กลุ่มบริหารการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (RDI)
เน้นการตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาที่สำคัญของประเทศ

กลุ่มสนับสนุนและบริหารงานวิจัยขนาดใหญ่ เน้นการตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาที่สำคัญของประเทศ (National Agenda) โดยแหล่งที่มาของโจทย์มาจากหลายแหล่ง ได้แก่ กลุ่มหรือเครือข่ายที่เป็นการรวมตัวกันของแต่ละอุตสาหกรรม (Consortium) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ รวมถึงการพัฒนาและบริหารจัดการฐานข้อมูลของภาครัฐ (Government Big Data Platform) เช่น

 

กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย

  • การบริหารจัดการงานวิจัย
  • การบริหารจัดการทุนวิจัยขนาดใหญ่ของภาครัฐและภาคเอกชน ทุนวิจัยขนาดใหญ่จาก บริษัทข้ามชาติหรือบริษัทขนาดใหญ่
  • การส่งเสริมพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานวิจัยของ สวทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐาน เป็นไปตามหลักจริยธรรม กฎหมาย มีการทำงานวิจัยที่โปร่งใส และผลงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ
  • กิจกรรมที่ตอบเป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ที่ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายนานาชาติ เครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ
กลไกด้านความร่วมมือต่างประเทศ

Connecting the World

  • ศูนย์ข้อมูลความร่วมมือต่างประเทศและเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ
  • Open Lab/ Open Ecosystem
  • สร้างความเชื่อมโยงอย่างเข้มข้น

Industry Collaboration

  • โปรแกรมร่วมวิจัยกับภาคอุตสาหกรรม
  • สนับสนุนให้บริษัทต่างชาติจัดตั้งศูนย์วิจัยหรือพัฒนาบุคลากรวิจัย
  • สนับสนุนการร่วมวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี และแลกเปลี่ยนบุคลากรใน EECi

International Organization

เข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือและเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรระดับนานาชาติ

Scientific Community

สร้างและเข้าร่วมเครือข่ายและ Consortium

Education Partnership

  • Joint Research Study
  • Internship และ Fellowship
  • International Career for the Future Academy

Research Collaboration

  • อำนวยความสะดวกในการสร้างความร่วมมือ เช่น Joint Research Center, Research network, Matching fund, Research exchange
  • สนับสนุนความร่วมมือ เช่น โอกาสในการเข้าถึงทุนวิจัย และบริการ One Stop Service
  • การจัดประชุม/สัมมนานานาชาติ
NSTDA Agenda
  1. กลุ่มโปรแกรมเกษตรสมัยใหม่
  2. กลุ่มโปรแกรมอาหารและส่วนผสมฟังก์ชั่นบนฐานการผลิตที่ยั่งยืน
  3. กลุ่มโปรแกรมอนุรักษ์และบริหารการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  4. กลุ่มโปรแกรมยาและชีวเภสัชภัณฑ์
  5. กลุ่มโปรแกรมเครื่องมือแพทย์ ดิจิทัลด้านสุขภาพ และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
  6. กลุ่มโปรแกรมเคมีชีวภาพและวัสดุชีวภาพ
  7. กลุ่มโปรแกรมนวัตกรรมพลังงาน
  8. กลุ่มโปรแกรมบริการดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  9. โปรแกรมเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว
โครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สวทช.

สวทช. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมมือกันดำเนินงาน “โครงการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา กฟผ.-สวทช.” โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ใช้ในการผลิต กักเก็บ และส่งกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเทคโนโลยีใหม่สำหรับใช้ในกิจการไฟฟ้า และสนับสนุนให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ 

โครงการนักวิจัยแกนนำ
โครงการบริหารทุนการวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ
การติดต่อสอบถาม

ติดต่องานบริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช.

โทร 0 2564 7000 ต่อ 71682, 71684-5 (ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์)
คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร 0 2117 6859 (ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ (NCTC))
คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ห้อง 901-1 ชั้น 9 ตึก B อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC 2)
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

โทรศัพท์: 0 2117 6489
อีเมล์: planning-cpmo@nstda.or.th