หน้าแรก เกี่ยวกับ สวทช. ข้อมูลเผยแพร่ กิจกรรม สวทช. วิทยาศาสตร์และทโนโลยีเพื่อการวิจัยและพัฒนากำลังคน 2 นักวิจัยไทย ในโครงการตามพระราชดำริฯ ร่วมปฏิบัติภารกิจ สำรวจ “ขั้วโลกใต้”
2 นักวิจัยไทย ในโครงการตามพระราชดำริฯ ร่วมปฏิบัติภารกิจ สำรวจ “ขั้วโลกใต้”
28 ธ.ค. 2566
0
วิทยาศาสตร์และทโนโลยีเพื่อการวิจัยและพัฒนากำลังคน

1. เรือโท ดร. ชนะ สินทรัพย์วโรดม
อาจารย์และนักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


     ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา ในโครงการความร่วมมือไทยไอซ์คิวบ์ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี เดินทางถึงสถานีวิจัยที่ขั้วโลกใต้ เมื่อวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 เข้าพักที่อาคาร Amundsen Scott South Pole Station ณ ขั้วโลกใต้
อาคาร Amundsen Scott South Pole Station
ภายในอาคาร Amundsen Scott South Pole Station
ภายในอาคาร Amundsen Scott South Pole Station
  • เยี่ยมชมหอปฏิบัติการไอซ์คิวป์ (IceCube Laboratory) ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีวิจัยอมันด์เซ่น สก็อตต์ ที่ขั้วโลกใต้  
  • โบกธงพระนามาภิไธย สธ. ณ ขั้วลกใต้ ใจกลางทวีปแอนตาร์กติก  โดยธงพระนามาภิไธยฯ ดังกล่าว เป็นธงที่ได้รับพระราชทานเมื่อครั้งที่เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก่อนออกเดินทาง

   

 

2. นางสาวอัจฉราภรณ์ ผักหวาน
นักวิจัยที่ร่วมเดินทางไปขั้วโลกใต้กับคณะของสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Polar Research Institute; KOPRI)

     เดินทางขึ้นเรือตัดน้ำแข็ง Araon ของเกาหลี เพื่อทำงานวิจัยในโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างไทย (โครงการความร่วมมือไทยไอซ์คิวบ์ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารีกับ KOPRI ของเกาหลีใต้ โดยมี ผศ. ดร. วราภรณ์ นันทิยกุล และผศ. ดร. ศิรามาศ โกมลจินดา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินทางไปส่งนางสาวอัจฉราภรณ์ฯ ที่ประเทศนิวซีแลนด์ด้วย โดยเรือตัดน้ำแข็ง Araon จะเดินทางจากประเทศนิวซีแลนด์ ไปเขตวิจัยทางทะเอนัมด์เซน (Amundsen Sea Research Area) สถานีวิจัยจางโบโก (Jang Bogo Station) และสิ้นสุดการเดินทาง ณ เมืองกวางยาง สาธารณรัฐเกาหลี  คณะนักวิจัยจากไทยจะลองใช้งานเครื่องตรวจวัดนิวตรอนช้างแวนที่ติดตั้งบนเรือตัดน้ำแข็ง Araon หลังจากที่มีไฟฟ้าจ่ายบนเรือ หลังจากนั้นนางสาวอัจฉราภรณ จะเดินทางไปกับช้างแวนเพื่อทำการสำรวจรังสีคอสมิกที่เดินทางตัดข้ามละติจูดต่าง ๆ ในช่วงเดือนธันวาคม 2566 – มีนาคม 2567  เรือ Araon มีกำหนดการออกจากท่าเรือ Lyttelton ประเทศนิวซีแลนด์ ในวันที่ 28 ธันวาคม นี้

28 ธ.ค. 2566
0
แชร์หน้านี้: