magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ไทยเจ้าภาพศึกษาพันธุกรรมแพ้ยาในกลุ่มอาเซียน

ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพศึกษาพันธุกรรมแพ้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่มอาเซียน เพื่อการรักษาเฉพาะบุคคลในอนาคต

จากการประชุมนานาชาติด้านเภสัชพันธุศาสตร์ครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพ โดยความร่วมมือของ 5 หน่วยงานหลักคือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ หรือ TCELS กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยจีโนมริเก้น ประเทศญี่ปุ่น โดยในปีนี้ มีการหยิบยก การวิจัยเภสัชพันธุศาสตร์และพันธุกรรมระดับจีโนมทางการแพทย์เพื่อการรักษาเฉพาะบุคคล มาเป็นประเด็นหลักในการประชุม
Read more…– ( 158 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีรู้ทันภัยพิบัติ

จีพีเอสตรวจจับการ เคลื่อนตัวแผ่นเปลือกโลก เป็นผลงานหนึ่งของศ.ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ ที่จะช่วยให้อนาคตกรุงเทพฯจะมีทางออกเรื่องปัญหาน้ำท่วม

ความสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกตั้งแต่สมัยเรียนดอกเตอร์ ทำให้ เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ มีข้อมูลพร้อมใช้อ้างอิงการวางแผนจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จนติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2555 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
Read more…– ( 194 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เตือนอย่าตื่นซื้อทีวีดิจิตอลเม.ย.นี้ติดสติกเกอร์แจ้ง

สัปดาห์ที่แล้วที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติเห็นชอบให้แจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิตอล หรือกล่องรับสัญญาณ(เซต ท็อป บอกซ์) ให้กับผู้บริโภคคนไทยจำนวน 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ Read more…– ( 559 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

โบกมือลาอาการไอเรื้อรัง

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่หลายๆ คนยึดเป็นวันเริ่มต้นเมื่อปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ด้วยการเปลี่ยนแปลงดูแลตัวเองในทางที่ดีขึ้น แต่สุดท้ายแล้วมักพบว่ามีส่วนน้อยทำได้ตลอดรอดฝั่ง หากพิจารณาดีๆ จะพบว่ามีปัญหาบางอย่างที่ดูเหมือนจะเล็กน้อย เช่นอาการไอที่เป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อพิชิตจุดหมายที่วางไว้
Read more…– ( 125 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เกร็ดเล็กๆ น่ารู้ การเดินทางท่องอวกาศมีผลดีต่อสุขภาพอย่างไร

บทความจาก วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลล์ สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยี่ยม

ผลการวิจัยของคณะนักวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเดินทางไปในอวกาศสามารถช่วยยืดอายุของหนอนตัวกลม  การทดลองดำเนินการโดยทีมนักวิจัยจากแคนาดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ผลการทดลองพบว่าโปรตีนที่เป็นพิษสะสมในกล้ามเนื้อที่แก่วัยของหนอนตัวกลม
Caenorhabditis elegans หรือ C. elegans ที่ส่งไปในอวกาศลดลงเพราะยีนถูกกดไว้

Read more…– ( 110 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

‘LINE’ เผยยอดผู้ใช้ทะลุ 100 ล้านรายทั่วโลก

นายอะกิระ โมริกาวา ประธานบริหารเอ็นเอชเอ็น เจแปน (NHN Japan) เปิดเผยถึงยอดผู้ใช้ LINE ซึ่งเป็นแพพลิเคชั่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่เน้นผู้ใช้บนสมาร์ทโฟน มียอดผู้ใช้ทะลุ 100 ล้านรายแล้ว ขยายไปหลายทวีปทั่วโลก โดยเฉพาะเมื่อ LINE ก้าวสู่ “สมาร์ทโฟน ไลฟ์ แพลตฟอร์ม” นับตั้งแต่การเปิดตัวในเดือนมิถุนายน 2554 ในฐานะแอพพลิเคชั่น ที่ให้บริการส่งข้อความ LINE ได้พัฒนาการบริการ เพิ่มฟังก์ชั่น โทรฟรีระหว่างผู้ใช้ และสติ๊กเกอร์ ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน

เฉพาะในประเทศไทย LINE ประสบความสำเร็จด้วยยอดผู้ใช้ถึง 10 ล้านราย และไต้หวัน จนกลายเป็นแอพฯแชททางมือถืออันดับหนึ่งในทั้งสองประเทศ นอกจากนั้น LINE ยังได้รับความนิยมที่แพร่หลายมากขึ้นในแถบยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะประเทศที่ใช้ภาษารัสเซียและสเปน
Read more…– ( 66 Views)

 
Tags:
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ไทย-มาเลย์แชร์ข้อมูลไบโอเทคโนโลยี

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ท่าน YB ดาโต๊ะฮายีเจ๊ะ อับดุลเลาะห์ เบนมะนาวี รัฐมนตรีว่าการเกษตรรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาการเกษตรของทั้งสองประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปีอีก 2 ปีข้างหน้า

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วท. กล่าวว่า ในอนาคตหากเปิดระบบเศรษฐกิจ AEC จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันในตลาดมากขึ้น เกษตรกรจะมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ในการเลือกซื้อปัจจัยการผลิตที่มีมาตรฐานคุณภาพและราคาที่ถูกกว่า
Read more…– ( 132 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิศวะจุฬาฯคว้านักวิจัยดีเด่นแห่งชาติใช้จีพีเอสศึกษาการทรุดตัวของกทม.

จุฬาฯ คว้านักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ฯ เน้นประยุกต์ใช้จีพีเอสศึกษาปัญหาแผ่นดินทรุด-น้ำทะเลหนุน กทม. ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ประกาศเกียรติคุณให้ศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2556 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย โดยมีผลงานเด่นด้านการสำรวจรังวัดด้วยระบบดาวเทียมจีพีเอส
Read more…– ( 85 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Libraries 2020 : ห้องสมุดในปี 2020

Pew Research Center’s Internet & American Life Project ได้สำรวจแนวโน้มและความน่าจะเป็นของห้องสมุดในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Digital Trend, Mobility Trend และความนิยมของการใช้ eBook

ที่มา : Pew Research Center’s Internet & American Life Project. (2012, June 6). Libraries 2020: Imagining the library of the (not too distant) f… Technology. ค้นข้อมูลวันที่ 18 มกราคม 2556 จาก http://www.slideshare.net/PewInternet/suny-libraries-talk

– ( 152 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องมือใหม่สำหรับการพิทักษ์ทางนิวเคลียร์

บทความจาก วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลล์ สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยี่ยม

เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2555 โรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงที่ใช้แล้ว ที่เซลล่าฟิลด์ ประเทศอังกฤษ ได้เริ่มเปิดเครื่องแมสสเปกโตรมิเตอรืเครื่องใหม่ เป็นห้องปฏิบัติการนอกสถานที่ ซึ่งบริหารจัดการโดยศูนย์วิจัยร่วมด้านธาตุหลังยูเรเนียม (JRC’s Institute for Transuranium Elements) เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับของการพิทักษ์ทางนิวเคลียร์ของคณะกรรมมาธิการยุโรปภายใต้สนธิสัญญายูราตอม
Read more…– ( 123 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments