magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

“เนคเทค”เปิดแอพวัดความรู้สึกคนไทยบนโซเชียลมีเดีย

เนคเทคโชว์ระบบ “เอส-เซ้นส์”แอพวัดความรู้สึกคนไทยบนโซเซียลมีเดีย พร้อมให้เอกชนต่อยอดใช้วิจัยตลาด

วันนี้(3 เม.ย.) ที่โรงแรมอโนมา กรุงเทพ ฯ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จัดงานเปิดตัวเอส-เซ้นส์ (S-Sense)โปรแกรมติดตามวิเคราะห์และประมวลผลข้อความบนเว็บไซต์เครือข่าย สังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย   โดย ดร.จุฬารัตน์  ตันประเสริฐ  ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ เนคเทค เปิดเผยว่า ปัจจุบัน โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทั้งเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ รวมถึงเว็บบอร์ดต่าง ๆได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น  ขณะเดียวกันการสำรวจความพึงพอใจในแบรนด์สินค้าแบบทันท่วงทีก็ถือเป็นสิ่งที่ จำเป็นในการทำธุรกิจ   เนคเทคโดยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเสียง จึงได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับรวบรวม ติดตาม วิเคราะห์และประมวลผลข้อความจากโซเชียลมีเดียและเว็บบอร์ดที่เป็นภาษาไทย ขึ้น เรียกว่าระบบ เอส-เซ้นส์ (S-Sense)  ซึ่งพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการ ประยุกต์ใช้งานเพื่อติดตามสำรวจ ความคิดเห็นในสังคมต่อแบรนด์ต่าง ๆ

Read more…– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พันธุ์ข้าวช่วยชาติ

การที่ประเทศไทยปลูกข้าวให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ค่อนข้างต่ำคือตกไร่ละ 460-480 กก.ขณะที่จีนได้ผลผลิตไร่ละ 1,054 กก.เวียดนามเฉลี่ยไร่ละ 875กก. และอินโดนีเซียไร่ละ 774 กก.นั้น เพราะเราคำนวณภาพรวมพื้นที่ทำนาทั่วประเทศมีทั้งสิ้นจำนวน 69.82 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 57.42 ล้านไร่ นาปรัง 12.40 ล้านไร่ แต่เกษตรกรที่ยังยึดอาชีพการทำนาจริงใจปัจจุบันในพื้นที่เพียง 34 ล้านไร่ เป็นการทำนาปีราว 22 ล้านไร่และนาปรังราว 12 ล้านไร่

ในจำนวนนี้เราไปเหมารวมกับพื้นที่ภาคอีสานที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่มีผลผลิตไม่ ถึงไร่ละ 400 กก. และรวมกับพื้นที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในการทำนาอีกกว่า 6 ล้าน จึงทำให้ภาพรวมในการผลิตข้าวของไทยต่อพื้นที่ค่อนข้างต่ำ แต่ถ้าเราเน้นเฉพาะพื้นที่เหมาะต่อการทำนา โดยเฉพาะในพื้นที่เขตชลประทานจะได้ผลผลิตค่อนข้างสูง บางพื้นที่ให้ผลผลิต 800-900 กก. ครับ Read more…– ( 806 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

สร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม

วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ร่วมกับ อุทยานวิทยา ศาสตร์ประเทศไทย จัดงานทีเอสพี ทอล์ก (TSP Talk) ครั้งที่ 3 หัวข้อกลยุทธ์การคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม (Creative Innovation Thinking) ในวันที่ 4 เม.ย. 56 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ผู้สนใจสำรองที่นั่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ goo.gl/bQiMW สอบถามรายละเอียดที่ฝ่ายการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมคลัสเตอร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โทร. 0-2564-7200 ต่อ 5371

รายการอ้างอิง :
สร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรม. เดลินิวส์. ฉบับวันที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เตือนภัยรถตู้โดยสารดัดแปลงผิดกม.

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคชี้ พฤติกรรมคนขับ-สภาพรถ คือ 2 สาเหตุสำคัญทำให้อุบัติเหตุรถตู้โดยสารสาธารณะเกิดบ่อย จี้กรมขนส่งฯ เอาผิดรถตู้ดัดแปลงผิดกฎหมาย พร้อมเข้มงวดตรวจจับความเร็วเกินกำหนด เตรียมวิจัยหาทางออกเหตุการณ์ซ้ำซากเพื่อนำเสนอรัฐบาล

จากกรณีรถตู้โดยสารสาธารณะสายกรุงเทพฯ-สระแก้ว-เขาสอยดาว ที่กำลังมุ่งหน้าไป อ.เขาสอยดาว จ.จันทบุรี ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารมาเต็มคันรถและขับมาด้วยความเร็วสูง ได้เกิดอุบัติเหตุพุ่งเข้าชนท้ายรถบรรทุกสิบล้อขณะกำลังแซง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 4 ศพ และบาดเจ็บอีก 4 ราย เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา อีกทั้งในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมานี้ได้มีอุบัติเหตุในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก เช่น กรณีรถตู้โดยสารร่วม บ.ข.ส. สายกรุงเทพฯระยอง ประสบอุบัติเหตุชนป้ายจราจรบริเวณสนามพีระอินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.ชลบุรี จนเกิดไฟลุกท่วมทั้งคัน ทำให้มีผู้โดยสารถูกไฟคลอกเสียชีวิตรวม 7 ศพ เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา หรือกรณีรถตู้โดยสารชนกับรถกระบะ บริเวณถนนสาย 334 บ้านบึง-แกลง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ และบาดเจ็บ 8 ราย เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากรถตู้โดยสารสาธารณะ

Read more…– ( 138 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ (Biorefinery)

เป็นหัวข้อการบรรยายในวันที่ 3 เมษายน 2556  ของ ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ  ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี
สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้
Biorefinery คือเทคโนโลยีที่ใช้ความรู้สหวิทยาการทำการปรับเปลี่ยน กลั่น วัสดุทางธรรมชาติ (พืช ของเสียจากโรงงาน) ให้เป็นพลังงาน สารเคมี  ไบโอพลาสติก อาหารสัตว์ โดยใช้ความรู้หลากหลายสาขาผสมผสานกัน  ทั้งเทคโนโลยีชีวภาพ เคมี นาโนเทคโนโลยี เอ็นไซน์  คาตาลิสต์
เป็นขนวบการสะอาด ช่วยลดมลภาวะ ถือเป็นการย้ายฐานจากการกลั่นปิโตรเลียม มาเป็นวัสดุทางธรรมชาติแทน   ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากด้วยมีพื้นฐานด้านการเกษตรที่เข้มแข็ง มีวัตถุดิบมากมาย เช่นกากน้ำตาลจากโรงงานผลิตน้ำตาล ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง
หน่วยงานวิจัย สวทช. 2 ศูนย์ คือ ไบโอเทค  และนาโนเทค มีการทำวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในไทยและต่างประเทศ ในเทคโนโลยี  Biorefinery เช่น ศูนย์ไบโอเทค ศึกษาค้นคว้าหาจุลิทรีย์ที่เหมาะสมในการย่อยสลายวัตถุดิบชีวมวล ประเภทต่างๆ (fungi, bacteria, yeast, algae) โดยในปลายปีนี้ มีแผนตั้งห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ Integrative Biorefinery  รวมถึง กำลังค้นคว้าวิจัยในเรื่อง renewable chemicals คือการผลิตสารเคมีจากเทคโนโลยีนี้ ศูนย์นาโนเทค มีการวิจัยในการใช้เปลือกไข่ ให้เป็น catalyst รวมถึง นำผักตบชวา มาย่อยสลาย ผลิตดินที่อุดมสมบูรณ์ (smart soil)  ถือว่าได้ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ

Read more…– ( 606 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พัฒนาศักยภาพธุรกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรองรับ AEC และเวทีโลก

เป็นหัวข้อการบรรยายในวันที่ 2 เมษายน 2556  ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ   ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย   จังหวัดปทุมธานี    สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้

หัวข้อเรื่อง – เทคโนโลยี CAE กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยรองรับ AEC สู่การแข่งขันในเวทีโลก

CAE – Computer Aided Engineering คือเทคโนโลยีที่รวมความสามารถทางวิศวกรรมผนวกเข้ากับความสามารถคอมพิวเตอร์รวมกัน ทำภาพจำลอง เสมือน แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (simulation) ตัวอย่าง การจำลองสถานการณ์รถยนต์ชนกระแทกโดยมีหุ่นมนุษย์อยู่ภายในรถ สามารถวิเคราะห์หาแรงกระแทกเพื่อติดตั้งถุงลมนิรภัยในรถให้เพียงพอ และ ปลอดภัย ช่วยภาคอุตสาหกรรม ประหยัดเวลา ลดต้นทุน ในการออกแบบ ทดสอบ ผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ได้ บทบาทของ CAE ต่อภาคอุตสาหกรรม – โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรม 1 โรง มีกิจกรรมหลักๆ  คือ การออกแบบ  การทดสอบ และ การผลิต ซึ่ง CAE มีส่วนช่วยในทุกกิจกรรม
ระดับการพัฒนาอุตสาหกรรม มีระดับขีดความสามารถ 3 ระดับคือ
1. OEM – Process Improvement Developemt – อุตสาหกรรมไทย ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับนี้ เป็นการผลิต ผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดเท่านั้น ถือว่าไม่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
2. ODM – Product Design Improvement – เป็นระดับที่สูงขึ้นมา ที่มีความสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ด้วยตนเอง มีมูลค่าเพื่มขึ้นกว่าระดับที่ 1
3. OBM – Functional Improvement – เป็นระดับสูงสุดของอุตสาหกรรม

Read more…– ( 129 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โอกาสหรืออุปสรรคของอุตสาหกรรมไบโอดีเซลไทยในประชาคมอาเซียน

เป็นหัวข้อการเสวนา ในวันที่ 1 เมษายน 2556  ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ  ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology)  ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย   จังหวัดปทุมธานี     สรุปเนื้อหาการเสวนา 4 หัวข้อ ได้ดังนี้

หัวข้อเรื่อง – กระบวนการผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูง H-FAME
เหตุผลหลัก ในการผลิตไบโอดีเซล คือ Energy security, CO2 reduction, National policy และ Growth Agricultural/Forestry Industries องค์กร JST และ JICA ของประเทศญี่ปุ่น ให้การสนับสนุนโครงการ วิจัยพัฒนา การผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูง จากเมล็ดสบู่ดำ (Jatropha  fruit) ด้วยขนวบการทางเคมีที่สำคัญคือ FAME Oxidation ให้เป็น H-Fame (hydrogenated)  ซึ่งขนวบการนี้มีข้อดี คือ ไม่ต้องใช้แรงดันสูง  ไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูง ช่วยเพิ่มค่า Cetane number  ส่วนข้อเสียคือ มีค่าต้นทุนการผลิตสูง
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.) – วว.มีการตั้งโรงงานต้นแบบผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูง โดยร่วมมือองค์กรพันธมิตรได้แก่  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร (มจพ.) สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Advanced Industrial Science and Technology  หรือ AIST) และมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University)  โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้จัดหาและสนับสนุนการจัดสร้างโรงงานต้นแบบระบบผลิตไบโอดีเซลต่อเนื่องคุณภาพสูง และอุปกรณ์ เครื่องมือ ในห้องปฏิบัติการจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency : JICA)    โดยใช้พืชกลุ่มที่ไม่ใช้บริโภค  เช่นสบู่ดำ ใช้กระบวนการทางเคมี ในปฏิกิริยา Tranesterification ต่อมานำเข้าสู่ขนวบการ FAME  Hydrogenation ใช้มาตรฐานขององค์กร WWFC (World Wide Fuel Charter)  ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดี ต่อไปมีแผนพัฒนาพืชน้ำมันอื่นๆ
Read more…– ( 140 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน

หัวข้อบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการ สวทช. NAC 2013 ก็คือ การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (The ASEAN Machine Translation Project) อันเป็นหนึ่งโครงการของคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee on Science and Technology- COST) โดยมีทีมนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นผู้นำทีมการพัฒนา อันมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกระบวนการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ระหว่างชาติอาเซียน

โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบแปลภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย ก็คงจะทำให้ทุกคนในอาเซียนสามารถสื่อสารได้สะดวกยิ่งขึ้น– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมุมมองแต่ละภาคส่วน

หัวข้อสัมมนาในงานประชุมวิชาการ สวทช. NAC 2013 ที่ได้รับความสนใจมากหัวข้อหนึ่งก็คือ “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมุมมองแต่ละภาคส่วน” อันเป็นหัวข้อเสวนาที่ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการ BOI และ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.

ประเด็นสำคัญที่ได้มีการพูดถึงในฐานะผู้แทนของภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย มีหลากหลายประเด็น ดังเช่นคุณกานต์ ได้ให้แนวคิดเดียวกับการพัฒนาธุรกิจว่าจะต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่กระบวนการวิจัย พัฒนา โดย SCG ได้ทุ่มงบประมาณจำนวนมากเพื่อการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เรียกว่า HVA Brand (High Value Added Brand) หรือสินค้าและบริการที่เป็นนวัตกรรมก้าวหน้าที่เกิดจากกระบวนการสร้างระบบ Creative Management อย่างครบวงจรการบริหารจัดการ พร้อมๆ กับการส่งเสริมเรื่อง Creative Idea กับบุคลากรในองค์กร จนก่อให้เกิดกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมก้าวหน้า และมีบทบาทสำคัญที่ทำให้วันนี้ผลิตภัณฑ์หลายประเภทของเครือซิเมนต์ไทย ขึ้นมาอยู่แถวหน้าไม่ใช่เฉพาะในไทย และภูมิภาค แต่เป็นในระดับโลก ทั้งยังสามารถสร้างยอดขายจากสินค้ากลุ่ม HVA เป็นกอบเป็นกำ จากสัดส่วนของสินค้ากลุ่มนี้ที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด

สำหรับภาคเกษตร คุณพรศิลป์ ได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์โดยภาครัฐ และหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในรูปของห่วงโซ่คุณภาพ (Value Chain) ตลอดทั้งสายการผลิต ไม่ใช่การนำ ว และ ท มาใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งของสายการผลิต อันจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและไม่ยั่งยืน และสินค้าที่ได้อาจจะไม่ได้คุณภาพ ดังเช่น กรณีที่ USDA ได้กักกันสินค้าทางการเกษตรของไทย ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ เป็นการกีดกันสินค้าในนามประเทศไทย ไม่ใช่ในนามผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง ดังนั้นการนำ ว และ ท มาประยุกต์ จึงมีความสำคัญและจำเป็นมากทั้งสายการผลิต

คุณพยุงศักดิ์ ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ SMEs เป็นหลัก โดยมุ่งเน้นการทำยุทธศาสตร์ 6 ด้านเพื่อช่วยผลักดันในอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ AEC อันได้แก่

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างคุณค่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างครบวงจร และสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการดำเนินธุรกิจแบบคลัสเตอร์ และ Supply Chain Management
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 มาตรการเชิงรุกสำหรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเกี่ยวกับเนื้อหาในครั้งนี้ โดยมีการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องออกมาหลายมาตรการในลักษณะความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น การร่วมมือกับ สวทช. ในการพัฒนาผู้ประกอบการ มาตรการการลดภาษี เป็นต้น

คุณสาธิต ในฐานะ BOI ได้เน้นไปที่กองทุนร่วมทุน (Venture Capital : VC) ของรัฐและเอกชน และมาตรการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อภาคอุตสาหกรรม อันประกอบด้วย

  • มาตรการจูงใจ สนับสนุนการลงทุนใช้จ่ายใน R&D ของอุตสาหกรรม
  • มาตรการสร้างความเข้มแข็งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการวิจัยของภาคอุตสาหกรรม
  • มาตรการส่งเสริมการพัฒนาและเชื่อมโยงการวิจัยส่เชิงพาณิชย์
  • มาตรการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงจากผลงานวิจัย
  • มาตรการการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของผลงานวิจัย

ปิดท้ายด้วยผู้อำนวยการ สวทช. ที่ได้สะท้อนให้เห็นมุมมองของ “งบประมาณ” ด้าน ว และ ท ที่จะสนับสนุนจากภาครัฐอันส่งผลต่อผลผลิต ตลอดทั้งแนวทางการทำงานของ สวทช. ที่มีต่อผู้ประกอบการ โดย สวทช. ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างมาตรการต่างๆ อันจะทำให้งานวิจัยพัฒนาก้าวไปสู่การประยุกต์ใช้ได้จริง แทนการขึ้นหิ้ง การให้บริการสนับสนุนภาคเอกชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ในระหว่างการเสวนา ก็มีการสอบถามผู้บรรยายในประเด็นน่าสนใจ เช่น ความคืบหน้าของ VC มาตรการด้านภาษี รวมทั้งแนวทางการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) นับเป็นช่วงการเสวนาที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ท่านที่สนใจรายละเอียดของแต่ท่านวิทยากร สามารถศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมได้จากสไลด์ ดังนี้

 

 – ( 251 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โดมศิลาทองแห่งเยรูซาเล็ม


โดมศิลาทองแห่งเยรูซาเล็ม เป็นศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม ตั้งอยู่กลางใจ เมืองบนเทมเปิลเมาด์แห่งกรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล นับเป็นศาสนสถานของศาสนาอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 1232 (ค.ศ.689) ริเริ่มการก่อสร้างโดย อูเมย์ยาดกาลิป อับด์ อัล-มาลิก อิบน์ มาร์วาน และควบคุมการก่อสร้างโดยสองวิศวกร ยาชิด อิบน์ ชาลาม จากเยรูซาเล็ม และ ราชา อิบน์ เฮย์วาห์ จากเบย์ชาน จนแล้วเสร็จลงใน พ.ศ.1234 (ค.ศ.691) โดยหวังเป็นที่พำนักของชาวมุสลิม และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้จาริกแสวงบุญ โครงสร้างพื้นฐานมีลักษณะเป็นแปดเหลี่ยม ประกอบด้วยโดมไม้สีทองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร กำแพงด้านนอกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ และกระจกอย่างงดงาม

แหล่งที่มา : น้องโนเนะ. “สิ่งสร้างมหัศจรรย์ : โดมศิลาทองแห่งเยรูซาเล็ม”. Update. 28 (305) ; 105 ; มีนาคม 2556– ( 220 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments