ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สวทช. มีการกำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับ 4 แพลตฟอร์ม ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีจำนวนตัวชี้วัดตาม OKRs ทั้งสิ้น 9 ตัว ตามรายละเอียดดังนี้
การยกระดับระบบพัฒนาความรู้และทักษะสำหรับบุคลากรวัยทำงานผ่านการฝึกอบรมระยะสั้น (Upskill/Reskill) เป็นหนึ่งในหัวข้อภายใต้แพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ของกระทรวง อว. สวทช. จึงได้กำหนดตัวชี้วัดนี้เพื่อให้สอดคล้องตามนโยบายดังกล่าว บุคลากรภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับ การ Reskill หมายถึง ผู้ที่เข้าฝึกอบรมหลักสูตรในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อสร้างอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 สวทช. มีจำนวนหลักสูตรภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการ Reskill รวมทั้งสิ้น 141 หลักสูตร หรือคิดเป็นร้อยละ 64.09 ของเป้าหมาย และมีจำนวนบุคลากร ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการ Reskill รวมทั้งสิ้น 9,147 คน-วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.36 ของเป้าหมาย
การพัฒนาบุคลากรด้าน วทน. เป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของ สวทช. โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สวทช. มุ่งเน้นการสร้างบุคลากรวิจัยด้าน วทน. ให้กับประเทศผ่านกลไกการทำงานร่วมกันระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัย โดยมีนักวิจัย สวทช. ดูแลบุคลากรวิจัย และพัฒนากำลังคนวิจัยรุ่นใหม่ให้กับประเทศ ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีนักศึกษาได้รับคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 90 คน ประกอบด้วย นักศึกษาที่ได้รับทุนปริญญาเอก จำนวน 16 คน และนักศึกษาที่ได้รับทุนปริญญาโท จ านวน 74 คน คิดเป็น ความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนโดยรวมเป็นร้อยละ 40.90
สวทช. ให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยและนวัตกรรม มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้า การคุ้มครองพันธุ์พืช และ ผังภูมิวงจร เพราะถือเป็นภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญขององค์กรวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 สวทช. ยื่นขอจดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งสิ้น 154 คำขอ แบ่งเป็น สิทธิบัตร 64 คำขอ อนุสิทธิบัตร 75 คำขอ ความลับทางการค้า 13 คำขอ และการคุ้มครองพันธุ์พืช 2 คำขอ เมื่อคำนวณสัดส่วนเทียบกับจำนวนบุคลากรวิจัยของ สวทช. จำนวนทั้งสิ้น 1,336 คน คิดเป็นสัดส่วนทรัพย์สินทางปัญญาต่อบุคลากรวิจัย 100 คน เท่ากับ 11.53 คำขอ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.70 ของเป้าหมาย
สวทช. มุ่งเน้นนำความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ไปสร้างผลงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศ โดยการสนับสนุนผู้ประกอบการ ภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคเกษตรกรรม ให้สร้างนวัตกรรมที่ทำให้มูลค่าของสินค้าและบริการ รายได้ของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น หรือต้นทุนการผลิตลดลง ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 สวทช. สร้างมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเท่ากับ 18,381.31 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 52.82 ของเป้าหมาย
สวทช. นำผลงานไปประยุกต์ใช้ในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคเกษตรกรรม จนก่อให้เกิด ความเชื่อมั่น และตัดสินใจเพิ่มการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการของตนเอง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 สวทช. มีจำนวนเงินลงทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายของภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคเกษตรกรรม ภายใต้ผลงานวิจัยของ สวทช. เท่ากับ 6,671.14 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 31.03 ของเป้าหมาย
สวทช. ให้ความสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ด้วยการกระตุ้น ให้มีการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ประกอบการใน 5 อุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) ได้แก่ (1) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) (2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) (3) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) (4) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels And Biochemicals) และ (5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 สวทช. มีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอนาคตจำนวน 187 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 93.50 ของเป้าหมาย
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศนับเป็นฐานสำคัญในการต่อยอด สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม ผลักดันให้เกิดการใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนและสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ดังนั้น สวทช. จึงได้พัฒนาการบริการวิเคราะห์ทดสอบด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สามารถตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองได้ตามมาตรฐานสากล และห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อเป็นศูนย์กลางการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทดสอบ สอบเทียบ ตรวจสอบ รับรองผลิตภัณฑ์ และยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้ได้มาตรฐานในระดับสากล ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 สวทช. มีการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตามมาตรฐานสากลแล้วทั้งสิ้นจำนวน 3,580 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 102 ของเป้าหมาย
สวทช. ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ไปสู่เชิงพาณิชย์ โดยการนำทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้า การคุ้มครองพันธุ์พืช และผังภูมิวงจร รวมทั้งเทคโนโลยีและผลงานวิจัยของ สวทช. ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาคการผลิต ภาคบริการ ภาคเกษตรกรรม และภาคสังคมชุมชน ที่ผ่านมา สวทช. มีจำนวน Active licenses สะสม ถึงปี พ.ศ. 2562 ทั้งสิ้นจำนวน 250 รายการ และในปี พ.ศ. 2563 สวทช. มีเป้าหมายที่จะเพิ่ม Active licenses เป็น 300 รายการ ทั้งนี้ ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 สวทช. มีจำนวน Active licenses สะสม จำนวน 293 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 97.67 ของเป้าหมาย
ภาคเกษตรกรรมและสังคมเป็นอีกหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ สวทช. ในการนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่า/รายได้ และนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร ชุมชนและสังคม ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2563 สวทช. มีผลงานวิจัย และองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรมและสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต จำนวน 47 เรื่อง คิดเป็น ร้อยละ 58.75 ของเป้าหมาย และมีเกษตรกรที่นำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ฯ จำนวน 5,652 คน (นับซ้ำ) หรือคิดเป็นร้อยละ 70.65 ของเป้าหมาย
Platform | ตัวชี้วัดของ สวทช. ปีงบประมาณ 2563 | เป้าหมาย | ผลการดำเนินงาน |
การพัฒนากำลังคน และสถาบันความรู้ |
OKR-1 จำนวนบุคลากรภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการ Reskill | 220 หลักสูตร 13,000 คน-วัน |
141 หลักสูตร และ 9,147 คน-วัน |
OKR-2 จำนวนนักศึกษา ป.โท/ป.เอก ที่ร่วมทำงานวิจัยกับ สวทช. | 220 คน | 90 คน | |
การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม | OKR-3 สัดส่วน IP ต่อบุคลากรวิจัย | 27 คำขอ/100 คน/ปี |
11.53 คำขอ/100 คน/ปี |
การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน | OKR-4 มูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม | 34,800 ล้านบาท | 18,381.31 ล้านบาท |
OKR-5 มูลค่าการลงทุนด้าน ว และ ท | 21,500 ล้านบาท | 6,671.14 ล้านบาท | |
OKR-6 จำนวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอนาคต | 200 ราย | 187 ราย | |
OKR-7 การให้บริการวิเคราะห์ทดสอบตามมาตรฐานสากล | 3,500 รายการ | 3,580 รายการ | |
OKR-8 นวัตกรรมใหม่ที่ไปสู่เชิงพาณิชย์ | 300 Active Licenses |
293 Active Licenses |
|
การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้า | OKR-9 การนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรมและสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต | 80 เรื่อง และ 8,000 คน |
47 เรื่อง และ 5,652 คน |