หน้าแรก จดหมายข่าว สวทช. ปี 2 ฉ.2 – มหกรรมยิ่งใหญ่ “Startup Thailand 2016” ครั้งแรกในประเทศไทย รวมพลังสตาร์ทอัพเติบโตแบบก้าวกระโดดของเศรษฐกิจไทย
จดหมายข่าว สวทช. ปี 2 ฉ.2 – มหกรรมยิ่งใหญ่ “Startup Thailand 2016” ครั้งแรกในประเทศไทย รวมพลังสตาร์ทอัพเติบโตแบบก้าวกระโดดของเศรษฐกิจไทย
12 พ.ค. 2559
0
จดหมายข่าว สวทช. ย่อย

alt

alt

มหกรรมยิ่งใหญ่ ครั้งแรกในประเทศไทย

“Startup Thailand 2016”

รวมพลังสตาร์ทอัพเติบโตแบบก้าวกระโดดของเศรษฐกิจไทย

alt

 “Startup Thailand 2016” เวทีเปิดตัวธุรกิจผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนระดับหัวกะทิ ของประเทศไทยกว่า 200 ราย พร้อมหน่วยงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจากต่างประเทศกว่า 10 ราย ได้มาร่วมแสดงศักยภาพของแต่ละธุรกิจ สร้างเครือข่ายสตาร์ทอัพให้เข้มแข็ง พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา อาชีวะ ผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงาน เกษตรกรยุคใหม่ ผู้บริหารองค์กร รวมทั้งยังช่วยให้นักธุรกิจเอสเอ็มอี ได้เข้าใจและรู้จัก Startup สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้แบบยั่งยืน โดยงาน “Startup Thailand 2016”  ในครั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนรัฐบาลและทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน ซึ่งทำงานร่วมกับอีก 11 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายประชารัฐ และประชาคมสตาร์ทอัพไทย โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นประธานในพิธีเปิด รวมทั้งจะปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “วิสัยทัศน์และพลังสร้างชาติด้วย Startup Thailand” อีกด้วย

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาพบปะกับสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งจะเป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ของไทย และยังได้พบกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนและสนับสนุนสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมในวันนี้ การสร้างพื้นที่ให้สตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นได้แสดง ศักยภาพ ได้เติบโตเพื่อเป็น “ฐานเศรษฐกิจใหม่” ของไทย เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง

alt

ณ วันนี้ ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทาง ICT ที่เข้มแข็ง และในยุคดิจิทัลที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงกันได้เพียงเสี้ยววินาที ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามกระแสที่เกิดขึ้น เปิดโอกาสให้มีการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งมีรูปแบบทางธุรกิจที่ถูกใจผู้บริโภค นำเอาเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ที่อาจขยายสู่ตลาดสากลได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง

ในวันนี้ รัฐบาลได้พยายามผลักดันให้สตาร์ทอัพไทยไปเติบโตได้ในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัพในภาคเกษตรและอาหาร ด้านการศึกษา และด้านสุขภาพ ประเทศไทยต้องการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืช การทำสวน ไร่ นา การพัฒนาชาวไร่ ชาวสวน พัฒนา Thai Smart Farmer ทั้งเกษตรกรรุ่นเดิมและเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของอาชีพเกษตรกร ด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถทางด้านการ ผลิตวัตถุดิบ การแข่งขันด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนการหาโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างช่องทางการตลาดใหม่ ช่วยให้สินค้าเกษตรถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

alt

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า ในฐานะตัวแทนรัฐบาลและเจ้าภาพหลักของงานนี้ ผมมั่นใจว่างาน “Startup Thailand 2016” ครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายให้ผู้ประกอบการที่กำลังหาแนวทางธุรกิจให้มีการพัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืนจากองค์ความรู้และแรงบันดาลใจภายในงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นการเร่งการเติบโตและเพิ่มโอกาสของสตาร์ทอัพไทย ส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้นครั้งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะมีผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวนกว่า 200 บูธ และพร้อมหน่วยงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจากต่างประเทศจำนวนกว่า 10 บูธ และเพื่อให้สอดคล้องกับผู้ประกอบการในแต่ละด้าน โซนการแสดงนิทรรศการสตาร์ทอัพจะแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ประกอบด้วย
    1. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเกษตรและอาหาร (AgriTech & FoodTech)
    2. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรมสะอาด (Industry 4.0 & CleanTech)
    3. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาและการสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ (EdTech & GovTech)
    4. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านอสังหาริมทรัพย์ (PropertyTech)
    5. ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งด้านบริการส่วนบุคคล การท่องเที่ยว และความบันเทิง (Lifestyle : Personal service, TravelTech & Entertainment)
    6. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเข้าถึงสินค้า (E-Commerce & Logistics)
    7. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงิน (FinTech) และด้านการให้บริการสำหรับธุรกิจ (Service Enhancement)
    8. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านสุขภาพ (HealthTech)

12 พ.ค. 2559
0
แชร์หน้านี้: