ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลเวิร์ล :: 15 พฤศจิกายน 2565 งานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียได้กลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากห่างหายไป 2 ปี และในปีนี้ได้กำหนดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา โดยสมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) ได้ร่วมกับ สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมวิชาการเกษตร ในฐานะคณะกรรมการการจัดงานประจำประเทศไทย
คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ประธานคณะกรรมการ สมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค และสมาชิกของสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวว่า งานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย เป็นเวทีในอุดมคติที่เปิดโอกาสให้เราได้รวมตัวพบปะหารือกันเกี่ยวกับเทรนด์ใหม่ๆ ความท้าทายและโอกาสต่างๆ ที่เรามีรวมถึงสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อก้าวเดินต่อไปในภายหน้า เพื่อบรรลุพันธกิจและความมุ่งมั่นตั้งใจของเราที่มีต่อเกษตรกรและครอบครัวของพวกเราทุกคน งานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียในครั้งนี้ถือเป็นการจัดประชุมธุรกิจครั้งที่ 7 ในประเทศไทย นอกจากนี้ผ่านมางานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชีย หรือ ASC ในอดีตได้จัด ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย และในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลียเมืองเซี่ยงไฮ้มาเก๊า เกาสง ประเทศจีน รัฐกัว กรุงนิวเดลลีบังกาลอร์และไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เมืองชิบะและโกเบ ประเทศญี่ปุ่น กรุงจาการ์ตา และบาหลีประเทศอินโดนีเซีย กรุงโซลและอินชอน สาธารณรัฐเกาหลีและเมืองโฮจิมินท์ประเทศเวียดนาม
ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในฐานะประเทศผู้นำ ในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์การแปรรูปเมล็ดพันธุ์และประเทศผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบายศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทย โดยการผลักดันประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านเมล็ดพันธุ์เขตร้อนระดับโลก โดยมีแผนแม่บทยุทธศาสตร์พืชเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ข้าวโพดและผัก และแผนแม่บทยุทธศาสตร์พืชเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ข้าว พืชไร่ พืชอาหารสัตว์และพืชบำรุงดิน และมี4 กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน ดังนี้
- การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีมุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่อย่างปลอดภัย พัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การตรวจสอบพืช GMOs การจำแนกพันธุ์หรือศัตรูพืชเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ (Seed enhancement technology) เช่น การเคลือบเมล็ดหรือการพอกเมล็ดด้วยจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญของพืชหรือธาตุอาหาร การวิจัยการทำ เกษตรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนและ ให้การรับรองระบบการทำการเกษตรไร้ก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยเพื่อเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมที่มีลักษณะดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั้ง conventional breeding และ modern breeding biotechnology พร้อมทั้งการสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมพืชและพันธุ์พืชของประเทศไทยที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชพื้นเมืองของชุมชนที่เกษตรกรสามารถดำ เนินการได้เองโดยได้รับการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำ มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชที่ดีและเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อความยั่งยืน
- การปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบและมาตรการของภาครัฐ ด้วยการแก้ไข ปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ให้ทันสมัยมากขึ้น ปรับปรุงกฎระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับพืชดัดแปรพันธุกรรม และพืชที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ภายใต้พรบ. กักพืช และเร่งรัดการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อกำกับดูแลสิ่งมีชีวิตที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ตามร่าง พรบ. ความหลากหลายทางชีวภาพ และเตรียมพร้อมกฎหมายลำดับรองเพื่อกำกับดูแลให้ครอบคลุมในทุกกิจกรรมด้านเมล็ดพันธุ์
- การส่งเสริมการผลิตและการตลาด กรมวิชาการเกษตรมีแผนในการให้การรับรองห้องปฏิบัติตรวจสอบสุขอนามัยเมล็ดพันธุ์ของภาคเอกชน (Seed Health Lab Accreditation) ให้สามารถตรวจรับรองการปลอดศัตรูพืชในเมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถออกใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์(e-Phyto) ได้โดยผ่านระบบบริการออนไลน์ระบบใหม่ของกรมวิชาการเกษตร (NEW DoA-NSW) เกี่ยวข้องกับการนำ เข้าส่งออก และนำผ่านของด่านตรวจพืช พร้อมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์เพื่อช่วยอำ นวยความ สะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้าธุรกิจเมล็ดพันธุ์ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ร่วมกับชุมชนและผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้ราคาเมล็ดพันธุ์ที่ยุติธรรมและเหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายย่อย
- การสร้างและพัฒนาบุคลากร กรมวิชาการเกษตรมีความร่วมมือระหว่างกับสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทยและ ภาคเอกชนอื่น ๆ ในด้านการตรวจสอบคุณภาพและสุขอนามัยเมล็ดพันธุ์การตรวจสอบความบริสุทธิ์ทาง พันธุกรรม (Seed purity และ Seed free-GMs) เช่น โครงการทดสอบความชำ นาญ (PT) ระหว่าห้องปฏิบัติการของรัฐและเอกชน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์(นานาชาติ) เช่น สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค (APSA) และ สมาคมทดสอบเมล็ดพันธุ์นานาชาติ(ISTA) รวมถึงการฝึกอบรมระหว่างห้องปฏิบัติการของภาครัฐและภาคเอกชน
ด้าน ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวถึงบทบาทของ สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Seed Hub โดยการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์เกิดการทำ งานร่วมกันที่เรียกว่า Seed cluster ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา สวทช. สนับสนุนการดำเนินงานใน 5 พันธกิจ ดังนี้
1.วิจัยและพัฒนา สร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่เมล็ดพันธุ์ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและชุดตรวจวินิจฉัยต่อเชื้อก่อโรคพืชในอุตสาหกรรมผลิตเมล็ดพันธุ์โดย BIOTEC เทคโนโลยีจีโนมในการวินิจฉัย ตรวจสอบ โรคและความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ลูกผสมสำ หรับการส่งออก เมล็ดพันธุ์และการใช้เทคโนโลยีจีโนมในการคัดเลือกพันธุ์ซึ่งช่วยให้ภาคเอกชนส่งออกเมล็ดพันธุ์และพัฒนาพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น โดยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC)
2.โครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน่วยบริหารเชื้อพันธุกรรมพืชทั้งในระดับ working collection และ long-term security เช่น National Biobank of Thailand(NBT) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ ม.ขอนแก่น ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ ม.เกษตรศาสตร์
3.พัฒนาบุคลากร ได้แก่การสร้างนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่
4.ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนและเกษตรกรรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
5.สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและข้อมูลด้านตลาดเมล็ดพันธ์ุการทดสอบพันธุ์การทำ Business matching ของภาคเอกชน
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคเอกชนด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์เติบโต และมีความมั่นคงยั่งยืนทั้งระบบ
รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวเพิ่มว่า ความร่วมมือระหว่างสมาคมฯ และกรมวิชาการเกษตร ในการพัฒนา Thailand Seed Hub สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ได้ส่งผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ในการส่งเสริมและพัฒนาการเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์พืช (Thailand Seed Hub) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสมาคมฯ ได้จัดงาน THAILAND INTERNATIONAL SEED TRADE ประจำปีขึ้นที่กรุงเทพฯ และได้เชิญผู้ประกอบการค้าเมล็ดพันธุ์รวมทั้งองค์กรพันธมิตรจากทั่วโลกมาประชุม เจรจาการค้าและการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ในระดับสากล แล้วในฐานะสมาคมเมล็ดพันธ์พืชระดับภูมิภาค ทาง APSA มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเมล็ดพันธ์ผ่านแพลตฟอร์มระดับภูมิภาคและระดับโลกที่หลากหลาย และแหล่งทรัพยากรระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการมองผ่านผลของกลยุทธ์นี้
และงานสำคัญอย่าง Asian Seed Congress ก็เป็นหนึ่งในเวทีหลักที่จะรวบรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมารวมกันเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายของภาคส่วนนี้และด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะคงตำแหน่งในฐานะ “เมืองหลวง”เมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป สร้างความมั่นใจว่าประเทศจะสามารถยืนหยัดในสถานะของตนในฐานะ ศูนย์กลางการจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชเมืองร้อนชั้นนำระดับโลกได้ ดร. ศรัณย์ กล่าว