จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ 4 โครงการของห้องปฏิบัติการหนึ่งที่ได้รับทุนจากภาครัฐ ได้แก่ โครงการเกษตร, โครงการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ, โครงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และโครงการอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า
ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินโครงการ ได้แก่
1. กำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่เริ่มแรกและเป็นระบบ (Define an S&T focus early and systematically)
2. เข้าใจและมีส่วนร่วมในตลาดตั้งแต่เริ่มแรก (Understand and engage the market early)
3. มองไปข้างนอกหน่วยงานเพื่อทิศทางและการตรวจสอบความถูกต้อง (Look outside the organization for direction and validation)
โดยการทำ external review ตั้งแต่เริ่มแรกและบ่อยๆ เช่น peer review ที่เป็นทางการ
4. สร้างทีมที่เหมาะสมสำหรับงาน (Create the right team for the task)
การสร้างทีมที่เหมาะสมสำหรับงานเริ่มต้นด้วยความเป็นผู้นำที่เหมาะสม ผู้นำของโครงการต้องมีทั้งความเข้าใจตลาดดีและประสบการณ์ในขบวนการการพัฒนาภายในหน่วยงาน นอกจากนี้การรู้ถึงความสามารถของห้องปฏิบัติการ ขบวนการตัดสินใจและโครงสร้างหน่วยงานทำให้ผู้นำสามารถนำความสามารถที่ต้องการมารวมกันเพื่อแก้ปัญหาความต้องการของตลาด โครงการที่มีผู้นำหรือผู้นำร่วมและรองแสดงว่าการแบ่งความรับผิดชอบกันนี้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีความร่วมมือกันทำงานเป็นทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายทางกลยุทธ์
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในหน่วยงานเพื่อทิศทางและการสนับสนุนภายใน (Develop alliances within the organization for direction and internal support)
การสนับสนุนจากผู้บริหารอาวุโสที่ประสบผลสำเร็จและบุคคลอื่นที่มีความสำคัญทางกลยุทธ์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ผู้นำ เจ้าหน้าที่การตลาด มีผลสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการ
ที่มา: Charlette Geffen and Kathleen Judd (2004). Innovation through initiatives—a framework for building new capabilities in public sector research organizations. Retrieved March 9, 2021, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0923474804000487