magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัวแบบพกพา

โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพครอบครัว หรือเราเรียกสั้นๆ ว่า FFC (เอฟเอฟซี) เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนแอนดรอยด์ (Android 2.2 ขึ้นไป) บนเครื่องมือถือหรือแท็บเล็ต โดยโปรแกรมถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับฐานข้อมูลโปรแกรมระบบงานสถานีอนามัย JHCIS ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขใช้เก็บข้อมูลในการลงพื้นที่ชุมชน เช่น เก็บบันทึกข้อมูลพิกัดบ้านในชุมชน บริการเยี่ยมบ้าน คัดกรองความเสี่ยง และวินิจฉัยและจ่ายยาเพื่อดูแลและรักษาโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ให้บริการทดแทนการจดบันทึกด้วยแฟ้มกระดาษแบบเก่า (ข้อมูลเพิ่มเติม คลิ๊ก)

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ / เทคโนโลยี
โปรแกรมสามารถทำงานได้บนมือถือหรือแท็บเล็ตใช้งานแทนแฟ้มกระดาษแบบเก่า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว สำหรับนำไปใช้สำรวจและเก็บข้อมูลนอกสถานที่– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

การเล่นเกมช่วยพัฒนาสมองได้

รู้หรือไม่ การเล่นเกมในระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นประจำช่วยพัฒนาสมองได้ ซึ่งการเล่นเกมมีประโยชน์มากมาย ทั้งได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน คลายเครียด ฝึกทักษะ สมาธิ การตัดสินใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ และการประสานกันระหว่างมือกับตา แต่ถ้าหากเล่นอย่างหมกมุ่นก็จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้ เช่น ส่งผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ผลการเรียนตกลง อดอาหารหรืออดนอนจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และอาจจะมีปัญหาด้านพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

Read more…– ( 16 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

Smartphone ตัวการทำลายฮอร์โมนเมลาโทนิน

“ฮอร์โมนเมลาโทนินมีส่วนสำคัญที่ทำให้มนุษเราสามารถนอนหลับได้เป็นอย่างดี” เหตุใด Smartphone จึงเป็นตัวการยับยั้งทำลายฮอร์โมนเมลาโทนิน เหตุนี้เกิดก็เพราะมนุษย์เราในปัจจุบันนี้ติดพันการใช้โทรศัพท์มือถือตลอดทั้งวันไม่เว้นแม้แต่ตอนกลางคืน บางคนเล่นจนติดพันวางมือไม่ลงยิ่งดึกก็ยิ่งติด และถ้าบางช่วงเล่นเกมส์มากๆ ก็ยิ่งไม่อยากจะวางมันลง หรือหากแม้วางเจ้าโทรศัพท์มือถือลงแล้วก็ตามจิตใจก็ยังจะพะวงและว้าวุ่นอยู่กับมันจนเกินกว่าที่จะข่มตาหลับลงมาได้

มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Michigan State ได้ยืนยันอีกครั้งว่า Smartphone มีส่วนในการรบกวนการนอนหลับของผู้ใช้ โดยงานวิจัยดังกล่าวนี้ได้ทำการสำรวจกับผู้บริหารระดับสูงจำนวน 82 ราย และลูกจ้างจำนวน 161 คน พบว่าคนที่เล่นโทรศัพท์มือถือหลังเวลาสามทุ่มนั้นจะมีอาการ “แฮงค์” ก็เพราะว่าพักผ่อนไม่เพียงพอและทำให้เช้าวันต่อมาจะมีอาการ “เพลียสะสม”

จากผลการวิจัดังกล่านี้ สรุปได้ว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือในเวลากลางคืนทำให้เกิดอาการที่ไม่แตกต่างจากการ “เมาค้าง” มากนัก คือทำให้เรารู้สึกเหนื่อย เพลีย ไม่ค่อยมีสมาธิในวันถัดมา และที่สำคัญการเล่นโทรศัพท์มือถือตอนกลางคืนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเราได้ในระยะยาว

หากใครมีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ในตัวแล้วหล่ะก็…แนะนำว่าให้ “หยุด” เสียแต่วันนี้เพราะหากยิ่งติดพัน ยิ่งใช้มาก ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตจะแย่ลง หันมาอ่านหนังสือก่อนนอนจะดีกว่าช่วยพัฒนาสมอง และนอนหลับได้สบาย

แหล่งที่มา :
“ผลวิจัยเผย “เล่นมือถือตอนดึก” ระวังโทรม!!”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ที่ : http://www.arip.co.th/smartphone-ruin-your-health/. (วันที่ค้นข้อมูล 3 กุมภาพันธ์ 2557).– ( 16 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

รายการ “พลังวิทย์ฯ คิดเพื่อคนไทย” (ปฐมฤกษ์)

รายการ “พลังวิทย์ฯ คิดเพื่อคนไทย โดย สวทช.” ปฐมฤกษ์เบิกโรงออกอากาศเทปแรกค่ำคืนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ หลังข่าวภาคค่ำช่อง 9 อสมท. (โมเดิร์นไนน์ทีวี)

เทปแรกวันนี้ นำเสนอ หีบอัดปาล์มน้ำมัน ผลงานวิจัยสู่ชุมชนของเอ็มเทค สวทช. เพื่อช่วยเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ด้วยการพัฒนาเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำขนาดเล็กต้นแบบระดับชุมชน

ด้วยภาวะวิกฤติทางพลังงาน ภาครัฐส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้นทุกพื้นที่เพื่อใช้ในการผลิตไบโอดีเซล แต่ปัญหาคือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่มีน้อยเนื่องจากส่วนใหญ่ใช้ระบบไอน้ำในการสกัดซึ่งต้องลงทุนสูง

ด้วยเหตุผลดังกล่าว สวทช. จึงได้ผลิตเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอนน้ำขนาดเล็กต้นแบบระดับชุมชนมีกำลังผลิต 1-5 ตันทลายปาล์มต่อชั่วโมง

จุดเด่นของเครื่องนี้คือ
1. ใช้ความร้อนในการอบผลปาล์มทดแทนการใช้ไอน้ำทำให้ไม่ต้องสร้างระบบหม้อต้มน้ำจึงช่วยในการประหยัดพลังงานแถมไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย หรือสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
2. การอบด้วยความร้อนทำให้เนื้อปาล์มหลุดออกจากกะลาได้ง่ายขึ้นและยังช่วยยับยั้งเอนไซม์ไลเปส ทำให้น้ำมันปาล์มที่ได้มีคุณภาพดี
3. กากที่เหลือจากการผลิตน้ำมันปาล์มสามารถนำไปใช้ในการเลี้ยงสัตว์ได้

ร่วมสนุกกับรายการผ่านทาง NSTDA Fanpage หรือ www.facebook.com/NSTDATHAILAND ตอบคำถามประจำรายการหลังออกอากาศและลุ้นรับของที่ระลึก สวทช.

คำถามประจำวันที่ 3 ก.พ. 57
เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มที่เอ็มเทค สวทช. พัฒนาขึ้นมีกำลังการผลิตเท่าไหร่
ก. 1-5 ตันทะลายปาล์มต่อชั่วโมง
ข. 6-10 ตันทะลายปาล์มต่อชั่วโมง– ( 20 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เหตุใดหูอื้อ…เมื่อน้ำเข้าหู

Published on February 3, 2014 by in Health

หลายคนคงเคยประสบปัญหาน้ำเข้าหู และแต่ละคนคงมีวิธีการแก้ปัญหาน้ำเข้าหูด้วยวิธีการต่างๆ กัน แต่วิธีที่คุณหมอแนะนำคือ ควรเอียงศีรษะเอาหูข้างนั้นลงต่ำดึงใบหูให้กางออก แล้วดึงใบหูให้กางออกโดยเฉียงไปด้านหลังเล็กน้อย จากนั้นน้ำที่เข้าไปในหูก็จะไหลออกมาเอง แล้วอาการหูอื้อเมื่อน้ำเข้าหูก็จะหายไป ส่วนที่เรารู้สึกหูอื้อเมื่อน้ำเข้าหูนี้ เป็นเพราะน้ำที่เข้าไปในหูจะไปทำให้ความดันในหูทั้งสองข้างของเราไม่เท่ากัน เนื่องจากว่าช่องหูของเรามีหน้าที่คอยปรับสภาพความดันภายในหู ซึ่งปกติแล้วช่องหูจะมีลักษณะโค้งเป็นรูปตัวเอส (S) มีความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร และมีเยื่อบุภายในที่คอยทำหน้าที่ให้ความดันของเยื่อแก้วหูทั้งสองข้างเท่ากันขณะที่เรากำลังดำน้ำ หรือขึ้นไปอยู่ในที่สูงๆ ส่วนที่เป็นช่องหูจะเปิดและปิดเพื่อปรับความดับของเยื่อแก้วหูทั้งสองข้างให้เท่ากัน จะทำให้ช่องหูอยู่ในแนวตรงที่น้ำจะไหลออกมาได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาน้ำเข้าหูจะหายไปทันที

Read more…– ( 104 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

อุปกรณ์ช่วยการเดินติดขัด

วิธีการและอุปกรณ์ที่ช่วยให้การเดินของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินไม่ปรกติ: ลองคิดดูว่า ถ้าขาคุณขยับเดินไม่ได้ จะรู้สึกอย่างไร มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันมักจะต้องพบกับอาการเดินติดขัด (Freezing of Gait หรือ FOG) ซึ่งจะทำให้ล้มและเกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงได้ อาการดังกล่าว ผู้ป่วยบางคนบอกว่า เหมือนกับมีกาวติดอยู่ที่พื้น

การรักษาในปัจจุบันยังไม่ได้ผลมากนัก Emil Javanov ศาสตราจารย์ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมไฟฟ้า แห่งมหาวิทยาลัยอัลบามา ที่ฮันส์วิลล์ และทีมงาน จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ที่จะบรรเทาอาการเดินติดขัดด้วยเซ็นเซอร์


สิทธิบัตรหมายเลข 8,409,116 ให้ข้อมูลถึงการทำงานของอุปกรณ์นี้ว่า อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ตัวเซ็นเซอร์การเดิน (หมายเลข 10) ที่ติดอยู่กับตัวผู้ป่วย (หมายเลข 12) ตัวเซ็นเซอร์ฝังไว้ในรองเท้าหรือติดกับหัวเข่า เซ็นเซอร์นี้ทำหน้าที่เป็นตัวนำทำจากพลาสติก ไฟเบอร์ หนังสือ หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม ตัวนำนี้จะถูกติดด้วยคลิป หรือเข็ม หรือ velcro tape กับรองเท้า ตรงเอวของผู้ป่วยหรือตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมจะเป็นส่วนที่ติดตัวรับ (หมายเลข 14) ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย และติดอยู่ที่หูของผู้ป่วย  ตัวเซ็นเซอร์การเดิน (หมายเลข 10) จับได้ว่าเกิดอาการเดินติดขัด จะส่งผ่านสัญญาณไร้สายไปยังหมายเลข 16 และต่อไปยังตัวรับหมายเลข 14 ซึ่งรับสัญญาณและถอดรหัส auditory cue ไปยังผู้ป่วย  เช่น คำว่า “เดิน” ทันทีที่ผู้ป่วยได้ยินก็จะเดิน อุปกรณ์นี้ยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนาแต่ทีมนักวิจัยหวังว่าจะนำออกสู่ตลาดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

รายการอ้างอิง:

Guterl, Sophie. Patent Watch. Scientific American. November 2013: 12.

Method and device to manage freezing of gait in patients suffering from a movement disorder US 8409116 B2. Retrieved 20140101 from http://www.google.nl/patents/US8409116

– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

วิทยาศาสตร์ในของเล่นพื้นบ้านไทย

อายุเริ่มจะเข้าวัย “หลักสี่” …. อยู่ดีๆ ก็ให้นึกหวนคิดถึงเรื่องราวเก่าๆ ที่ผ่านมาในวัยเด็ก ด้วยวัยเด็กเติบโตอยู่ที่ อ.ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ครอบครัวเองก็เป็นแค่ชนชั้นกลาง เงินทองจะให้มีซื้อของเล่นแพงๆ ในห้างสรรพสินค้าก็ไม่มี แต่เคยถามปู่ ย่า ญาติพี่น้องทั้งหลายที่ช่วยอุ้มชูเลี้ยงดูว่าเรานั้นเคยงอแง หรือ อ้อนวอนอยากจะได้ของเล่นอะไรกับเค้าหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ “ไม่มี” คงเพราะสนุกกับสิ่งที่ปู่ กับ ย่า ได้ทำให้เล่น ไม่ว่าจะเป็นปลาตะเพียนสาน ตระกร้อสาน ปืนก้านกล้วย งูกินนิ้ว หนูวิ่ง รวมถึงการเล่น “หม้อข้าวหม้อแกง” ที่เก็บหญ้า ใบไม้ ดอกไม้ มาทำเป็นอาหารเล่นกัน ชีวิตก็มีความสนุกและก็ยังสนุกมาจนถึงทุกวันนี้

เติบโตขึ้นมาจนถึงวัยจะเลขสี่ มีโอกาสได้รู้จักของเล่นพื้นบ้านต่างๆ มากมาย แต่ก็ไม่รู้เลยว่าในของเล่นพื้นบ้านนี้จริงๆ แล้วมีเรื่องของวิทยาศาสตร์แฝงอยู่ในของเล่นต่างๆ ด้วย จนได้มีโอกาสได้หยิบหนังสือเรื่อง “วิทยาศาสตร์ในของเล่นพื้นบ้านไทย” มาเปิดดู จึงทำให้รู้ว่าเราเองก็ได้สัมผัสกับ “วิทยาศาสตร์” จากของเล่นที่เราได้เล่นในสมัยเด็กๆ มาแล้ว ของเล่นพื้นบ้านที่มีเรื่องราวของวิทยาศาสตร์แฝงอยู่นั้นมีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

Read more…– ( 5946 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

บรรณารักษ์ และห้องสมุดในภาพยนตร์กว่า 100 เรื่องของฮอลลีวูด

ที่เขียนเรื่องนี้ เพราะเกิดแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง A Beautiful Mind แต่ก่อนหน้านั้น ก็มีเรื่อง Lorenzo’s Oil หรือน้ำมันลอเรนโซ ที่ชอบมากๆ เพราะ Lorenzo’s Oil ฉายให้เห็นการค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดอย่างหนัก เพื่อให้ได้ข้อมูลการรักษาโรคของลูกชายวัย 5 ขวบ ที่เป็นโรค ALD (adrenoleukodystrophy) ที่รักษายาก และจะตายในอีก 1-2 ปี หลังจากที่พบว่าเป็น เห็นบทบาทของบรรณารักษ์และฉากการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งหาข้อมูลวิชาการเยอะ มากของกับพ่อแม่ของลอเรนโซ (อ่านบทวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=loveinthesky&group=2 และ http://www.gotoknow.org/posts/162860) ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

เหตุใดหนังท้องตึง หนังตาจึงหย่อน?

Published on February 1, 2014 by in Health

มักมีคนพูดว่า หนังท้องตึง หนังตาหย่อน หลายคนสงสัยว่า หลังรับประทานอาหารแล้วทำให้ง่วงนอนจริงหรือ? หลังรับประทานอาหารมีผลทำให้ง่วงนอนได้จริงๆ

Read more…– ( 9 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

นักวิจัยเอ็มเทค 1 ใน 5 นักวิทยาศาสตร์ไทยตัวแทนเข้าร่วมประชุม(GYSS)

นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ดร. สมบูรณ์ โอตรวรรณะ  1 ใน 5 นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการ ประชุม Global Young Scientists Summit (GYSS) ณ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 19-24 ม.ค. 57 ที่ผ่านมา โดยภายในงานเป็นการนำเสนอผลงาน บรรยาย กิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับนานาชาติ Read more…– ( 21 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments