หลักสูตร
เทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง
(Formulation Techniques and Improvement of Specific Properties of Rubbers)
จัดโดย
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
📌วันที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 9:00-16:30 น.
📌จัดอบรม hybrid คู่ขนาน 2 รูปแบบ
▪️ รูปแบบที่1 อบรม onsite ห้องM120 อาคารเอ็มเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี
▪️ รูปแบบที่2 อบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting
——————
📌ค่าลงทะเบียน
▪️ ข้าราชการและพนักงานองค์กรรัฐ ราคา 3,500 บาท/ท่าน (ไม่มี Vat7%)
▪️ บุคคลทั่วไปและภาคเอกชน ราคา 3,745 บาท/ท่าน (รวม Vat7%)
——————
📌สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
หลักสูตรอบรม เทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง (วันที่ 23 สิงหาคม 2567)
หรือสแกน QR Code บนโปสเตอร์กิจกรรม
หลักการและเหตุผล
หลักสูตรอบรมนี้มีเนื้อหาครอบคลุมเทคนิคในการออกสูตรเพื่อให้ได้สมบัติตามต้องการ โดยเน้นไปที่การปรับค่าความแข็ง ความทนทานต่อแรงดึง ความทนทานต่อการฉีกขาด ความต้านทานต่อการขัดถู การเสียรูปถาวรหลังกด กระเด้งกระดอนและฮิสเตอรีซิส ความทนทานต่อความร้อน/แสงแดด ความทนทานต่อโอโซน ความต้านทานต่อของเหลว การนำความร้อน/การนำไฟฟ้า ความทนทานต่อเปลวไฟ การลดอัตราการเกิดรีเวอร์ชั่น ความทนทานต่อการล้าตัว/การประลัย และการซึมผ่านของก๊าซ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการออกสูตรและปรับปรุงสมบัติเฉพาะของยาง
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยาง และบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องเทคโนโลยีการออกสูตรยาง ทั้งนี้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการอบรมเต็มที่ ผู้เข้าอบรมควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมมาพอสังเขป
กำหนดการ
8.30 น. – 9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 น. – 10.30 น. ทฤษฎีการทำนายสมบัติของยางเมื่อทำการปรับเปลี่ยนสูตร
10.30น. – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 น. – 12.00 น. การปรับค่าความแข็ง ความทนทานต่อแรงดึง ความทนทานต่อการฉีกขาด และความต้านทานต่อการขัดถู
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.30 น. การปรับค่าการเสียรูปถาวรหลังกด การกระเด้งกระดอนและฮิสเตอรีซิส ความทนทานต่อความร้อน/แสงแดด ความทนทานต่อโอโซน และความต้านทานต่อของเหลว
14.30 น. – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 น. – 16.30 น. การปรับค่าการนำความร้อน/การนำไฟฟ้า ความทนทานต่อเปลวไฟ การลดอัตราการเกิดรีเวอร์ชั่น ความทนทานต่อการล้าตัว/การประลัย และการซึมผ่านของก๊าซ