สวทช. เป็นหน่วยงานวิจัยระดับประเทศ มีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร โดยการจัดกระบวนทัพนำความรู้ เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญที่บ่มเพาะมานานกว่า 30 ปี มาสร้างกระบวนการวิจัยและกลไกที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์สำคัญเร่งด่วนของประเทศ ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือประชาชนและชุมชนต้องเข้าถึงงานวิจัยที่ใช้ได้จริง ด้วยปัญหาคอขวดที่งานวิจัยของประเทศไทยจำนวนมากยังไม่สามารถผลักดันไปสู่การใช้จริงในภาคส่วนต่างๆ ได้ สวทช. ยุค 6.0 ภายใต้การบริหารของ ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ในวาระแรกนี้ ได้กำหนดนโยบายที่เรียกว่า “NSTDA Core Business” โดยในระยะแรกได้คัดเลือกงานวิจัยที่เป็นความเชี่ยวชาญและตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมี 4 เรื่องหลัก คือ
Traffy Fondue แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองที่นำแนวคิด Platform Revolution มาปรับปรุงกระบวน (User Journey) การรับแจ้ง การแก้ไข และบริหารจัดการปัญหาเมือง ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยหน่วยงานของรัฐรับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและช่วยให้เจ้าหน้าที่บริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ ของเมืองได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
รายละเอียด https://www.traffy.in.th/
_
FoodSERP แพลตฟอร์มให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชัน ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์กลุ่มสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) โดยให้บริการตลอดห่วงโซ่การผลิตตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะ (Tailor made) ของลูกค้า ในรูปแบบ One stop service ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบและมาตรฐาน และหน่วยงานภาควิชาการ และกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ Startup กลุ่ม SMEs และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ รวมถึงเครือข่ายผู้ประกอบการผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ข้อมูลโดยย่อ https://www.nstda.or.th/home/services_post/foodserp/
เว็บไซต์หลัก https://www.nstda.or.th/foodserp/
_
Digital Healthcare Platform แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล (Digital Healthcare Platform) เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนในเรื่อง ความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข ในมุมของหน่วยบริการสาธารณสุข โดยพัฒนาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข ทั้งในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภาวิชาชีพด้านการแพทย์ เน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปยกระดับการให้บริการของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ
เว็บไซต์หลัก https://www.nstda.or.th/digitalhealth/
ให้บริการ 5 ระบบ ดังนี้
1. A-MED Care for Pharmacy สำหรับร้านยาบริการดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ
เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สปสช. สภาเภสัชกรรม เครือข่ายร้านยาคุณภาพ ให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทอง
สำหรับร้านยาคุณภาพ เข้าใช้งาน : https://amed-care.hii.in.th/
รายงานสถานการณ์การใช้งาน : https://dashboard-amed-care.hii.in.th/
ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง
- สภาเภสัชฯ ผนึกกำลัง สวทช. และ สปสช. เดินหน้านำเทคโนโลยี A-MED Care Pharma เชื่อมระบบบริการเภสัชกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย
- A-MED Care Pharma แก้วิกฤติโรงพยาบาลแออัด หนุน สภาเภสัชฯ-สปสช. ดูแลผู้ป่วยสิทธิบัตรทองเจ็บป่วยเล็กน้อย รับยาที่ ‘ร้านยาคุณภาพ’
- A-MED Care Pharma ‘เชื่อมร้านยา ดูแล 16 อาการ’
2. A-MED Home Ward เป็น Platform สำหรับโรงพยาบาลที่ให้บริการแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และนักสังคมสงเคราะห์ ในการดูแล รักษา และติดตามอาการของผู้ป่วยในที่บ้าน ซึ่งร่วมกันพัฒนาโดยคณะนักวิจัยกลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สทวช., กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพการแพทย์ปฐมภูมิ (สสป.)
สำหรับโรงพยาบาลทั่วไป เข้าใช้งาน : https://homeward.dms.go.th/
รายงานสถานการณ์การใช้งาน : https://dashboard-homeward.hii.in.th/
3. บริการ A-MED Care สำหรับคลินิกเทดเลเมต (OP Telemed)
บริการการแพทย์ทางไกลในลักษณะผู้ป่วยนอกทั่วไป” (OP Telemedicine) ครอบคลุมรักษา 42 กลุ่มโรคและอาการ
โดยร่วมมือกับผู้ให้บริการแอปพลิเคชันด้านสุขภาพดิจิทัล จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
- แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology (กู๊ด ด็อกเตอร์) โดยจีดีทีคลินิกเวชกรรม
- แอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) โดยคลิกนิกเฮลท์คลินิกเวชกรรม
- แอปพลิเคชัน Mordee (หมอดี) โดยชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม
- แอปพลิเคชัน Saluber MD (ซาลูเบอร์ เอ็ม ดี) โดยสุขสบายคลินิกเวชกรรม
เพื่อเป็นการดูแลประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท
รายงานสถานการณ์การใช้งาน : https://dashboard-optelemed.hii.in.th/
4. บริการ A-MED Care สำหรับคลินิกพยาบาล สำหรับบริการเจ็บป่วยเล็กน้อย
เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สปสช. สภาการพยาบาล เครือข่ายคลินิกพยาบาลอบอุ่น ให้บริการผู้ใช้สิทธิบัตรทอง
รายงานสถานการณ์การใช้งาน : https://dashboard-nurse-clinic.hii.in.th
5. ระบบบริหารจัดการสถานดูแลผู้สูงอายุ (Nirun Platform)
เป็นระบบบริหารจัดการสถานดูแลผู้สูงอายุ ออกแบบและพัฒนาร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ เพื่อใช้ในการดูแลผู้สูงอายุภายในหน่วยงาน รองรับการทำงานของพยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด ตลอดจนพี่เลี้ยงในการดูแลผู้สูงอายุร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในระบบนิรันจะมีการสรุปภาพรวมประจำศูนย์ สัดส่วนผู้สูงอายุตามกลุ่มต่าง ๆ เช่น แบ่งตามกลุ่มอายุ แบ่งตามกลุ่มการประเมิน เป็นต้น ระบบนิรันยังมีแบบประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุมากมาย เช่น แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (ADL) แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า เป็นต้น ติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุได้จากแบบประเมิน
นอกจากนี้มีการเชื่อมต่อระบบภายนอกเช่น เครื่องตรวจสุขภาพอัตโนมัติ (Health Check Up Kiosk for Elderly Persons) เป็นอุปกรณ์ตรวจสุขภาพเบื้องต้น มีการส่งข้อมูลจากเครื่องตรวจสุขภาพอัตโนมัติมายังระบบนิรันโดยอัตโนมัติ และเชื่อมต่อระบบจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นระบบที่จัดรายการอาหารและตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ
ปัจจุบันมีการใช้งานที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุทั้ง 12 ศูนย์ ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ จ.พระนครศรีอยุธยา
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง จ.ชลบุรี
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุธรรมปกรณ์เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุภูเก็ต จ.ภูเก็ต
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขอนแก่น
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณ จังหวัดยะลา
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา
เจ้าหน้าที่ กรมกิจการผู้สูงอายุเข้าใช้งานได้ที่ https://dop.nirun.life
Thailand i4.0 Platform แพลตฟอร์มที่ให้บริการ Digital transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบครบวงจรเพื่อแก้ปัญหาในภาคการผลิตของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยยกระดับภาคการผลิตอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นแรกคือการประเมินความพร้อมในปัจจุบัน ขั้นที่ 2 คือการวางแผนจัดทำแผนปฏิบัติการ (Transformation roadmap) ที่มีรายละเอียดในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และขั้นที่ 3 คือการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ในโรงงาน โดยมีบริการจาก Thailand i4.0 Platform ให้บริการตลอดทั้งกระบวนการ
ข้อมูลโดยย่อ https://www.nstda.or.th/home/services_post/thailand-i4-0-platform/
เว็บไซต์หลัก https://www.nstda.or.th/i4platform/
_
_