magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)

การสัมมนา เรื่อง ความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น

โรคอาหารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ก่อโรคและอันตรายทางเคมี เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขสำาคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของประชาชน และเป็นอุปสรรคสำาหรับการค้าอาหารระหว่างประเทศที่ทำาให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระบบความปลอดภัยของอาหารที่มีประสิทธิภาพจึงจัดว่าเป็นเรื่องที่สำาคัญและเป็นประเด็นท้าทายสำาหรับทั้งผู้ผลิต
และหน่วยงานรัฐที่ดูแลความปลอดภัยอาหาร

ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งของการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนของประชาคมอาเซียน และเป็นการเร่งให้เกิดโอกาสขนาดใหญ่ต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็นอย่างยิ่งโดยสินค้าอาหารของอาเซียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลกอาเซียนจึงเน้นความสำาคัญเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยของอาหารรวมถึงการจัดทำาระบบการรับรองสินค้าอาหารและเกษตรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างระบบและกระบวนการในการควบคุมคุณภาพของอาหารและมีความปลอดภัยมากขึ้นในภูมิภาคอาเซียน

วิทยากรประกอบด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยอาหาร (Food Safety)

Read more…– ( 564 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จากปาล์มน้ำมัน สู่ น้ำมันปาล์ม : วิกฤตหรือโอกาส ในการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (Session I) Oil Palm to Palm Oil: Crisis or Opportunity in AEC (Session I)

ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังประสบปัญหาวิกฤติพลังงาน ซึ่งในแต่ละปีมีความจำเป็นในการนำเข้าเป็นมูลค่ามหาศาล รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงาน จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็นแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ในการหาพลังงานทดแทนสำหรับวัตถุดิบที่จะมาทำเป็นพลังงานทดแทนซึ่งมีหลายชนิดโดยเฉพาะการนำผลผลิตจากพืชที่ใช้ในการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบ

ปาล์มน้ำมัน เป็นหนึ่งในพืชที่มีศักยภาพและอยู่ในความสนใจของผู้ปลูกและผู้ประกอบการกิจการอุตสาหกรรมน้ำมันเนื่องจากเป็นพืชน้ำมันที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตน้ำมันปาล์มเป็นลำดับที่ 3 ของโลกรองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในปี 2555 มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 5-7 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ภาครัฐได้มีการดำเนินยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันในช่วงปี 2551-2555 เพื่อเร่งผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และเพิ่มผลผลิต เพื่อรองรับกับยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) ซึ่งมีเป้าหมายในการทดแทนน้ำมันดีเซลฟอสซิลให้ได้ 5.97 ล้านลิตร/วัน ภายในปี 2564 Read more…– ( 659 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความพร้อมของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แนวโน้มทั่วโลกในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้หลายประเทศหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างหนึ่งคือการหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ ประเทศไทยไม่แค่เพียงต้องการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพแต่ต้องการเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในอาเซียนและในโลก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบคือ มันสำปะหลัง อ้อย อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยขาดเทคโนโลยีและตลาด ในอาเซียนประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ของผู้นำทางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพเหมือนกับสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่การลงทุนจากต่างประเทศไทยยังมีน้อยกว่าสิงคโปร์ ส่วนเมื่อมองระดับโลกยุโรปและอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ในขณะที่ในเอเชียเกาหลี ญี่ปุ่น มีนโยบาย เทคโนโลยี แต่ไม่มีวัตถุดิบ
Read more…– ( 134 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมิตรที่ดีที่สุดในโลกของประชาชนชาวจีน

เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ทรงรักใคร่และผูกพันกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นอย่างมาก โดยเสด็จฯเยือนแดนมังกรมาแล้วถึง 34 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2524 และเสด็จฯเยือนครบหมดแล้วในทุกมณฑลของผืนแผ่นดินจีน  อีกทั้งยังทรงศึกษาภาษาจีน ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมจีน อย่างลึกซึ้งถึงแก่น จนได้รับพระสมัญญานามจากแดนมังกรให้ทรงเป็น “ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน” จากการที่ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนมาอย่างแน่นแฟ้นต่อเนื่องยาวนาน ขณะที่ประชาชนชาวจีนมากกว่า 2 ล้านคน ลงคะแนนโหวตเทิดทูนและยกย่องพระองค์ให้ทรงเป็นหนึ่งใน “มิตรที่ดีที่สุดในโลก” ของประชาชนชาวจีน
Read more…– ( 109 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โรเบิร์ต วิลเฮล์ม อีเบอร์ฮาร์ด บุนเสน (Robert wilhelm eberhard bunsen)

โรเบิร์ต วิลเฮล์ม อีเบอร์ฮาร์ด บุนเสน เป็นนักเคมี ชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ.1811 ที่ฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี  ส่วนชีวิตของโรเบิร์ต บุนเซน นั้น เขาเติบโตมาในครอบครัวของศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์สมัยใหม่ และหัวหน้าบรรณารักษ์แห่งมหาวิทยาลัยเกิตทิงเกน เขาได้รับการศึกษาเล่าเรียนเหมือนเด็กปกติ โดยสนใจด้านเคมีเป็นพิเศษ และเริ่มมุ่งเน้นศึกษาต่อทางด้านเคมีจนจบปริญญาเอก ขณะที่อายุได้เพียง 22 ปีเท่านั้น และหลังจากที่เขาเรียนจบแล้ว ก็ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเดิตทิงเกน สถาบันเดียวกันกับพ่อและแม่ ก่อนที่จะได้รับเกียรติให้ไปสอนในมหาวิทยาลัยมาร์เบิร์ก ซึ่งตลอดเวลาที่เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยนั้น เขาก็ค้นคว้าทางด้านเคมีอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรักทางด้านเคมี ทำให้เขาทดลองสารต่าง ๆ จนเกือบจะเสียชีวิตเพราะพิษสารหนูมาแล้ว และยิ่งไปกว่านั้น ตาขวาเขายังมองไม่เห็นหลังจากเกิดการระเบิดของคาโคดิลอีกด้วย
Read more…– ( 467 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยชี้อีก50ปี อุณหภูมิโลกพุ่ง4-6องศา

นักวิทยาศาสตร์เผยผลการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง คาดอุณหภูมิโลกพุ่งสูงอีก4-6องศาอีก50ปีข้างหน้า

ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ภายใต้โครงการ แม่โขง เออาร์ซีซี (Mekong ARCC – Mekong Adaptation and Resilience to Climate Change) จากเงินทุนสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ สำนักงานภาคพื้นเอเชีย (USAID│Asia) พบว่าการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้น จะกระทบต่อความเหมาะสมในการปลูกพืชอุตสาหกรรมและพืชอาหารในลาว กัมพูชา ไทย และ เวียดนาม ในขณะเดียวกับภาคการประมงเสี่ยงทำให้ปลาบางชนะสูญพันธ์จากแม่น้ำโขง
Read more…– ( 123 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชู Smart Grid รับมือยานยนต์ไฮบริด-ไฟฟ้า

นักเทคโนโลยีฟันธง 20 ปีข้างหน้า ไทยจะมีศักยภาพรับมือการเติบโตของยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้า คาด 1 ล้านคัน ความต้องการใช้ไฟเพิ่มแค่ 2%

ขณะที่ความเห็นในเชิงผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐฯยังเห็นต่างกับภาคเอกชน ชี้ทุกฝ่ายต้องมองภาพเดียวกัน โดยเริ่มจากการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้ารวมทั้งแบตเตอรี่และชิ้นส่วนอื่นๆ ภายในประเทศให้ได้ และต้องเดินหน้ามาตรการหนุนรถยนต์ไฮบริดและไฟฟ้าให้อยู่ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี อย่างจริงจัง แม้อีก 20 ปีข้างหน้า มีรถยนต์ไฟฟ้า 1 ล้านคัน ต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพียง 2% ของแผนการผลิตไฟฟ้าในปี 2030 แนะเดินหน้า Smart Grid รองรับไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น คาดไร้ปัญหา ในช่วง peak load
Read more…– ( 159 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความพร้อมของทรัพยากรจุลินทรีย์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย ยีสต์ รา นอกจากก่อโรคมีประโยชน์มากมายต่อการแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เช่น ผลิตสารหรือเอนไซม์ที่เป็นยา ราก่อโรคในแมลงใช้เป็นวิธีทางชีวภาพ (biocontrol) ในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีความหลากหลายของชนิดของจุลินทรีย์สูงโดยมีประมาณมากกว่าหนึ่งแสนชนิด มีความพร้อมสูงในการมีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์

Read more…– ( 166 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

AEC to help lift R&D to 1% of GDP

The National Science and Technology Development Agency (NSTDA) has projected research and development budgets of the public and private sectors will account for 1% of gross domestic product over the next five years, up from 0.2%last year.

President Thaweesak Koanantakool said the forecast is based on growing inquiries from private companies  both large and small  for NSTDA to help them improve products and services through R&D. Read more…– ( 150 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ก.วิทย์ใช้ “จีวาฟ”ช่วยพยากรณ์อากาศแม่นยำถึง90%

นายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สภาพอากาศมีความแปรปรวน ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงและเกิดถี่มากขึ้น การวางแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) จึงได้ติดตั้งระบบแบบจำลองอากาศหรือ “วาฟ” (WRF: Weather Research and Forecasting Model) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดสำหรับการพยากรณ์และคาดการณ์อากาศในยุค ปัจจุบัน โดยที่ผ่านมาในหลายประเทศที่มีปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ได้เริ่มใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวแล้ว Read more…

– ( 50 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments