หน้าแรก คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ การตรวจสอบว่าคุณโดนลงชื่อใช้อีเมล outlook โดยผู้อื่นหรือไม่ ?
การตรวจสอบว่าคุณโดนลงชื่อใช้อีเมล outlook โดยผู้อื่นหรือไม่ ?
20 ก.ย. 2565
0
นานาสาระน่ารู้

             คุณรู้หรือไม่ว่า การใช้งานอีเมลของคุณนั้นกำลังโดนพยายามเจาะการเข้าถึงรหัสผ่านอยู่ในทุกเวลา โดยที่คุณไม่รู้ตัว หรืออาจจะเสียข้อมูล account ไปโดยถาวร
“รู้ตรวจสอบก่อน  รู้ป้องกันก่อน  ดีกว่าการแก้ปัญหาในภายหลัง”

บทความนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการตรวจสอบกันว่าจะตรวจสอบอย่างไรในด้านการใช้งาน outlook อีเมล รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดการความปลอดภัยของบัญชีอีเมลของคุณ

สำหรับผู้ใช้งาน outlook.com คุณควรหมั่นตรวจสอบ Sign-in Activity อยู่เสมอ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่แสดงรายการเข้าถึงระบบของอีเมลทั้งหมดของคุณ สามารถเข้าถึงได้ผ่าน url   https://account.microsoft.com/ และใส่ข้อมูลรหัสผ่านของคุณให้เรียบร้อย  แล้วเข้าสู่ส่วนของเมนู security คุณจะพบกับหน้าจอแสดงการใช้งานด้าน Security Basics ซึ่งมีความสำคัญมากในการรักษา account ของคุณ

ลำดับถัดมา ให้เลือก Sign-in activity คุณจะพบว่า หน้าจอ Recent Activity ปรากฏขึ้น ซึ่งพิจารณาแล้วไม่เห็นมีอะไรน่าแปลกใจใช่ไหมครับ แต่หากพิจารณาดีๆ แล้วนั้น คุณจะพบว่า คอลัมน์สุดท้าย มีนานาประเทศ กำลังพยายามเข้าสู่อีเมลของคุณ !!  มีทั้ง india Colombia แถมยังใช้เวลาห่างกันไม่กี่ชั่วโมงหรือกี่นาที แบบนี้ดูน่าตกใจหรือไม่ ?

เมื่อคุณ Click ในแต่ละข้อมูลที่แปลกๆ เหล่านั้น คุณจะพบรายการกิจกรรมที่น่าตกใจ เช่นภาพด้านล่าง มีการพยายามเข้าถึงอีเมลดังกล่าวจากประเทศอินเดีย มีการพยายาม Sync Account ผ่าน IP ที่ปกปิดตัวตน และการพยายามดักข้อมูลของคุณจากปลายทางต่างๆ ที่เหล่า Hacker พยายามโจมตีหรือดักจัดการข้อมูลของคุณอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ดูแล้วอาจไกลตัวสำหรับคุณ แต่เป็นเรื่องที่อันตรายใกล้ตัวมากสำหรับคุณเช่นกันครับ

มีหลายคนที่เสีย Account ของอีเมลให้กับเหล่า Hacker แล้วสูญเสียทั้งข้อมูล Social Account , ข้อมูลความลับส่วนบุคคล หรืออาจจะมีผลถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิตที่ยากจะคาดเดาได้ ดังนั้น ในบทความนี้จึงอยากเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านตรวจสอบกิจกรรมการเข้าถึงดังกล่าว แล้วมาดำเนินการป้องกันครับ

       แนวทางการป้องกันเบื้องต้น

       บทความนี้จะขอแนะนำการป้องกันเบื้องต้นที่คุณสามารถทำได้เองง่ายๆ  โดยทำได้ดังนี้ครับ

  1. เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ โดยควรเป็นรหัสผ่านที่มีตัวเลขผสมตัวอักษรและอักขระพิเศษ
  2. อย่าตั้งรหัสผ่านเป็นชื่อที่คาดเดาง่าย เช่น ชื่อเพลง ชื่อหนัง หรือชื่อเล่น
  3. ตั้งค่าความปลอดภัยแบบ 2 ชั้น หรือ 2FA  หรือแจ้งเตือนเมื่อต้องเข้าสู่ระบบผ่านเบอร์โทรศัพท์ (มีในบทความถัดไป)
  4. อย่าเข้าเว็บไซต์ที่เสนอการ click แปลกๆ หรือส่ง link มาเพื่อให้เปิดเผยข้อมูลอีเมล เพื่อรับรางวัลบางอย่าง
  5. อย่า save password ในเว็บไซต์สาธารณะหรือเครื่องสาธารณะ
  6. สำหรับการตั้งค่า Outlook แบบ advance สามารถเลือกที่ link secure your account ที่ปรากฏในระบบเพื่อพิจารณาแนวทางการป้องกันของคุณได้อย่างหลากหลาย

หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้แนวทางการตรวจสอบและป้องกันระบบเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยของคุณในปัจจุบันและอนาคต สำหรับการป้องกันอีเมลหรือ account ในระดับขั้นสูง ทางผู้เขียนจะได้นำเสนอในบทความต่อไป เพื่อการป้องกันตนเองจากการบุกรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่มากขึ้นครับ ขอให้คุณปลอดภัยจากการถูกคุกคามทาง cyber จากผู้ไม่ประสงค์ดี อย่าลืมนะครับ ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ป้ญหาที่อาจจะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงครับ

แชร์หน้านี้: