magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ดาวเคราะห์น้อย “ดีเอ 14” เดินทางเฉียดโลก 15 ก.พ.

ดาวเคราะห์น้อย “ดีเอ 14″ เดินทางเข้าใกล้โลกที่สุดวันที่ 15 ก.พ. นี้ ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน การมาเยือนของดาวเคราะห์น้อยจะไม่ส่งอิทธิพลใดๆต่อโลกแน่นอน

วันนี้ ( 8 ก.พ. ) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า กลุ่มนักดาราศาสตร์อเมริกันยืนยันเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ว่าจะเดินทางเข้าใกล้โลกที่สุดในสัปดาห์หน้า ซึ่งถือเป็นการโคจรผ่านโลกครั้งแรกของดาวเคราะห์ขนาดน้อยขนาดใหญ่ที่สุดด้วย พร้อมกับยืนยันว่าโลกจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

รายงานล่าสุดขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ( นาซา ) เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี ระบุว่า ดาวเคราะห์น้อย “ดีเอ 14” ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 45 เมตร (150 ฟุต)  ที่ได้รับการค้นพบเมื่อเดือนก.พ. ปีที่แล้ว จะโคจรเข้าใกล้วงโคจรโลกของเราที่สุดในวันที่ 15 ก.พ. นี้ เวลาประมาณ 19.24 น. ตามมาตรฐานสากล ( 02.24 น. วันที่ 16 ก.พ. ตามเวลาในประเทศไทย ) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 นาที ก่อนเคลื่อนตัวผ่านมหาสมุทรอินเดีย ตามแนวชายฝั่งเกาะสุมาตราต่อไป Read more…

– ( 55 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 (NAC2013)

ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Towards AEC with Science and Technology (NAC2013)
NAC201331 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี    แผนที่

เปิดรับลงทะเบียนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556

พบกับการประชุมวิชาการ นิทรรศการ และเปิดบ้าน สวทช. เจาะประเด็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างโอกาสและความพร้อมของไทย สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)

สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. 02 564 8000  หรือ อีเมล : nac2013@nstda.or.th

เว็บไซต์ : http://www.nstda.or.th/nac2013– ( 5440 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

กาวเชื่อมกระดูก

สำนักข่าวไทย  อสมท. นำเสนอข่าวสารคดีโลก
5 ก.พ 2556 .- เทคโนโลยีใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์สวีเดนพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้เชื่อมกระดูกที่แตกหักแทนวิธีเดิมซึ่งใช้แผ่นโลหะและตะปูยึด

สิ่งที่เห็นนี้เป็นวัสดุที่นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีในกรุงสตอกโฮล์มใช้เวลาถึง 14 ปี ในการพัฒนาเพื่อนำมาใช้เชื่อมกระดูกที่แตกหักให้กับผู้ป่วยแทนการใช้แผ่นโลหะและตะปู ยึดชิ้นส่วนของกระดูกที่แตกหัก ที่เคยใช้กันมาหลายสิบปี ซึ่งวัสดุที่เป็นโลหะเหล่านี้จะต้องติดอยู่ในร่างกายผู้ป่วยไปตลอดชีวิต และผู้ป่วยหลายรายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มักหกล้ม และกระดูกแตกหักง่าย ก็มีปัญหากับการวางยาสลบก่อนผ่าตัด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากาวที่พัฒนาขึ้นจะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ได้

ชมรายละเอียดภาพวิดีโอได้ที่ เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.

http://www.mcot.net/site/content?id=5110add0150ba0ba6e0000d2#.URG1Emdhsa8– ( 87 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

จีนฮือฮาสตูดิโอถ่ายภาพ 3 มิติ

สำนักข่าวไทย  อสมท. นำเสนอข่าวต่างประเทศ ในช่วง คุยโขมงข่าวเช้า

สตูดิโอถ่ายภาพ 3 มิติ แห่งแรกในกรุงปักกิ่งของจีน ที่ให้บริการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยี 3 มิติ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างยิ่ง
โดยลูกค้าสามารถเลือกว่าจะอัดภาพออกมาให้เป็น 3 มิติแบบเต็มตัวหรือครึ่งตัวก็ได้ ช่างภาพจะใช้กล้องชนิดพิเศษภ่ายภาพของลูกค้าในทุกมุมทั้งด้านหน้าด้านหลังและด้านข้าง   เพื่อเก็บภาพให้ได้ครบทุกมุมมอง จากนั้นจะนำภาพทั้งหมดมาตัดต่อเข้าด้วยกันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายออกมาในลักษณะ 3 มิติที่มีทั้งความสูงความกว้างและความลึก  เหมือนกับคนจริงๆ ใช้เวลา 3-5 ชั่วโมงก็เสร็จเรียบร้อย จากนั้นส่งรูปเข้าไปยังปรินเตอร์สี ที่สามารถปรินต์ภาพออกมาเป็นชั้นต่างๆ ซึ่งช่างภาพจะนำมาติดกาวชนิดพิเศษประกอบเข้าด้วยกัน   จนได้ภาพ 3 มิติ นับเป็นการถ่ายภาพและอัดภาพแนวใหม่สำหรับชาวจีนในกรุงปักกิ่ง

ชมรายละเอียดภาพวิดีโอได้ที่ เว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท.

http://www.mcot.net/site/content?id=51103917150ba01d6b000096#.URCWqmdhsa8– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

องค์การอาหารและยา (FDA) สหรัฐอเมริกา อนุมัติให้ใช้หุ่นยนต์ใน รพ.

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม เสนอบทความเรื่องนี้ว่า   บริษัท iRobot เมื่อกลางปี2012 มาบริษัท iRobot ได้ต่อยอดเทคโนโลยี AVA นี้โดยร่วมมือกับบริษัท InTouch Health ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาระบบแพทย์ทางไกล ให้เป็นหุ่นยนต์แพทย์ทางไกลตัวใหม่ที่ชื่อว่า RP-VITA (Remote Presence Virtual + Independent Telemedicine Assistant)

หุ่นยนต์ RP-VITA นี้ถูกผลิตมาเพื่อให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยทางไกลได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องยุ่งยากกับเทคโนโลยี โดย RP-VIRA นี้มีระบบจดจำแผนที่   ระบบนำทาง ระบบตรวจจับและหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปยังเป้าหมายได้เอง สามารถควบคุมผ่าน iPad ให้เคลื่อนที่ไปยังเป้าหมาย กำหนดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย  หรือการติดต่อกับเครื่องมือแพทย์เพื่อดูบันทึกทางการแพทย์ เช่น มีพอร์ทที่เชื่อมต่อข้อมูลไปยังหูฟังการเต้นของหัวใจ (digital stethoscopes), เครืองอัลตร้าซาวน์ (ultrasounds) และ  ชุดตรวจหู (otoscopes) เป็นต้น
ขณะนี้  FDA, USA อนุญาตให้นำหุ่นยนต์นี้  ใช้ในโรงพยาบาลได้

อ่านรายละเอียด ได้ที่ เว็บไซต์ วิชาการดอทคอม

อ้างอิง -  เว็บไซต์วิชาการดอทคอม  http://www.vcharkarn.com/vnews/154820– ( 68 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ยงยุทธในฐานะหัวหน้าคณะในการพัฒนายาต้านมาลาเรียตัวแรกของไทย

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ได้มีการเผยแพร่บทสัมภาษณ์ของอาจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ในฐานะหัวหน้าคณะในการพัฒนายาต้านมาลาเรียตัวแรกของไทย ในเว็บไซต์ของนิตยสาร BioSpectrum โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อคือ การผลักดันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย การต่อสู้กับโรคมาลาเรีย และการอุทิศเพื่องานวิจัย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 – ( 40 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สวทช.”ประลองไอเดียค้นหา”เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี 2013″

“สามารถ” และ สวทช. ผสานความร่วมมือ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี 2013″ อีกครั้ง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศต่อเนื่อง  โดยประกาศเพิ่มทุน “Start up Funds” หนุนโอกาสการเป็นเจ้าของธุรกิจ

นายเจริญรัฐ  วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โครงการ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี 2012″ เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง “กลุ่มบริษัทสามารถ” และ “ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ” ภายใต้ “สวทช.” โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการสานต่อความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมของนักคิดนักพัฒนารุ่นใหม่ สร้างประโยชน์และคุณค่าต่อประเทศชาติและสังคม โดยมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้นกว่า 120 ผลงาน ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการอย่างเข้มข้นถึง 3 รอบ โดยผลงานที่คว้า “สุดยอดนักคิด นักพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ” ของโครงการ หรือรางวัล Samart Innovation Award 2012 พร้อมรับเงินสนับสนุน 200,000 บาท จากกลุ่มบริษัทสามารถ ได้แก่  ผลงาน “วัสดุฉลาดเพื่อใช้งานทางการแพทย์” ซึ่งเป็นการทำลวดจัดฟันและอุปกรณ์ยึดจับกระดูกชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง และราคาถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมาก และยังมีรางวัลรองชนะเลิศ 3 รางวัล และชมเชยอีก 3 รางวัล Read more…– ( 97 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โครงการเมืองอัจฉริยะ

สัปดาห์ก่อนผมโชคดีไม่ต้องฟังเรื่องสกปรกของการเมืองไทย เนื่องจากได้รับเชิญจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ไปเยี่ยมชม โครงการเมืองอัจฉริยะ ที่ประเทศญี่ปุ่น โครงการเมืองอัจฉริยะ อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองโตโยต้า ใกล้เมืองนาโกย่า เขตจังหวัดไอจิ ซึ่งอยู่ตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น

เมื่อ พ.ศ. 2552 หรือ ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่น ได้วางวิสัยทัศน์ให้ เมืองโตโยต้าเป็น เมืองสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งทุ่มงบประมาณมหาศาลในการจัดการพื้นที่-สาธารณูปโภค นอกเหนือจากภาครัฐแล้วยังมี บริษัทเอกชน ไม่ต่ำกว่า 10 ราย ยื่นมือสนับสนุนงบประมาณที่ใช้ในการวิจัย โครงการพลังงานสีเขียว ทั้งหลาย. หนึ่งในโครงการที่น่าสนใจ คือ บ้านอัจฉริยะ ที่เป็นโครงการต้นแบบจำนวน 67 หลัง (อยู่อาศัยจริง 66 หลัง ส่วนอีก 1 หลังใช้สำหรับเป็นบ้านตัวอย่างให้นักวิจัยและคนทั่วโลกได้มาศึกษาดูงาน) Read more…– ( 141 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ชูระบบพยากรณ์อากาศ’จีวาฟ’แม่นยำสุด90%

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ สสนก.ได้ติดตั้งระบบ แบบจำลองอากาศ หรือ วาฟ (WRF) บน กริด คอมพิวเตอร์ เรียกว่า จีวาฟ (gWARF) โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าว จะเป็นซอฟต์แวร์ดีที่สุดสำหรับการพยากรณ์ และคาดการณ์อากาศ ในยุคปัจจุบัน โดยที่ผ่านมาหลายประเทศ ที่มีปัญหาเรื่องลมฟ้าอากาศแปรปรวน เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ใช้มาแล้ว ทำให้ระบบพยากรณ์อากาศที่มีอยู่เดิม มีความแม่นยำมากขึ้นอีกร้อยละ 10 จากที่มีอยู่เดิม โดยเวลานี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกต่างหันมาใช้จีวาฟสำหรับการพยากรณ์อากาศหมดแล้ว Read more…– ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ผพว. แสดงความยินดีกับนักวิจัย สวทช. ที่ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติในงาน “วันนักประดิษฐ์” 2556

ข้อความจาก ผพว.

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “วันนักประดิษฐ์” ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. เป็น เจ้าภาพจัดขึ้นที่อิมแพค เมืองทองธานี งาน “วันนักประดิษฐ์” จัดขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผู้ทรงประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย” หรือที่เราได้ยินและรู้จักกันดีว่า “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ขึ้น และทรงได้รับทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 จึงถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหา กษัตริย์พระองค์แรกของไทยและครั้งแรกของโลก นับเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ที่สิ่งประดิษฐ์เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงที่เกิดจากแนวคิดในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยพระอัจฉริยะ ภาพของพระองค์ท่าน ได้มีการนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

ใน งานนี้มีการมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติให้กับนักวิจัยไทยที่สร้างสรรค์ผลงาน ดีเด่นและพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติในสาขาวิชาต่างๆ และเป็นที่น่ายินดีที่นักวิจัย สวทช. เราได้รับรางวัลในครั้งนี้จำนวน 7 รางวัลด้วยกันดังนี้ Read more…– ( 125 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments