แผนการดำเนินงานและงบประมาณ สวทช. ปีงบประมาณ 2552
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ปรับระบบการวางแผน และบริหารงบประมาณมาตั้งแต่ปี 2549 โดยมุ่งเน้นให้การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ใน สวทช. บูรณาการร่วมกัน และใช้ระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณ ซึ่งเรียกว่า Strategic Planning Alliance (SPA) มาเป็นกลไกควบคุม และติดตามความคืบหน้าและผลสัมฤทธิ์ของโครงการต่างๆ ในลักษณะโปรแกรมหลักภายใต้คลัสเตอร์ กลุ่มพันธกิจ และเทคโนโลยีฐาน มีการปรับปรุงและพัฒนา ระบบการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2550 สวทช. ได้มีการนำ Balanced Scorecard : BSC มาเป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยให้การวางแผน และติดตามผลการดำเนินงานชัดเจน และสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรมากขึ้น
แผนการดำเนินงานและงบประมาณประจำปี 2552 ฉบับนี้ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ในการประชุมครั้งที่ 8/2551 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 โดยมีแผนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ สวทช. ฉบับที่ 4 (2550-2554) คาดว่าจะใช้กรอบงบประมาณสำหรับดำเนินการ 4,700 ล้านบาท
นอกจากการใช้แผนที่กลยุทธ์ และ Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือบริหารระดับองค์กร เพื่อผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ฉบับที่ 4 (2550-2554) แล้ว สวทช. ยังได้มีการประเมิน ติดตาม และ ทบทวนปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอย่างสม่ำเสมอและนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ประจำปี เพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มั่นใจว่า สวทช. จะบรรลุเป้าหมายตามแผนในที่สุด สวทช. จึงได้กำหนดกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินงานประจำปี 2552 ไว้ 3 ด้าน
- แสวงหาทรัพยากร (รายได้) เพื่อให้ สวทช. สามารถดำเนินงานตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นนอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดิน
- เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์จากผลงานของ สวทช. ให้ส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ผู้มีส่วนได้เสียมองเห็นและรับรู้ได้ และลูกค้าได้ประโยชน์อย่างชัดเจน
- พัฒนาความสามารถของพนักงาน สวทช. โดยการพัฒนาหน่วยผลิต (Production Unit) อันได้แก่ ห้องปฏิบัติ การวิจัยและห้องปฏิบัติการบริการ ให้มีระบบการทำงานที่เอื้ออำนวย และพัฒนาสมรรถนะ (Competency) ของแต่ละคน ให้บรรลุศักยภาพอย่างเต็มที่รวมทั้งควบคุมอัตราการเติบโตของจำนวนบุคลากรและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ สวทช. เอง เพื่อมุ่งให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ขององค์กร ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มปริมาณและคุณค่าของผลงาน
แผนงบประมาณปี 2552
1) แผนรายรับ
– เงินงบประมาณปี 2552
ในปีงบประมาณ 2552 สวทช. ได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลจำนวนทั้งสิ้น 3,414 ล้านบาท ลดลงจากปี งบประมาณ 2551 ที่ได้รับจัดสรรจำนวน 3,606 ล้านบาท เป็นจำนวน 192 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ดังตารางที่ 1
– เงินกันเหลื่อมปี จากปีงบประมาณ 2551
ในปีงบประมาณ 2552 สวทช. ได้ขออนุมัติเงินกันเหลื่อมปี และขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในปีงบประมาณ 2551 รวม 80 ล้านบาท ดังตารางที่ 2
– เงินรายได้จากการดำเนินงาน
ในปีงบประมาณ 2552 สวทช. ตั้งเป้าหมายตาม Balanced Scorecard ที่จะมีเงินรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 705 ล้านบาท โดยคาดว่าเงินรายได้ส่วนใหญ่จะได้จากการรับจ้างวิจัย ร่วมวิจัย และเงินอุดหนุนรับ รองลงมาจะเป็นรายได้จากฝึกอบรม สัมมนา โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 3
จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า ในปีงบประมาณ 2552 สวทช. คาดว่าจะมีรายรับจากเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ จำนวนทั้งสิ้น 4,360 ล้านบาท โดยมีเงินรายได้จากการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 16 ของประมาณการรายได้รวม โดยมีรายละเอียดดังนี้
2) แผนรายจ่าย
– แผนรายจ่ายกลุ่มโปรแกรม (ตามพันธกิจ)
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 สวทช. ได้มีการปรับระบบการบริหารแผนงานและงบประมาณ เป็นลักษณะโปรแกรมหลัก และกลุ่มโปรแกรม โดยจำแนกกลุ่มโปรแกรมออกเป็น 4 กลุ่มหลัก โดยมีแผนรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 เป็นไปตามตารางที่ 5
สำหรับงบประมาณรายจ่ายจำแนกตามหมวดรายจ่าย รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 6
– แผนรายจ่ายรวม
นอกจากแผนรายจ่ายเพื่อการดำเนินงานแล้ว ในปีงบประมาณ 2552 สวทช. ยังมีแผนรายจ่ายเพื่อการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย/ต่อเนื่อง (ตารางที่ 7) แผนรายจ่ายเพื่อการลงทุน (ตารางที่ 8) และเมื่อรวมแผนรายจ่ายทั้งหมด อันได้แก่ การดำเนินงานตามแผนประจำปี 2552 ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย/ต่อเนื่อง เพื่อการลงทุน สวทช. มีแผนรายจ่ายรวม ทั้งสิ้นจำนวน 6,050 ล้านบาท (ตารางที่ 9)
ตารางที่ 8 ประมาณการรายจ่ายทุนประเดิม
ตารางที่ 9 ประมาณการรายจ่ายรวม ปีงบประมาณ 2552
– สรุปแผนรายรับ สูง (ต่ำ) กว่าแผนรายจ่าย
จากตารางแผนรายรับและแผนรายจ่ายรวมข้างต้น ทำให้สามารถสรุปแผนรายรับเมื่อเทียบกับแผนรายจ่าย ดังรายละเอียดในตารางที่ 10