มาตามติด 100 เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ยอดฮิต สำหรับปี 2012
– ( 39 Views)
มาตามติด 100 เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ยอดฮิต สำหรับปี 2012
– ( 39 Views)
ขอแสดงความยินดีกับ ดร.วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PTL) หน่วยวิจัยอุปกรณ์และระบบอัจฉริยะ (IDSRU) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ที่ได้รับการเลื่อนไปเป็นสมาชิกอาวุโสของสมาคมวิศวกรรมการวัด, Photo-Optical Engineering (SPIE) ในปี พ.ศ.2555 สำหรับความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาด้าน MEMS, endoscopic imaging, and photonics
– ( 76 Views)
สนช. จับมือเนโด ญี่ปุ่น หนุนเอกชนไทยตั้งโรงงานต้นแบบผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลัง แห่งแรกในไทย
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. เปิดเผยว่า สนช.ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับองค์การพลังงานใหม่และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น หรือเนโด (NEDO) ในการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 276 ล้านบาท ให้แก่บริษัทเอี่ยมบูรพา เอทานอล จำกัด ภายใต้ “โครงการสาธิตการผลิตเอทานอลจากกากมันสำปะหลังในประเทศไทย” เพื่อสร้างโรงงานต้นแบบในการผลิตเอทานอลจากเศษวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรม อย่างกากมันสำปะหลังเป็นแห่งแรกในประเทศไทย Read more…– ( 144 Views)
“ผอ.ซิป้า” โอ่ปีหน้าเดินเครื่องเต็มสูบ ส่งเสริมซอฟต์แวร์ด้านท่องเที่ยว–ขนส่ง-สุขภาพ เดินหน้าจัดงาน “ซอฟต์แวร์ เอ็กซ์โป 2013” ดันผู้พัฒนาไทยแข่งขันต่างชาติ ลดใช้ซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ
นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า เปิดเผยว่า ปีหน้าจะผลักดันให้ซิป้าทำงานในเชิงรุกอย่างเต็มที่ หลังจากได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานบุคคลเสร็จเรียบร้อย โดยทางซิป้าได้รับงบประมาณในปี 2556 จากรัฐบาล จำนวน 307 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นงบลงทุนประมาณ 222 ล้านบาท ที่เหลือเป็นงบประมาณในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งจะให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกี่ยวกับด้านท่องเที่ยวโลจิ สติกส์ และสุขภาพ
– ( 56 Views)
กว่าปีที่ผ่านมาหนังสือและเอกสารต้นฉบับหายากกว่าแสนรายการที่ The University of Cambridge รับผิดชอบดูแล อยู่ระหว่างการถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้บริการที่ the Cambridge Digital Library ด้วยความตั้งใจของทีมงานกว่า 30 คน พร้อมด้วยกล้องและสแกนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อหาภายในหนังสือและเอกสารหายากเหล่านี้
Grant Young, Director of the Cambridge Digital Library project กล่าวว่าโครงการ Cambridge Digital Library นี้เปรียบเหมือนการเปิดห้องสมุดแบบเดิมๆ สู่โลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเปิดช่องทางเพื่อแบ่งปันทรัพย์สินที่มีค่าของมหาวิทยาลัยที่มักหลบซ่อนอยู่ให้กับคนทั่วโลก ซึ่งห้องสมุดของมหาวิทยาลัย Cambridge นี้ นับเป็นหนึ่งในห้องสมุดเพื่อการค้นคว้าและวิจัยที่ใหญ่ที่สุด มีคอลเลคชั่นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมายที่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและใช้งานจากผู้ใช้ห้องสมุด
Cambridge Digital Library ถูกเริ่มหลังจากได้รับเงินบริจาค ประมาณ 1.5 ล้านปอนด์จากมูลนิธิการกุศล Polonsky ปัจจุบันหนังสือและเอกสารหายากประมาณ 3,700 รายการ หรือ 35,000 หน้า ได้เปิดให้บริการในรูปแบบดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ตฟรี ตัวอย่างเอกสารหายาก เช่น Notebooks of Sir Isaac Newton ทั้งนี้จากการเปิดให้บริการเว็บไซต์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากกว่า 10 ล้านฮิต
ในปีหน้าทางโครงการมีแผนแปลงเอกสารหายากกว่า 1 แสนภาพ เพื่อให้บริการ นอกจากนี้ทางห้องสมุดอยู่ระหว่างหารือร่วมกับห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ที่มีคอลเลคชั่นที่เกี่ยวข้องกัน ถึงแนวทางในการเชื่อมโยงเนื้อหาที่อยู่ต่างสถานที่เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้
โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งของการที่น่าสนใจในการเปิดโอกาสการเข้าถึงเอกสารหายากที่มีค่าแก่ผู้สนใจอื่นๆ มิใช่เพียงในกลุ่มนักวิชาการในมหาวิทยาลัย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้าวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ที่สนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสงวนรักษาเอกสารหายากเหล่านี้ไว้ต่อไป
ที่มาข้อมูล:
Cambridge University Library. (2011). Cambridge Digital Library [Online]. Cambridge: Cambridge University Library. http://cudl.lib.cam.ac.uk [Accessed 20 December 2012].
Keller, David. (2012). Cambridge Digital Library looks to turn traditional library ‘inside out’ [Online]. London: BBC. http://www.bbc.co.uk/news/uk-england-cambridgeshire-20769045 [Accessed 20 December 2012].
– ( 137 Views)
สมัยนี้คนไทยให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสุขภาพมากขึ้น จึงใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากเป็นพิเศษ และคนส่วนใหญ่ก็รู้ดีอยู่แล้วว่าอาหารอะไรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และอาหารประเภทใดที่คนรักสุขภาพต้องหนีให้ห่างบ้าง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีอาหารอีกหลายประเภทที่คนถูกหลอก หรือไม่ทันได้ฉุกคิดว่ามันมีประโยชน์ต่อสุขภาพจริง ๆ หรือ?
คุณหมอแมว แพทย์คนดังจากแวดวงโซเชียลเน็ตเวิร์ก จึงขอเตือนคนรักสุขภาพทั้งหลายให้ระวังอาหาร 4 ประเภทต่อไปนี้ที่ดูๆ แล้วก็ไม่น่าจะเลวร้ายอะไร แต่ถ้ามองลงวิเคราะห์หรือพิจารณาให้ดี ก็จะเห็นโทษที่แฝงอยู่ไม่ใช่น้อยเพราะฉะนั้นหากเห็นแล้วอยากจะหยิบลงลงเข็นนำกลับมาบริโภคก็ควรจะชั่งใจให้ดีเสียก่อน
Read more…– ( 264 Views)
ภาพประกอบจาก http://variety.horoworld.com/
โลโก้ของ Google ในวันนี้ฉลองครบรอบ 200 ปีให้กับ “สองพี่น้องตระกูลกริมม์” ผู้ซึ่งสร้างประวัติศาสตร์ให้กับเทพนิยายสำหรับเด็ก ถ้าหากพูดกันถึงนิยายสมัยเด็กแล้วไม่พูดถึงเจ้าหญิงนิทรา ซินเดอเรลล่า สโนว์ไวท์ และหนูน้อยหมวกแดง…. เห็นทีจะไม่ได้ซะแล้ว
วันนี้เทพนิยายเหล่านี้ได้ผ่านกาลเวลาและมีอายุที่ยืนยาวมาถึง 200 ปีแล้ว โดยฝีมือผู้สร้างสรรเทพนิยายเหล่านี้ขึ้นมาคือ “พี่น้องตระกูลกริมม์” เราไปทำความรู้จักกับเจ้าของเทพนิยายเหล่านี้กันดีกว่า
เทพนิยายกริมม์ หมายถึงนิทานและเรื่องเล่าในท้องถิ่นที่ ยาคอบ ลุดวิก คาร์ล กริมม์ กับวิลเฮมล์ คาร์ล กริมม์ (หรือรู้จักในนาม “พี่น้องตระกูลกริมม์) เป็นผู้รวบรวมขึ้นเป็นเล่ม นอกจากนิทานจำนวน 200 เรื่องแล้ว ยังประกอบด้วยเรื่องเล่านักบุญ 10 เรื่องอีกด้วย
พี่น้องตระกูลกริมม์ (อังกฤษ: The Brothers Grimm; เยอรมัน: Die Gebrüder Grimm) หรือ ยาค็อบ กริมม์ (ค.ศ. 1785-1863) และวิลเฮล์ม กริมม์ (ค.ศ. 1786-1859) นักวิชาการชาวเยอรมันซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังจากผลงานการรวบรวมนิทานพื้น บ้านและเทพนิยาย รวมถึงผลงานเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา (กฎของกริมม์ หรือ Grimm’s Law) นับว่าเป็นนักเล่านิทานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคู่หนึ่งในยุโรป ซึ่งทำให้เทพนิยายมากมายแพร่หลายไปทั่วโลก เช่น รัมเพลสทิลสกิน, สโนไวท์, ราพันเซล, ซินเดอเรลล่า และ แฮนเซลกับเกรเธล
ติดตามเรื่องราวเทพนิยายกริมม์เพิ่มเติมได้ที่ 108 Health.com
ผลงานเทพนิยายกริมม์
Read more…– ( 1779 Views)
นายคริสโตเฟอร์ เมอร์เรย์ ผู้อำนวยการสถาบันการประเมินและชี้วัดด้านสาธารณสุข มหาวิทยาลัยวอชิงตันของสหรัฐฯ เผยผลวิจัยค่าเฉลี่ยอายุขัยและการเสียชีวิตของประชากรโลก เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555 โดยอ้างอิงผลงานของนักวิจัย 480 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและนำมาเผยแพร่ในปี 2553 และการประเมินผลข้อมูลทั้งหมดพบว่าประชาชนทั่วโลกมีอายุขัยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลสำรวจเมื่อปี 2533
นอกจากนี้ สถิติประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ที่เสียชีวิตเพราะเจ็บป่วยและขาดสารอาหารทั่วโลกมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 20 ปี เป็นผลจากการรณรงค์เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคร้ายแรงในเด็ก ขณะที่ประชากรในวัยชรามีอายุยืนขึ้นจากความสำเร็จในการคิดค้นตัวยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ปัจจัยทั้งหมดไม่อาจป้องกันความพิการหรืออาการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดขึ้นใหม่ได้ ขณะที่ภาวะเจ็บป่วยทางจิตทำให้ประชากรโลกฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา
ที่มา : ผลวิจัยชี้คนอายุยืนขึ้น แต่ขี้โรคมากขึ้นทั่วโลก. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์. ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม 2555.– ( 63 Views)