magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

บ้านอัจฉริยะกำลังจะมา

เริ่มต้นปีก็มีข่าวดังไปทั่วโลก มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะความฉงนงงงวย เมื่อบริษัท Google ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัทเทคโนโลยีเล็กๆ บริษัทหนึ่งที่มีชื่อว่า Nest ด้วยเงินมูลค่ามหาศาลถึง 3,200 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ หนึ่งแสนล้านบาท

นับเป็นดีลการเข้าซื้อกิจการที่ใหญ่เป็นอันดับสองที่ Google เคยเข้าซื้อ รองจาก Motorola Mobility ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ Motorola ที่เรารู้จักกัน เพื่อผลิตโทรศัพท์ Nexus ให้ Google คำถามก็คือ Google คิดอะไรในใจถึงได้ทุ่มเงินลงไปเยอะขนาดนี้? อะไรคือสิ่งที่ Google มีแผนจะทำต่อไป?
Read more…– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน โครงการวิจัยที่ขั้วโลกใต้

ขั้วโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์กติก เป็นดินแดนที่ออกจะลึกลับไปสักหน่อยแต่มีข้อมูลที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เราให้ค้นคว้ามากมาย และที่ขั้วโลกใต้แห่งนี้มีนักวิจัยจากประเทศไทยร่วมทำการศึกษาวิจัยอยู่ด้วย

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีภารกิจสำคัญ คือสนับสนุนการวิจัยของคนไทยจึงได้ร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดส่งนักวิจัยไทยจำนวน 2 ท่านคือ รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์ และ ผศ.ดร. อรฤทัย ภิญญาคง จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการวิจัยภายใต้ “โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ ทวีปแอนตาร์กติก ในปี พ.ศ.2557 โดยหน่วยงาน Chinese Arctic and Antarctic Administration เปิดโอกาสให้นักวิจัยชาวไทยได้ร่วมทำวิจัยที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์ของประเทศจีน โดยมีบริษัทเอกชนสนับสนุนโครงการวิจัยนี้คือ บริษัทในกลุ่มเครื่องดื่มกระทิงแดง และและบริษัทลอรีอัล (ประเทศไทย)

โครงการนี้เกิดจากพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบราราชกุมารี ฯ พระองค์เป็นคนไทยองค์แรกที่เคยเสด็จไปยังทวีปแอนตาร์กติก ในปี พ.ศ.2532

ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับการไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติกครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกสำหรับนักวิจัยไทย โดยรองศาสตราจารย์ ดร. วรณพ วิยกาญจน์ เป็นนักวิจัยไทยคนแรกที่ไปทำวิจัย ณ สถานีวิจัยโชว์วะ (Syowa Station) ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2547 ถึง เดือนมีนาคม 2548

หลังจากนั้นอีก 5 ปีต่อมา รองศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ ได้เดินทางเป็นครั้งที่ 2 ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 – 2553 ณ สถานีวิจัยโชว์วะเช่นกัน

และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ของการเดินทางไปทวีปแอนตาร์กติกของนักวิจัยไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะบริหารงานอาร์กติกและแอนตาร์กติกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทในกลุ่มเครื่องดื่มกระทิงแดง และบริษัทลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัดแล้วธงชาติไทยก็ได้ปักบนดินแดนแห่งน้ำแข็งขั้วโลกใต้อีกครั้ง นี่คือโอกาสและศักยภาพของนักวิจัยไทย (ข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์)

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ติดตามชมย้อนหลังรายการ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน โครงการวิจัยที่ขั้วโลกใต้– ( 34 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Collection Analysis (ตอนที่ 1)

คำว่า “Collection” เป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ รวมทั้งผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดจัดหาให้บริการ

ห้องสมุดมักจะมีการแบ่งทรัพยากรสารสนเทศออกเป็นหลายๆ Collection และหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะมีการแบ่งเป็นกี่ Collection ก็ตาม ห้องสมุดก็ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น พร้อมๆ กับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
Read more…– ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ Peer Review ของ NSF ก่อให้เกิดความตึงเครียด

ร่างกฎหมายซึ่งยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ของผู้แทนฯ Smith มีชื่อเรียกว่า The Frontiers in Innovation, Research, Science, and Technology (FIRST) Act จะมีผลในการจัดลำดับความสำคัญในการพิจารณาโครงการวิจัยของ NSF, the National Institute of Standards and Technolgoy (NIST) และโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอื่น ๆ เช่น โครงการสนับสนุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เนื้อหาในร่างกฎหมาย First Act บางส่วนจะสนับสนุนให้นักวิจัยนำการค้นพบต่าง ๆ ออกสู่ภาคธุรกิจ และสนับสนุนการวิจัยด้านการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (high-performance computing) รวมถึงเปิดโอกาสให้สาธารณะสามารถเข้าถึงงานวิจัยที่สนับสนุนโดยรัฐบาลได้นาน ขึ้นถึง 3 ปี
เกณฑ์การพิจารณาการให้ทุนสนับสนุนที่ระบุไว้ใน FIRST Act
ร่าง กฎหมายจะมีผลบังคับให้ผู้บริหารของ NSF อธิบายว่าโครงการสนับสนุนการวิจัยนี้มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไรและตอบสนอง ต่อเป้าหมายต่อไปนี้ อย่างไร:

  • การสร้างความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ
  • การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ
  • ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์
  • ความปลอดภัยของประเทศ

ดูเพิ่มเติมฉบับเต็มได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1207—-12557

 – ( 6 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สถานีรถไฟใต้ดินในยุโรปที่สวยที่สุด

สถานีรถไฟใต้ดิน ที่ไหนเก่าแก่ที่สุดทราบหรือไม่?? คำตอบคือ “สถานีรถไฟใต้ดินลอนดอน หรือ ลอนดอนอันเดอร์กราวนด์ (London Underground)” สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นสถานรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

ระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงเริ่มมีมาตั้งแต่ ค.ศ.1863 และเปิดการเดินรถไฟความเร็วสูงสายแรกงคือ “รถไฟใต้ดินลอนดอน” ในปี ค.ศ.1890 เป็นการเดินรถไฟแรกที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการขับเคลื่อน และสำหรับประเทศไทยระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงสายแรกในประเทศไทยที่เปิดให้บริการคือ “รถไฟฟ้าบีทีเอส” ซึ่งเป็นการให้บริการแบบยกระดับ (ลอยฟ้า) เปิดทำการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เป็นต้นมา

กล่าวมาทั้งหมดก็เพื่อจะพาทุกท่านไปชมสถานีรถไฟใต้ดินที่ได้ชื่อว่า “สวยงามที่สุด” ในแถบยุโรป ไปดูกันว่ามีสถานีไหนบ้างที่ติดอันดับ และมีสถานทีใดบ้างที่สามารถสร้างความตื่นตาตรึงใจให้กับผู้ที่มีโอกาสไปใช้บริการได้มากที่สุด

Read more…– ( 201 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความสวยงามของเม็ดทราย

http://sandgrains.com/

ทราย…. สิ่งที่เราเห็นได้ทั่วไปตามชายหาด ทรายเม็ดหยาบ ละเอียด สีสรรต่างกันไป ดูเผินๆ อาจจะเหมือนกันไปทุกแห่ง แต่ความสวยงามที่ซ่อนอยู่ในเม็ดทรายนั้นมีจริงและเปิดเผยขึ้นเมื่อ Dr. Gary Greenberg ได้เริ่มถ่ายภาพเม็ดทรายเหล่านี้ผ่านทางกล้องจุลทรรศน์เป็นเวลา 12 ปี จากการถ่ายภาพเม็ดทรายผ่านกล้องจุลทรรสน์นี้เผยให้เห็นเม็ดทรายที่มีความสวยงามของรูปร่าง และสีสัน จากภาพขยายเม็ดทรายเหล่านี้ Dr.Gray Greenberg ได้เก็บภาพเหล่านี้จากพื้นทราบแทบจะทั่วโลกอย่างเช่น เกาะเมาวีในฮาวาย ประเทศญี่ปุ่น รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐมินนิโซตา เกาะไอร์แลนด์ เป็นต้น เหตุผลในการทำเช่นนี้ก็เพราะเขาชื่นชมในความสวยงามของทรายเม็ดเล็ก ๆ เพราะมันมีรูปร่างและสีสันที่สวยงามไม่เหมือนกัน

นอกจากภาพถ่ายผ่านกล้องจุลทรรศน์ของเม็ดทรายแล้ว Dr.Gray ยังมีภาพถ่ายผ่านกล้องจุลทรรศน์จากสิ่งอื่นๆ อาทิ ดอกไม้ ให้ได้ชมความสวยงามแบบขยาย ผ่านเว็บไซต์ http://sandgrains.com

แหล่งที่มา :
สำรวจโลกแฟนเพจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : https://www.facebook.com/samrujlok. (วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2557).
The Art of Science: The Microscope Photography of Dr. Gary Greenberg. [Online]. Available: http://sandgrains.com/index.html. (Access: 7 Feb, 2014).– ( 34 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

มาเลเซียตรวจพบผู้ติดเชื้อเอช 1 เอ็น 1 จำนวน 7 ราย

กัวลาลัมเปอร์ 6 ก.พ. 2014 -สื่อในมาเลเซียรายงานว่า ตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 จำนวน 7 ราย ในโรงพยาบาลสตรีและเด็กลิกาส บนเกาะบอร์เนียว และได้กักตรวจคนทั้งอาคารที่พบผู้ป่วยแล้ว

หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์อ้างผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองโกตา คินาบาลู เมืองเอกของรัฐซาบาห์ราว 10 กิโลเมตร ว่าตรวจพบผู้ป่วยเด็ก 5 คน และผู้ใหญ่ 2 คนที่ดูแลเด็กติดเชื้อไวรัสดังกล่าว จึงได้กักตรวจคนในอาคารทั้งหมด ทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่
ด้านหนังสือพิมพ์นิวสเตรทส์ไทมส์รายงานว่า แพทย์กำลังให้การรักษาเด็กทั้ง 7 คน และขณะนี้อาการทรงตัว โดยพบผู้ป่วยรายแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=52f375e6be0470d17f8b4602#.UvQwHbSDjGg– ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รวันดากำลังทำเงินจากดอกไพรีทรัมที่ใช้ฆ่าแมลงได้

สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวต่างประเทศ
คิกาลี 5 ก.พ. 2014 – รวันดา ประเทศในแอฟริกากลางที่เคยเกิดสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อ 20 ปีก่อน กำลังส่งเสริมการปลูกดอกไพรีทรัมให้เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะสามารถสกัดเป็นยาฆ่าแมลงตามธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ดอกไพรีทรัมเป็นดอกไม้สีขาวขนาดเล็กคล้ายดอกเดซี่ อยู่ในตระกูลดอกเบญจมาศ ปัจจุบันมีการปลูกเชิงพาณิชย์เพียงไม่กี่แห่งบนโลกคือรวันดา แทนซาเนีย และเกาะแทสมาเนียของออสเตรเลีย มีการนำมาปลูกเชิงพาณิชย์ในรวันดาครั้งแรกเมื่อปี 2479 แต่ได้ยุติไปหลังเกิดเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างชนเผ่าฮูตูและทุตซีเมื่อปี 2537 และเพิ่งฟื้นฟูการปลูกราว 10 ปีก่อน
Read more…– ( 19 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อยากดูทีวีดิจิทัล ทำอย่างไร?

เมื่อ “ทีวีดิจิทัล” ใกล้จะเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน นี้ ในพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่องได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ นครราชสีมา และสงขลา

งานนี้ จะรอช้าอยู่ไย มาเตรียมตัวรับชมทีวีดิจิทัลกันก่อนเมื่อประชาชนที่รับชมทีวีระบบภาคพื้นดิน ( หนวดกุ้ง ก้างปลา ) หากไม่ต้องการเปลี่ยนทีวีเครื่องใหม่ สามารถทำได้ เพียงหากล่องรับสัญญาณทีวีระบบดิจิทัล หรือ กล่องเซต ทอป บ็อกซ์ มาเชื่อมต่อทีวีเครื่องเดิม และเชื่อมต่อกับหนวดกุ้ง ก้างปลา เพื่อรับชมทีวีดิจิทัล

ส่วนประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนทีวีเครื่องใหม่ ที่มีภาครับดิจิทัลในตัวเครื่อง ให้สังเกตสติกเกอร์ “น้องดูดี” ซึ่งการันตีได้ว่า ผ่านการขออนุญาตนำเข้าและจำหน่าย จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ก็เชื่อมสายหนวดกุ้ง กางปลา เข้าทีวีดิจิทัลได้ทันที Read more…

– ( 15 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคลาวด์ในประเทศไทย

ไมโครซอฟท์ เผยผลสำรวจความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์ ในประเทศไทย เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัย อาจชะลอการเติบโตของคลาวด์ ในประเทศไทย

ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ ได้จัดทำผลสำรวจทัศนคติล่าสุดเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ในประเทศไทย โดยพบว่า ถึงแม้การให้บริการคลาวด์มีการเติบโตเป็นอย่างมากในประเทศไทย แต่ยังมีผู้บริหารอีกเป็นจำนวนมากที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการ ทำงานและความเป็นส่วนตัวที่อาจลดลงจากการใช้ระบบคลาวด์ ซึ่งความเชื่อต่างๆ ที่ไม่ได้รับการยืนยันเหล่านี้ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อองค์กรโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในการนำ เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างคลาวด์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัว ในการทำงาน

และจากผลสำรวจล่าสุดนี้เอง ทำให้ไมโครซอฟท์ ในฐานะผู้นำบริการคลาวด์อย่างครบวงจร ได้เข้ามาเตรียมความพร้อมและให้ความรู้กับบริษัทต่างๆ ในประเทศไทย ถึงประโยชน์ที่พึงจะได้รับจากการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ Read more…– ( 12 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments