ภายในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2555 (TechnoMart InnoMart 2012) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบอุปกรณ์ติดตามสถานการณ์น้ำอัตโนมัติ (Media Box) ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 132 แห่ง ทั่วประเทศ
Read more…– ( 172 Views)
“มีเดีย บ๊อกซ์” เตือนภัยผ่านจอทีวี
แผนที่รวบรวมเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ปัจจุบันนี้เราได้รับฟังข่าวเรื่องการเกิด “แผ่นดินไหว” นั้นเกิดถี่ขึ้นกว่าปกติ แต่จริงๆ แล้วเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้ตั้งแต่ปี 1898 ได้เผยเหตุการณ์แผ่นดินไหวมากมายนานนับศตวรรษ โดยบันทึกตั้งแต่ขนาดที่ทำให้ชั้นหนังสือสั่นสะเทือนขึ้นไป และจากแผนที่แผ่นดินไหวนี้ในจุดใดมีสียิ่งสว่างนั่นแสดงให้เห็นว่าบริเวณนั้นความรุนแรงมากขึ้น
ภาพ “แผนที่แผ่นดินไหว” อาวเออร์อะเมซิงแพลเน็ต (OurAmazingPlanet) ระบุว่า ทำขึ้นโดย จอห์น เนลสัน (John Nelson) ผู้จัดการด้านการดูแลผู้ใช้งานและการทำแผนที่จากไอดีวีโซลูชันส์ (IDV Solutions) บริษัทด้านการแปลงข้อมูลเป็นภาพ โดยข้อมูลแผ่นดินไหวที่ถูกบันทึกลงแผนที่นี้เป็นข้อมูลแผ่นดินไหวขนาด 4.0 ริกเตอร์ขึ้นไป โดยนับตั้งแต่ปี 1898 ถึงปี 2003 และมีแผ่นดินไหวรวมทั้งสิ้น 203,186 ครั้งที่ถูกบันทึกลงแผนที่ และยิ่งขนาดแผ่นดินไหวรุนแรง สีที่บันทึกก็ยิ่งเป็นสีสว่างยิ่งขึ้น และเหตุการณ์แผ่นดินไหวในแผนที่ยังเผยให้เห็นรูปร่างของแผ่นเปลือกโลกด้วย
บริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลก (Subduction zone) นั้นมีค่อนข้างสว่างสดใส โดยบริเวณดังกล่าวมีแผ่นเปลือกโลกที่ซ้อนทับกัน และเปลือกโลกแผ่นหนึ่งมุดลงใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงบนโลก ทั้งนี้การบันทึกข้อมูลนั้นมีความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันไปตามความทันสมัยของเครื่องมือที่ใช้ศึกษาแผ่นดินไหว โดยเนลสันได้เห็นข้อมูลจำนวนมากพุ่งพรวดในช่วงปี 1960 เป็นต้นมา และแม้ว่าแผนที่จะไม่ได้รวบรวมข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวทั้งหมดแต่ก็ให้ภาพอ้างอิงที่น่าตื่นตา และน่าสนใจมากกว่าข้อมูลที่อัดแน่นอยู่ในแฟ้มข้อมูลแบบตัวอักษรหรือบันทึกข้อมูลเป็นตัวเลขไว้ด้วยตัวเลขในสเปรดชีท
แหล่งที่มา : เคยเห็นไหม? แผนที่รวมเหตุ “แผ่นดินไหว” ตั้งแต่ 1898. ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (24 กรกฎาคม 2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000090444. (วันที่ค้นข้อมูล 26 ตุลาคม 2555).– ( 143 Views)
ประเทศไทยได้รับการปกป้องจาก “สนามแม่เหล็กโลก”
ในขณะที่เราใช้ชีวิตท่ามกลางความวุ่นวายของสารพัดปัญหาบนโลก หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ากำลังได้รับการปกป้องจาก “สนามแม่เหล็กโลก” ที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อนุภาคที่มีประจุรุนแรงลงมาทำลายชีวิตบนโลกได้ และประเทศไทยโชคดีกว่าใครที่ตั้งอยู่บน “เส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก” ที่มีพลังปกป้องเข้มข้นกว่าใคร
ดร.เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวไว้ในงานเสวนาวิชาการหลายครั้งระบุว่า “แม้ในทางภูมิศาสตร์ไทยไม่ได้ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แต่ในแง่สนามแม่เหล็กโลกนั้นไทยตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตรสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งทำให้มีสนามแม่เหล็กเข้มที่สุดและปกป้องไม่ให้อนุภาคมีประจุผ่านลงมาได้ง่ายๆ หรือได้รับผลกระทบน้อยสุดเมื่อเกิดพายุสุริยะหรือรังสีคอสมิคตรงมายังโลก โดย จ.ชุมพรมีความเข้มของสนามแม่เหล็กสูงสุด”
สนามแม่เหล็กโลก (Magnetosphere)
สนามแม่เหล็กโลกเกิดจากการกระบวนการไดนาโมของโลก กล่าวคือโลหะหนักที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อยู่ในแกนโลกมีการหมุนวน ทำให้เกิดสนามแม่เล็กที่เอียงทำมุมประมาณ 10 องศาจากแกนหมุนของโลก ที่ผิวโลกมีความเข้มของสนามแม่เหล็กโลกประมาณ 30,000 – 60,000 นาโนเทสลา และความเข้มจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออยู่ห่างจากผิวโลกมากขึ้น
ขั้วแม่เหล็กแบ่งออกได้เป็นสองแบบ คือ
1. ขั้วแม่เหล็ก (magnetic poles)
2. ขั้วแม่เหล็กโลก (geomagnetic poles)
ขั้วแม่เหล็ก คือตำแหน่งบนโลกที่สนามแม่เหล็กโลกมีทิศทางในแนวดิ่ง กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความเอียงของสนามแม่เหล็กโลกที่ขั้วแม่เหล็กเหนือมีค่าเป็น 90 องศา ในขณะที่ความเอียงของสนามแม่เหล็กโลกที่ขั้วใต้มีค่าเป็น -90 องศา ดังนั้นเมื่อเอาเข็มทิศปกติ (ซึ่งปกติจะหมุนได้เฉาะในแนวขวาง) ไปไว้ที่ขั้วแม่เหล็กเหนือหรือขั้วแม่เหล็กใต้ มันจะหมุนแบบสุ่มแทนที่จะชี้ไปทิศเหนือ
สนามแม่เหล็กโลกอาจประมาณได้ว่าเป็นสนามแบบไดโพล ซึ่งไดโพลนั้นมีตำแหน่งอยู่ที่ใจกลางโลก และไดโพลนั้นก็เป็นแกนของสนามแม่เหล็กโลกด้วย เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกไม่ได้เป็นไดโพลแบบสมบูรณ์ จึงทำให้ขั้วแม่เหล็กกับขั้วแม่เหล็กโลกอยู่คนละตำแหน่งกัน ตำแหน่งของขั้วแม่เหล็กไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ แต่จะเคลื่อนไปประมาณ 15 กิโลเมตรต่อปี เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและตำแหน่งอยู่ตลอด ขั้วแม่เหล็กทั้งสองมีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา และไม่ขึ้นแก่กัน ปัจจุบันขั้วแม่เหล็กใต้อยู่ห่างจากขั้วโลกมากกว่าที่ขั้วแม่เหล็กเหนืออยู่ห่างจากขั้วโลก บริเวณที่ล้อมรอบวัตถุท้องฟ้า (astronomical objects) ที่เกิดจากสนามแม่เหล็กของตัวมันเองเรียกว่า แมกนีโตสเฟียร์ (magnetosphere) โลกของเราก็มีแมกนีโตสเฟียร์ และดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็ก (magnetized planets) อื่นๆ เช่น ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นอกจากนี้เทหวัตถุท้องฟ้า (celestial objects) เช่นดาวแม่เหล็กก็มีแมกนีโตสเฟียร์เช่นกัน รูปร่างลักษณะของแมกนีโตสเฟียร์ของโลกนั้น จะเป็นผลมาจากสนามแม่เหล็กโลก ลมสุริยะ และ สนามแม่เหล็กระหว่างดาวเคราะห์ ภายในแมกนีโตสเฟียร์ จะมีไอออนและอิเล็กตรอนจากทั้งลมสุริยะ และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ของโลก ซึ่งถูกกักโดยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า Magnetic tails เป็นบริเวณที่เส้นสนามแม่เหล็กที่มีขั้วตรงข้ามกันขนานกัน magnetic tail ของโลกจะอยู่ไกลไปถึงวงโคจรของดวงจันทร์ และ magnetic tail ของดาวพฤหัสก็จะอยู่ไกลไปถึงดาวเสาร์
Read more…– ( 1169 Views)
ยานสำรวจ “ดาวพลูโต” อาจโดนทำร้ายจากดวงจันทร์พลูโต
องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ได้ส่ง “ยานนิวฮอไรซอนส์” (New Horizons) โดยมีเป้าหมายเพื่อเดินทางผ่านระบบสุริยะมุ่งหน้าสู่ “ดาวพลูโต” (Pluto) อดีตดาวเคราะห์ที่ถูกปรับให้เป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ (dwarf planet) ซึ่งได้เดินทางมาเกือบ 7 ปีแล้ว การเดินทางต้องใช้ระยะเวลาทั้งหมด 9 ปีครึ่งสู่เป้าหมาย แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าดวงจันทร์ของดาวเคราะห์แคระ 2 ดวงโคจรรอบพลูโตอันหนาวเหน็บ ทำให้พวกเขาทราบว่ามีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีเศษเล็กเศษน้อยรอบดาวเคราะห์แคระ ซึ่งทำอันตรายต่อยานอวกาศได้อาจมีแนวโน้มเป็นอันตรายต่อยานของนาซา ซึ่งกำลังเดินทางเข้าใกล้เป้าหมายอยู่ในขณะนี้
ดร.อลัน สเทิร์น (Dr.Alan Stern) หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ในปฏิบัติการยานนิวฮอไรซอนส์กล่าวว่า พวกเขาพบดวงจันทร์ที่โคจรรอบพลูโตมากขึ้นเรื่อยๆ และจนถึงตอนนี้นับได้ 5 ดวงแล้ว และดวงจันทร์ทั้งที่พบแล้วและยังไม่พบนั้นทำตัวเหมือนตัวสร้างเศษอันตรายในระบบของพลูโต โดยทำให้เกิดเศษซากมีคมจากการชนกันระหว่างดวงจันทร์เหล่านั้นกับวัตถุในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt)
Read more…– ( 219 Views)
พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาแห่งแรกของไทย เปิดให้บริการแล้ว
กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำริจัดสร้าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ขึ้นในปี พ.ศ.2543 ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์แห่งแรกของไทยที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จและให้บริการเปิดทดลองระบบนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2554 เป็นต้นมา ซึ่งจะประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ต.ค.2555 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธี
Read more…– ( 107 Views)
นาโนเทคใช้เปลือกไข่เร่งทำไบโอดีเซล
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ ทุ่มเทศึกษาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับผลิตไบโอดีเซล หนึ่งในวัสดุที่สนใจศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับผลิตไบโอดีเซล หนึ่งในวัสดุที่สนใจศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาคือ เปลือกไข่ ซึ่งมีความเป็นด่างสอดคล้องกับคุณสมบัติเบื้องต้นของตัวเร่งปฏิกิริยา เปรียบเทียบระหว่างของเหลวที่ใช้อยู่โดยทั่วไป เช่น โซดาไฟ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ผลที่ได้พบว่า เปลือกไข่ทำให้กระบวนการผลิตไบโอดีเซลมีขั้นตอนการผลิตที่สั้นลง
เดิมการผลิตไบโอดีเซลจะนำน้ำมันพืชมาหมักร่วมกับเมทานอลและตัวเร่งปฏิกิริยาในถัง แล้วแยกเอากลีเซอรีนออก พร้อมทำการระเหยเมทานอล กลับมาใช้ใหม่ ต้องผ่านกระบวนการล้างน้ำ ซึ่งการใช้เปลือกไข่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ได้กลีเซอรีนและไบโอดีเซลที่มีความบริสุทธิ์สูง จนไม่ต้องผ่านกระบวนการล้างน้ำ
แผนวิจัยต่อจากนี้ ทีมวิจัยมีแผนจะขยายขนาดกำลังผลิตไบโอดีเซลเป็น 50 ลิตร และเพิ่มกำลังผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาจากเปลือกไข่จากเดิมที่ผลิตได้ครั้งละ 1 กิโลกรัม เป็น 10 กิโลกรัม รวมถึงศึกษาระยะเวลาการผลิตเพื่อพัฒนาให้ใช้เวลาที่สั้นลง
ขณะนี้งานวิจัยดังกล่าวพร้อมส่งต่อ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นอุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซลต่อไป
ที่มา : นาโนเทคใช้เปลือกไข่เร่งทำไบโอดีเซล หนังสืิอพิมพ์บ้านเมือง. ฉบับวันที่ 25 ตุลาคม 2555.– ( 391 Views)
ใช้ GPS ตรวจสอบนาข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการขึ้นทะเบียนและรับรองเกษตรกร ในการรับจำนำข้าวเปลือกด้วยเครื่องอ่านพิกัดภูมิศาสตร์ (GPS) ให้เพียงพอและเหมาะสมในการใช้งานเพื่อให้การตรวจสอบข้อมูลพื้นที่จริงมีความ ถูกต้อง สมบูรณ์ และนำไปใช้ในโครงการรับจำนำแล้วสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
โดยเบื้องต้นจะดำเนินการซื้อทันทีในพื้นที่จำเป็นเร่งด่วน 2,400 ตำบล จัดซื้อตำบลละ 1 เครื่อง รวม 2,400 เครื่อง โดยใช้งบประมาณปกติดำเนินการจัดซื้อภายใต้วงเงิน 48 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะจัดซื้อให้ครบพื้นที่ที่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ 6,885 ตำบล ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2556 ซึ่งรวมแล้วจะใช้งบประมาณ 120 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้การตรวจสอบพื้นที่มีความถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส ไม่ซ้ำซ้อนและสามารถดำเนินการได้ทันกับกรอบระยะเวลาการออกใบรับรองให้แก่ เกษตรกรเพื่อเข้าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลได้.
รายการอ้างอิง :
ใช้ GPS ตรวจสอบนาข้าว. เดลินิวส์ (เกษตร) วันที่ 26 ตุลาคม 2555.– ( 94 Views)
เห็ดระโงกเหลือง – เรื่องน่ารู้
เห็ดระโงกเหลืองจะพบในบริเวณที่ค่อนข้างชื้น อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 94% pH 7 ความเข้มแสง 142 Luxหลังฝนตก 2-3 วัน มี
แดดออกอากาศร้อนอบอ้าว ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนเป็นเห็ดดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 4-5 ดอกกระจายอยู่ทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ
ป่าดิบแล้ง
Read more…– ( 96 Views)
สะสม”มวลกระดูก” ก่อนสลายไม่รู้ตัว
ถ้าพูดถึงโรคกระดูกพรุน ใคร ๆ ก็คงนึกถึงอาม่าแก่ ๆ ตัวเล็ก ๆ หลังค่อม ๆ ที่เดินชนอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็พร้อมที่จะกระดูกหักได้ จริงอยู่ที่โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่พบบ่อยมากกว่าผู้ชายถึง 5 เท่า คุณผู้อ่าน (ที่ยังไม่ชรา) อาจจะคิดว่าโรคกระดูกพรุนช่างไกลตัว อีกตั้งนานกว่ากระดูกจะพรุน ถึงคราวนั้นก็ปล่อยให้สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมเถิด
จริง ๆ แล้วการดูแลสุขภาพกระดูกเริ่มต้นตั้งแต่วัยรุ่นนะคะ เพราะมวลกระดูกก็เหมือนเงินในบัญชี ถ้าสะสมตั้งแต่ยังสาว พอถึงวัยที่ต้องจ่ายหรือวันที่กระดูกสลาย อย่างน้อยเราก็ยังเหลือมากอยู่กว่าคนที่ไม่เคยดูแลหรือสะสมมาก่อน
Read more…– ( 89 Views)
ตรวจจับรอยขีดข่วน บนฮาร์ดดิสก์ – ฉลาดคิด
อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันต้องอาศัยตัวเก็บข้อมูลที่มีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ รวมถึงฐานการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมหรือองค์กรต่าง ๆ
ดังนั้นอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟจึงต้องเพิ่มการผลิตให้เพียงพอต่อความต้อง การ แต่เรื่องคุณภาพของสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง ทำให้การตรวจสอบคุณภาพของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟเป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญใน การสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า รวมถึงชื่อเสียงของภาคอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ที่จะต้องรักษาชื่อเสียงนั้นไว้
Read more…– ( 104 Views)