magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

บริการสาระสังเขปและดัชนี

บริการสาระสังเขปและดัชนี (Abstracting and indexing service)

บริการสาระสังเขปและดัชนี เป็นบริการสารสนเทศประเภทหนึ่ง ที่ห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารสนเทศจัดให้มีขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ

สาระสังเขปและดัชนี หมายถึง การย่อเนื้อหาหรือสาระสำคัญของเอกสารในรูปแบบที่สั้นและมีความถูกต้อง ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ และได้เนื้อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสารฉบับนั้นว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ และมีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องไปอ่านเอกสารต้นฉบับนั้นอย่างละเอียดอีกครั้ง

Read more…– ( 1709 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บริการข่าวสารทันสมัย

บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service : CAS) 

บริการข่าวสารทันสมัย เป็นบริการสารสนเทศประเภทหนึ่ง ที่ห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารสนเทศจัดให้มีขึ้นเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงความรู้หรือสารสนเทศใหม่ ตามความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่ได้รับทรัพยากรสารสนเทศ หรือทราบว่ามีสารสนเทศนั้นผลิตและเผยแพร่ขึ้นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสนองความต้องการของผู้ใช้ให้สามารถติดตามสารสนเทศในเรื่องที่ตนสนใจได้ทันท่วงที ดังนั้นหน้าที่ของผู้ให้บริการจะต้องติดตามความต้องการและความสนใจของผู้ใช้ เพื่อหาแนวทางเสนอสารสนเทศใหม่ให้ผู้ใช้รับทราบและเลือกใช้ตามความต้องการ

Read more…– ( 346 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เพิ่มกล้องทั่วกรุง 395 แยกตำรวจแก้รถติด

จำนวนรถยนต์ที่มีกว่า 7.5 ล้านคัน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้การแก้ไขปัญหาดูจะเป็นเรื่องยากอยู่ไม่น้อย

ไม่ว่าหน่วยงานใดก็ตามที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา ก็ต้องกุมขมับกันเป็นทิวแถวโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตำรวจจราจรที่ต้องเข้ามา ดูแลเป็นหลัก แต่กระนั้นถึงแม้ปัญหาจะยากยิ่งก็ใช่ว่าตำรวจจะไม่แก้ให้บรรเทาลงได้เลย Read more…– ( 158 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Error messages (Computer science)

Error messages (Computer science) คือ ข้อความระบุความผิดพลาด ซึ่งเป็นข้อความที่จะปรากฏขึ้นบนจอแสดงภาพโดยอัตโนมัติ หรือที่พิมพ์ออกมาทางรายงาน เพื่อเตือนให้ผู้ใช้งานทราบว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น มีบางอย่างผิด จึงทำให้โปรแกรมไม่สามารถดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยเหตุผลบางประการ ซึ่งข้อความดังกล่าวจะเป็นลักษณะข้อความไม่ยาวมาก เพียงพอสำหรับระบุว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นที่ใด แต่ไม่ได้บอกว่าจะแก้ไขความผิดพลาดนั้นอย่างไร ดังนั้นประสบการณ์ในการทำงานจึงจำเป็นมากสำหรับค้นหาและแก้ไขความผิดพลาด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)– ( 84 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มหัศจรรย์คุณค่าจากผลไม้ไทย

มาบริโภคผลไม้กันเถอะ

ประเทศไทยมีผลไม้หลากหลาย ผลไม้ไม่เพียงแต่อร่อย และยังมีคุณค่าต่อสุขภาพ ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้จัดทำกรอบการงานวิจัย 2 แนวทางคือ

  1. วิเคราะห์สารที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น คาโรทินอยด์ เฟลโวนอยด์ แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผลไม้มีสี และสารพวก dietary fiber
  2. ศึกษาผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการป้องกันโรคในผู้สูงอายุเช่น โรคหลอดเลือกอุดตัรน ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยความจำ

ข้อมูลการวิจัยชี้ให้เห็นประโยชน์ของผลไม้ไทย ควรที่จะหันมาบริโภคผลไม้กันเถอะเพื่อสุขภาพที่ดี

ประโยชน์ของผลไม้ไทยทีมีต่อสุขภาพ

  • กล้วย…ช่วยเพิ่มไขมันดีในเลือด
  • ทุเรียน..ลดไขมันในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน (ไม่ควรรับประทานทุเรียนร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์)
  • ฝรั่ง..ลดเสี่ยงต่อหลอดเลือดอุดตัน Read more…

– ( 109 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 
formats

ชี้พายุสุริยะคืนนี้(26ม.ค.)ไม่โดนไทย

เมื่อวันที่ 26 ม.ค. ดร.อุเทน แสวงวิทย์  นักวิจัยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือสดร. กล่าวถึงกรณีที่องค์การนาซ่า  ได้เปิดเผยภาพประจุไฟฟ้าพลังงานสูงที่ปลดปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์เมื่อ เที่ยงคืนของวันที่ 23  มกราคมที่ผ่านมา(ตามเวลาในประเทศไทย)ว่า หากเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้โดยความเร็วในการเคลื่อนที่ไม่ลดลง  ประจุไฟฟ้าพลังงานสูง หรือที่เรียกกันว่าพายุสุริยะ จะเดินทางมาถึงโลก ภายใน 3 วัน  ซึ่งจะตรงกับเที่ยงคืนของวันนี้(26  มกราคม ) แต่ไม่น่าเป็นห่วง  เพราะครั้งนี้มีความแรงไม่มาก โดยขนาดและความแรงจะต่ำกว่าที่เคยเกิดครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นมา แล้วถึง  10   เท่า

“หากพายุสุริยะมีความใหญ่และแรง ขอย้ำว่าครั้งนี้ไม่ใช่  จะส่งผลต่อระบบไฟฟ้า หรือดาวเทียม  เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกไม่สามารถดักจับไว้ได้หมด  ส่วนกรณีที่ตรวจพบครั้งนี้  สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น คงกระทบแค่บริเวณ ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้เท่านั้น  อาจจะเกิดแสงเหนือ แสงใต้ และอาจมีผลต่อระบบจีพีเอสที่เป็นการใช้งานเทคโนโลยีดาวเทียมบ้างเล็กน้อย ส่วนประเทศไทยไม่ได้รับผลแน่นอนเพราะอยู่คนละซีกโลกพอดี”

ดร. อุเทน   กล่าวว่า  ปัจจุบันองค์กรนาซ่าได้มีเครื่องมือในการตรวจจับการเกิดพายุสุริยะตลอดเวลา  และมีรายงานผ่านเว็บไซต์ขององค์การนาซ่า  ซึ่งคาดว่าคาบการเกิดพายุที่รุนแรงกว่าปกติจะตรงกับช่วงปลายปี  2555 จนถึงต้นปี 2556  และจากการเก็บข้อมูลช่วงปลายปี  2555  ที่ผ่านมา  พบว่าเป็นช่วงขาขึ้น คาดว่าจะเกิดพายุสุริยะรุนแรงสูงสุดในคาบการเกิดครั้งนี้ ในช่วงต้นปีถึงกลางปีนี้ แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าจะไม่รุนแรงมากเท่าที่เคยเกิดขึ้นในอดีต.

รายการอ้างอิง :

ชี้พายุสุริยะคืนนี้(26ม.ค.)ไม่โดนไทย. เดลินิวส์ (ไอที). วันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2556.– ( 94 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

29 – 30 กุมภาพันธ์ – 1001

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมขอหยิบประเด็นเล็ก ๆ แต่ไม่เล็ก ซึ่งดูเหมือนผู้คนในสังคมจะตระหนักรับรู้ว่า มีเรื่องราวแสนประหลาดแบบนี้เกิดขึ้นในเมืองไทย

ผมนึกจะเขียนเรื่องนี้ก็เพราะว่า เมื่อสองวันก่อน คุณวีระพันธ์ โตมีบุญ ผู้ช่วยบก.ข่าวเว็บไซต์เดลินิวส์ โทรฯคุยกับผมถึงความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์ที่ระบบคอมพิวเตอร์จะยอมบันทึกวันที่ 30 กุมภาพันธ์ลงไปในฐานข้อมูลของตัวเอง ว่ามันเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง ผมเลยนึกขึ้นมาได้ว่า นอกจากวันที่ 30 กุมภาพันธ์แล้ว ยังมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่น่าสนใจไม่แพ้กันอีกด้วย
Read more…– ( 88 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เซรุ่มสัญชาติไทย

ความสนใจเรื่องวิทยาภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อของ จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล มาร่วม 10 ปีทำให้วันนี้เขามีองค์ความรู้ที่จะผลิตเซรุ่มจากเลือดอูฐได้สำเร็จ รวมถึงคว้ารางวัลระดับดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติมาครองอย่างชื่นใจ

:วิทยานิพนธ์ตอบโจทย์

6 ปีก่อนที่เกิดเหตุการณ์การระบาดของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงโบทูลิสมในจ.น่าน โดยมีสาเหตุจากการบริโภคหน่อไม้ดองปี๊บที่มีการปนเปื้อนสารพิษต่อระบบประสาทโบทูลินัม (Botulinum neurotoxin) ที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเติบโตได้ในสภาวะไร้ออกซิเจนในสกุล คลอสตริเดียมโบทูลินัม (Clostridium botulinum) ทำให้ จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล นักวิจัยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เลือกที่จะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับพิษวิทยาของแบคทีเรียดังกล่าวและพัฒนาเซรุ่มต้นแบบเพื่อรองรับการระบาดในอนาคต
Read more…– ( 164 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เทคโนโลยีน่าจับตาในปีนี้

Wireless Charging หรือเทคโนโลยีชาร์จแบตเตอรี่แบบไร้สาย

ปีเก่าไป ปีใหม่มา เทคโนโลยีเก่าไป เทคโนโลยีใหม่ๆก็มา เริ่มต้นปีใหม่ 2013 ปีนี้ด้วยการมาติดตามดูว่าเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวหน้าสุดๆ ในปีที่ผ่านมา และแน่นอนแนวโน้มเทคโนโลยีเหล่านี้ยังจะต้องก้าววหน้าต่อไปมีอะไรบ้าง

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้สำรวจเสาะแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดลำดับ และแนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะถูกกล่าวถึงในปีนี้ตามอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีลงอยู่ในหลากหลายเว็บไซต์และหลากหลายทัศนะมาเล่าให้ท่านฟัง ถ้าใครเป็นแฟนติดตามคอลัมน์นี้ก็จะรู้จักเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นอย่างดี
Read more…– ( 136 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เครื่องผลิตเส้นใยนาโน-ละมั่งหลอดแก้วคว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์แห่งปี

เมื่อวันนี้ (24ม.ค.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดประกาศผล รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี2556  โดยนางกาญจนา ปานข่อยงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า วช.ให้ความสำคัญและสนับสนุนการนำองค์ความรู้จากสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการวิจัย ประดิษฐ์คิดค้น และนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน เพื่อให้นักประดิษฐ์ไทยได้แสดงศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้นที่เป็นประโยชน์ แก่ประเทศ จึงได้จัดให้มีรางวัลนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2518  Read more…

– ( 173 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments