หน้าแรก นักวิจัย สวทช. ขนทัพรับ 33 รางวัล ในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568”
นักวิจัย สวทช. ขนทัพรับ 33 รางวัล ในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568”
2 ก.พ. 2568
0
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา: สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568” (Thailand Investor’s Day 2025) และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2568 จำนวน 180 คน จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมคณะผู้บริหารร่วมแสดงความยินดีกับนักวิจัยศูนย์วิจัยแห่งชาติ ภายใต้สังกัด สวทช. ที่ได้รับรางวัลในสาขาต่าง ๆ รวม 33 รางวัล ดังนี้

ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
1. ดร.ชาคริต ศรีประจวบวงษ์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการพัฒนาแบตเตอรี่ไอออนสังกะสีแบบอัดประจุช้ำได้ซึ่งมีสมรรถนะต่อต้นทุนสูงและวงรอบการใช้งานสูง รางวัลระดับดี สาชาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
1. ดร.ดวงเดือน อาจองค์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยชีโอไลต์จากวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าและเหมืองแร่เพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยามูลค่าสูงสำหรับปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลเหลือทิ้ง รางวัลระดับดีมาก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
2. นายโฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากผลงานวิจัยระบบติดตามและประเมินความเสี่ยงการกัดกร่อนภายใต้ฉนวนโดยเซนเซอร์กระแสชนิดกัลวานิก

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
1. ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยกระบวนการยืนยันตัวตนทั้ง 4 ปัจจัยที่ใช้ได้จริง: การประยกต์ใช้ในการลงเวลา รางวัลระดับดีมาก สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
2. ดร.ยุทธนา อินทรวันณี ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยพื้นผิวเมตาสำหรับการสร้าง การตรวจวัด และการถ่ายภาพโพลาไรเซชันในย่านแสงขาว รางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
3. ดร.อภิชัย จอมเผือก ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากผลงานวิจัยวัสดุเส้นใยคาร์บอนนำไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงจากกากอุตสาหกรรมและยางรถยนต์หมดสภาพ สำหรับอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงาน รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
4. ดร.กมล เขมะรังสี ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากผลงานวิจัยอยู่ไหน แพลตฟอร์มระบบระบุตำแหน่งภายในอาคารสำหรับโรงงานและคลังสินค้าอัจฉริยะ

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
1. ดร.สุภาวดี นาเมืองรักษ์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยฐานข้อมูลและหลักการสร้างวัสดุโลหะอินทรีย์ชนิดใหม่จากสารตั้งต้น CO2 เพื่อนำไปใช้ประโยชน์จาก CO2 ขั้นสูงสุด” รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
2. ดร.สุวัสสา บำรุงทรัพย์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการพัฒนากระดาษพลาสโมนิคสำหรับการประยุกต์ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อมด้วยเทคนิค SERS รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
3. ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการพัฒนากระบวนการเร่งปฏิกิริยาแบบวิวิธพันธุ์เพื่อผลิตกรดอินทรีย์มูลค่าสูงจากเฮมิเซลลูโลสในชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตร” รางวัลระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
4. ดร.นิศากร ยอดสนิท ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยการพัฒนาอนุภาคนาโนไมเซลล์ฐานเดนไดรเมอร์สำหรับนำส่งยาเพื่อรักษาภาวะผนังหลอดเลือดชั้นในเกิดการหนาตัว รางวัลระดับดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
5. ดร.วิศรุต ปิ่นรอด ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยระบบเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาคเพียโซอิเล็กทริกคานสองชั้น ผลิตจากเลดเชอร์โคเนตไททาเนตสำหรับประยุกต์ใช้ในระบบพลังงานต่ำและการพัฒนาไจโรสโคปจากการแทรกสอดของคลื่นเสียง รางวัลระดับดีมาก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
6. ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากผลงานวิจัยสารหน่วงไฟผลิตจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่ รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
7. ดร. ปวีณา ดานะ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยระบบนำส่งยาแบบมุ่งเป้าที่สภาวะแวดล้อมมะเร็ง เพื่อการยับยั้งความรุนแรงของโรคมะเร็งลำไส้
8. ดร.บุญรัตน์ รุ่งทวีวรนิตย์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กแบบหลายอะตอมชนิดใหม่บนตัวรองรับโครงข่ายโลหะ-อินทรีย์ สำหรับการเปลี่ยนมีเทนเป็นเมทานอลโดยตรงที่อุณหภูมิต่ำ
9. ดร.กุลวดี การอรชัย ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการพัฒนาเซนเซอร์ตรวจวัดการปนเปื้อนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในอุตสาหกรรมนม
10. ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการพัฒนานาโนเซนเซอร์ตรวจวัดการปนเปื้อนฟลูออไรด์ โลหะหนัก และสารเคมีตกค้างในน้ำเพื่อประเมินความปลอดภัยเคมีในน้ำอุปโภคบริโภค
11. ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากผลงานวิจัยการพัฒนาฟิล์มเคลือบชนิดอนุภาคระดับนาโนคอปเปอร์ (I) ออกไซด์-ซีโอไลท์ (copper (I) oxide-zeolite) สำหรับยับยั้งเชื้อโควิด-19 และแบคทีเรีย
12. ดร.จันทร์เพ็ญ ครุวรรณ์ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากผลงานวิจัย รู้กัญ: นวัตกรรมเซนเซอร์กราฟีนสำหรับตรวจวัดสารสกัด THC และ CBD จากกัญชา แบบพร้อมกัน
13. ดร.ชลิตา รัตนเทวะเนตร ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากผลงานวิจัยการเปลี่ยนขยะขวดน้ำดื่มพลาสติกสู่วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่มีมูลค่าสูง
14. ดร.สุปรีดา แต้มบุญเลิศชัย ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยการใช้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเรซิควิมอดในการรักษามะเร็งชนิดเมลาโนมา
15. ดร.จิตติมา มีประเสริฐ ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัย “การศึกษาเชิงลึกของฟังก์ชันต่าง ๆ บนตัวเร่งปฏิกิริยาฐานไทเทเนียมไดออกไซด์
16. ดร.จักรภพ พันธศรี ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดสารซีลีเนตโดยใช้วัสดุเหล็กนาโนประจุศูนย์ยึดติดบนซีโอไลต์

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
1.ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการพัฒนาระบบการผลิตจากราเส้นใยสำหรับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมชีวภาพ
2. ดร.ชินวิชญ์ ภมรนาค ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยการพัฒนาวัสดุนำไฟฟ้าจากโปรตีนไฟโบรอินของรังไหม เพื่อใช้รองรับการเจริญเติบโตของเซลล์และการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า สำหรับฟื้นฟูเส้นประสาทในระบบประสาทส่วนปลาย” รางวัลระดับดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
3. ดร.อรวรรณ หิมานันโต ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากผลงานวิจัย Tilapia Strep-Easy Kit ชุดตรวจอย่างง่าย เกษตรกรทำได้เอง สำหรับการเฝ้าระวังและจัดการควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคชิสในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิม รางวัลระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
4. ดร.จิตติมา พิริยะพงศา ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัย PharmVIP: ซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลพันธุกรรมในยีนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยา
5. ดร.บวรลักษณ์ คำน้ำทอง ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการพัฒนาเครื่องหมายพันธุกรรมสำหรับคัดเลือกพันธุ์กุ้งขาวแวนนาไม Litopenaeus vannamei ที่ทนต่อความเครียดและเติบโตดี
6. ดร.วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหม ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการเสริมสร้างสุขภาพกุ้งเพื่อต้านโรคไวรัสด้วยเทคโนโลยีชีวภาพของสาหร่ายเซลล์เดียวแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
7. ดร.ธนธม ไชยลังการณ์ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จากผลงานวิจัยการศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสด้วยเทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดมนุษย์แบบเหนี่ยวนำ รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
8. ดร.พิษณุ ปิ่นมณี ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยการคัดเลือก การทำบริสุทธิ์ และการศึกษาคุณสมบัติของเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสจากเซลล์ยีสต์แซคคาโรไมซิส และการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
9. ดร.พงศกร วังคำแหง ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยวิธีการทางสถิติที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการค้นหา อธิบาย และบอกอายุของการเกิดขึ้นของประชากรและการประยุกต์ใช้ในข้อมูลจีโนมขนาดใหญ่
10. ดร.ธนพร เล้าฐานะเจริญ ได้รับรางวัลผลงานวิทยานิพนธ์ จากผลงานวิจัยการทำความเข้าใจเชิงลึกเพื่อปรับปรุงกลไกระดับโมเลกุลของวิถีการผลิตกรดอินทรีย์ในเชื้อรา Aspergillus niger

สำหรับวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2568” (Thailand Inventors’ Day 2025) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย : ความท้าทายของไทย” ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และยังเป็นเวทีสำคัญระดับชาติและนานาชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย ในด้านการประดิษฐ์คิดค้นต่อการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพออกสู่สายตาคนไทยและประชาคมโลก

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หรือ https://www.inventorsdayregis.com

แชร์หน้านี้: