครือข่ายวิจัยนานาชาติยู-สตาร์ U-STAR ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมพัฒนาแอพพลิเคชั่นล่ามอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “Voice Tra 4 U” ซึ่งรองรับได้ถึง 23 ภาษาและแปลงเสียงพูดได้ถึง 17 ภาษา ดาวน์โหลดฟรีได้ที่แอพสโตร์ Read more…– ( 202 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Overview of Information Literacy Resources Worldwide

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) หรือ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)  ในฐานะองค์กรที่มีบทบาทในการสร้างความตระหนักในการเรียนรู้ การรู้สารสนเทศ (Information Literacy – IL) ได้จัดทำหรือรวบรวมสารสนเทศสำคัญทาง IL ขึ้นจากแหล่งสารสนเทศ IL ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก  ภายใต้ชื่อว่า “Overview of Information Literacy Resources Worldwide” ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการศึกษา การวิจัย และเป็นการสร้างความตระหนักให้เกิดกับคนทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายพื้นฐานและเชื้อชาติ ท่านที่สนใจติดตามอ่านได้ที่
http://www.unesco.org/new/fileadmin/MULTIMEDIA/HQ/CI/CI/pdf/news/overview_info_lit_resources.pdf

– ( 48 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments