สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 ตาม พ.ร.บ. พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานบริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ มุ่งพัฒนาประเทศสู่ “เศรษฐกิจฐานความรู้” มีภารกิจหลักในการสนับสนุนงานวิจัย พัฒนาและสนับสนุนให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม
ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา สวทช. ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานมาอย่างสม่ำเสมอ จุดแข็งของ สวทช. คือ กำลังคน เรามีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพความเชี่ยวชาญ มีศักยภาพ เป็นพลังในการขับเคลื่อนการทำงานให้ สวทช. เป็นองค์กรเปิดด้านการวิจัยและพัฒนาที่ประเทศขาดไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีการสร้างงานวิจัยที่เข้มแข็ง และสร้างผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง และที่ขาดไม่ได้ คือ สวทช. มีเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตรที่เข้มแข็งเสมอมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การที่ สวทช. ดำเนินงานมาจนครบรอบ 30 ปี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และได้รับความเชื่อถือจากทุกภาคส่วนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญและได้ยึดถือกันมาตลอดก็คือ “Governance” และสิ่งที่ขอฝากไว้สำหรับนักวิจัยทุกคนก็คือ “การมีวินัย” ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความเจริญก้าวหน้าในส่วนของการขับเคลื่อน สวทช. “ผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนจะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ เมื่อทุกคนใส่พลังความคิดเข้าไปในทุกเรื่องที่ดำเนินการและรับผิดชอบ”
ช่วงทศวรรษที่ 1 ของ สวทช. (พ.ศ. 2534–2542) ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองระดับโลก เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต, วิกฤตต้มยำกุ้ง, ไข้หวัดนก และ Y2K, มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกมากมาย เช่น การกำเนิดขึ้นของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW), สมาร์ตโฟน, บลูทูธ, USB และ QR Code รวมทั้งคอมพิวเตอร์ Deep Blue และแกะโคลนนิ่งดอลลี่, เกิดบริษัทรุ่นแรกๆ ซิลิคอนแวลลีย์ ทั้ง Yahoo!, Amazon และ Google มีโครงการระดับนานาชาติสำคัญคือ โครงการจีโนม โดยประเทศไทยเข้าร่วมโครงการจีโนมข้าว ขณะสหรัฐและรัสเซียและอีกหลายชาติร่วมมือกันสร้างสถานีอวกาศนานาชาติที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย นอกจากการถือกำเนิดของ สวทช. แล้ว ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมายเกิดขึ้นด้วย เช่น สกว., Internet Thailand, สซ., สบทร., อพวช. ฯลฯ ไทยมีดาวเทียมดวงแรก (ดาวเทียมไทยคม), สวทช. เริ่มมีผลงานที่สร้างผลกระทบสูงทางเศรษฐกิจและเข้าถึงคนจำนวนมาก เช่น เทคโนโลยีตรวจโรคกุ้ง, พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ Lexitron, BRT และแหนมไบโอเทค ฯลฯ, มีแผนสร้างกำลังคนผ่านการให้ทุนและการสร้างความร่วมมือทำวิจัยทั้ง JSTP และ TGIST และมีการตั้งหน่วยงานย่อยใน สวทช. เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม เช่น Software Park, TMEC, PTEC, ThaiCERT, DNATEC
สวทช. ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากพันธมิตร และเครือข่ายต่างประเทศในการยกระดับงานวิจัยให้เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และพัฒนาบุคลากรร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง จากความสำเร็จดังกล่าว จึงขอนำเสนอและรวบรวมคลิปวิดีโอแสดงความยินดีและคำอวยพรจากพันธมิตรเครือข่ายความร่วมมือจากต่างประเทศทั่วโลก จำนวน 30 ประเทศ ในโอกาสครบรอบ 30 ปี สวทช. ดังกล่าว
ตลอดช่วงเวลากว่า 30 ปีที่ผ่าน สวทช. มุ่งมั่นผลักดันผลงานวิจัย และนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ประเทศ เสริมสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศ ด้วยความรู้ความสามารถของผู้บริหาร คณะนักวิจัย และพนักงาน สวทช. ซึ่งก่อให้เกิดคุณประโยชน์ในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากทั้งเวทีระดับชาติและนานาชาติมาโดยตลอด ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวได้รวบรวมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ คลิปวิดีโอ “ความภาคภูมิใจ และเกียรติภูมิของ สวทช. ตลอด 30 ปี : NSTDA 30th Anniversary Awards and Recognition: Our Pride and Prestige” ได้แก่ เกียรติคุณและรางวัล ผู้อำนวยการ สวทช. อดีต-ปัจจุบัน ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ นักวิจัยอาวุโส นักวิจัย และอื่น ๆ จำนวน 25 ตอน โดยสามารถติดตามรับชมคลิปวิดีโอที่จะนำออกเผยแพร่มา ณ โอกาสนี้
ศูนย์ SMC สวทช. “ตอบโจทย์การผลิตยุคใหม่ พัฒนาไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0”
ปัจจุบันทั่วโลกต่างมุ่งยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศสู่อุตสาหกรรม 4.0 หรือยุคที่เครื่องจักรแต่ละเครื่องสามารถสื่อสารถึงกันและกัน (Cyber-physical
ThaiSC บริการ Supercomputer ผลักดันวิจัยเชิงลึก หนุนแก้ปัญหาวิกฤตประเทศ
ปัจจุบันโลกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาล องค์กรชั้นนำทั่วโลกต่างใช้เทคโนโลยีคำนวณในการวิเคราะห์ข้อมูลและจำลองแบบเพื่อการวิจัยและพัฒนางานที่มีความท้าทายสูง เพื่อทลายขีดจำกัดของกรอบงานเดิม ในบางกรณีสามารถลดเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จาก
ไบโอเทค สวทช. ต่อยอดความสำเร็จจากสารตั้งต้นผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ เตรียมคิดค้นยาใหม่เพื่อรักษาการติดเชื้อโรคโควิดที่อาจจะดื้อยาได้
นักวิจัยไบโอเทค สวทช.เล่าความสำเร็จการสังเคราะห์สารตั้งต้นผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ในระดับห้องปฏิบัติการณ์ เริ่มต้นจากทำงานเพียง