หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ แนะนำข้อมูลเปิดภาครัฐ – คุณลักษณะและการประเมินความพร้อม
แนะนำข้อมูลเปิดภาครัฐ – คุณลักษณะและการประเมินความพร้อม
26 มิ.ย. 2567
0
นานาสาระน่ารู้

ข้อมูลเปิดภาครัฐ

ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำหรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์

คุณลักษณะแบบเปิด  โดยคุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ จากเจ้าของข้อมูล สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟต์แวร์

ประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

  • ช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารประเทศ
  • ช่วยสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  • ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารประเทศ

 

ขั้นตอนสำคัญของการเตรียมข้อมูลเพื่อเปิดเผย  

  • ขั้นตอนที่ 1 การพิจารณาคุณลักษณะข้อมูลเปิดภาครัฐ คุณลักษณะข้อมูลเปิดภาครัฐ 10 ประการ ที่จะนำมาเปิดเผย ควรมีลักษณะดังนี้
    • สมบูรณ์ (Complete) คือ ข้อมูลเปิดต้องพร้อมใช้งาน และไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความมั่นคง หรือมีข้อยกเว้นในการเปิดเผยข้อมูล
    • ปฐมภูมิ (Primary) คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง ไม่มีการปรับแต่ง หรืออยู่ในรูปแบบข้อมูลสรุป
    • เป็นปัจจุบัน (Timely) คือ ข้อมูลต้องเป็นปัจจุบัน และเปิดเผยในเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้กับผู้ใช้ข้อมูล
    • เข้าถึงได้ง่าย (Accessible) คือ ข้อมูลต้องเข้าถึงได้ง่าย ผู้ใช้ข้อมูลสามารถค้นหา เข้าถึง และใช้งานชุดข้อมูลได้หลายช่องทาง
    • อ่านได้ด้วยเครื่อง (Machine-readable) คือ ข้อมูลต้องมีโครงสร้าง สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง และนำข้อมูลไปใช้งานต่อได
    • ไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discriminatory) คือ ผู้ใช้ข้อมูลต้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องระบุตัวตน หรือเหตุผลของการนำไปใช้งาน
    • ไม่จำกัดสิทธิ (Non-proprietary) คือ ข้อมูลต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเปิดที่สามารถใช้ได้หลายแพลตฟอร์ม และต้องไม่ถือครองกรรมสิทธิ์หลังจากนำข้อมูลเปิดไปใช้ประโยชน์
    • ปลอดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (License-free) คือ ข้อมูลต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือความลับทางการค้า
    • คงอยู่ถาวร (Permanence) คือ ข้อมูลต้องสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา และมีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของชุดข้อมูล
    • ไม่มีค่าใช้จ่าย (Free of charge) คือ ผู้ใช้ข้อมูลต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล
  • ขั้นตอนที่ 2 ประเมินความพร้อมของการเปิดเผยข้อมูล ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปหรือ กระบวนการเตรียมการเปิ ดเผยข้อมูล จะต้องประเมินความพร้อมของการเปิดเผยข้อมูลภายในหน่วยงาน โดยจะประเมินจาก 5 กิจกรรมนี้
    • การบริหารจัดการข้อมูลเปิด จัดทำแผนในการบริหารจัดการและเปิดเผยข้อมูล
    • การสร้างองค์ความรู้และทักษะ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐภายในหน่วยงาน
    • การสนับสนุนและส่งเสริมการนำข้อมูลไปใช้ ส่งเสริมให้เกิดการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
    • งบประมาณ กำหนดงบประมาณที่จำเป็นต่อการเปิดเผย
    • การกาหนดกลยุทธ์  กำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน

หลังจากผ่านการเตรียมการทั้ง 2 ขั้นตอนแล้ว สามารถดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป เพื่อเตรียมการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

แหล่งข้อมูล : https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/03/ราชกิจจานุเบกษา_เปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ.pdf

แชร์หน้านี้: