วารสารข่าวด้านการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์จากกรุงบรัสเซลส์
ฉบับที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ 2565
รางวัลเกียรติคุณ Friend of Thai Science 2021
การมอบรางวัลเกียรติคุณ Friend of Thai Science ให้แก่บุคคลผู้มีคุณูปการต่อวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย (อววน.) ที่มีผลงานวิจัยเป็นที่ประจักษ์และความเชี่ยวชาญโดดเด่น หรือ มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือด้าน อววน. ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับไทยและมนุษยชาติ รวมทั้งผลงานสามารถนำไปต่อยอดกับแผนพัฒนาประเทศไทยด้าน อววน.
ยุโรปมุ่งพัฒนาเป็นผู้นำด้านการผลิตไมโครชิปเพื่อเสริมสร้างอธิปไตยทางดิจิทัล
ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ใช้ในการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ยานยนต์ ตลอดจนการผลิตดาวเทียม ไมโครชิปเป็นทรัพย์สินเชิงกลยุทธ์ เป็นหัวใจของการแข่งขันด้านเทคโนยีของโลก เป็นรากฐานสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ เช่น ระบบยานยนต์อัตโนมัติ การประมวลผลแบบ cloud การเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ 5G/6G และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งการระบาดของโควิดได้เน้นย้ำให้สหภาพยุโรปเห็นถึงความเปราะบางในห่วงโซ่การผลิตไมโครชิปทั่วโลก
ผลกระทบของโควิทต่อการผลิตไมโครชิปและอุตสาหกรรมในยุโรป
วิกฤติการแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคโครวิด การขนส่งวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตหยุดชะงัก นอกจากนี้โรงงานผลิตต้องปิดตัวชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ทำให้การผลิตไมโครชิปสู่ตลาดโลกลดลง ทางกลับกันความต้องการของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น จึงจำเป็นต้องชะลอการผลิต บางรายปิดโรงงานชั่วคราว เช่น บริษัท Mercedes Benz บริษัท BMW และบริษัท Volkswagen และมีการปิดฝ่ายการผลิตที่โรงงานผลิตรถบรรทุกในประเทศเยอรมนีเป็นการชั่วคราว
แผนส่งเสริมการเป็นผู้นำด้านการผลิตไมโครชิปของยุโรป
สหภาพยุโรปได้จัดตั้งกลุ่มพันธมิตรของบริษัทผู้ผลิตไมโครชิป ประกอบด้วย บริษัท ASML บริษัท Infineon บริษัท STM และบริษัท NXP เพื่อช่วยศึกษาช่องว่างของการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครชิปของยุโรป เพื่อขยายอุตสาหกรรมการผลิตให้เทียบเท่าของสหรัฐฯ จีน และ เกาหลีใต้
ล่าสุดประกาศว่าจะมีการออกกฎหมาย European Chips Act เพื่อช่วยสร้างระบบนิเวศ โดยจุดแข็ง คือ การเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไมโครชิป และการผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตไมโครชิป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนต้องการลดการพึ่งพาการนำเข้าไมโครชิปจากต่างประเทศ ภายใต้แนวคิด “Strategic Autonomy”
โดยองค์ประกอบหลักของร่างกฎหมาย European Chips Act มี 3 ข้อดังนี้
1. การจัดตั้ง Chips for Europe Initiative ซึ่งเป็นการรวบรวมทรัพยากรด้านอุตสาหกรรมไมโครชิปจากประเทศสมาชิกและประเทศพันธมิตรเข้าด้วยกัน และอัดฉีดงบประมาณ ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไมโครชิปชั้นสูง พร้อมทั้งฝึกอบรมบุคลากรให้มีความเข้าใจถึงระบบนิเวศและห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมไมโครชิป
2. การจัดทำแผนงานเพื่อดึงดูดการลงทุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการผลิตไมโครชิปในยุโรป เพื่อเพิ่มอธิปไตยทางการผลิต และลดการพึ่งพาการนำเข้าไมโครชิปจากต่างประเทศ ทั้งยังจัดสรรทุน Chips Fund ให้แก่วิสาหกิจเริ่มต้น (start-ups) ในการต่อยอดและขยายตลาดของนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านไมโครชิป
3. การจัดตั้งกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อช่วยติดตามและตรวจสอบอุปทานไมโครชิปคำนวณอุปสงค์ และคาดการณ์ปัญหาขาดแคลนไมโครชิป ทำแผนเพื่อหาจุดอ่อนในการผลิต
หน่วยงานที่สำคัญด้านการพัฒนาไมโครชิปในยุโรป
ในยุโรปมีศูนย์วิจัยไมโครชิปที่สำคัญ ได้แก่ Interuniversity Microelectronics Centre (IMEC) ในเบลเยียม เป็นผู้นำด้านการผลิตไมโครชิปขนาดจิ๋วแต่ประสิทธิภาพสูง และรับเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากนี้ยังมีบริษัท ASML ของเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับใช้ในโรงงานผลิตไมโครชิปทั่วโลก
บริษัท ASML ได้ใช้เทคโนโลยี Extreme ultraviolet lithography เพื่อผลิตชิปขนาดจิ๋วแต่ทรงพลัง สามารถประมวลผลได้เร็ว มีประสิทธิภาพ และจุข้อมูลจำนวนมหาศาล ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยี Extreme ultraviolet lithography หรือ EUV ใช้ผลิตชิปและเซมิคอนดักเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แสงอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นสั้นมากๆ ขีดเขียนลายวงจรไฟฟ้าและมีขนาดเล็กโดยมีลำแสงความยาวคลื่นที่สั้น ช่วยให้เขียนลายวงจรได้ละเอียดบนพื้นที่จำกัด เหตุนี้จึงสามารถผลิตชิปที่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ได้ และเมื่อนำชิปขนาดจิ๋วไปใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้มีน้ำหนักเบา กินไฟน้อยลง แต่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและจุข้อมูลได้มากขึ้น
ภาพรวมสถานะและความก้าวหน้าของประเทศลิทัวเนีย ในด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ศักยภาพด้านนวัตกรรม (innovation performance) สาธารณรัฐเช็กจัดอยู่นวัตกรรมระดับกลาง (moderate innovators) อยู่ลำดับที่ 2 รองจากประเทศเอสโตเนีย ถือว่าสาธารณรัฐเช็กเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในกลุ่มนี้ และมีอักตราการเติบโตสูงสุดในกลุ่มเช่นกัน โดยมีการพัฒนาสูงสุด้านภาวะผู้ประกอบการ และทรัพย์สินทางปัญญา การเพิ่มขึ้นรายได้จากต่างประเทศจากการจัดทำใบอนุญาตและสิทธิบัตร จุดแข็งของสาธารณรัฐเช็กคือ ทรัพยากรมนุษย์ และภาวะผู้ประกอบการ จุดอ่อนคือ ระบบทางการวิจัยที่ยังไม่เปิดกว้าง และไม่น่าดึงดูดเท่าที่ควร
การบินและอวกาศ พลังงาน เทคโนโลยีการขนส่ง และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นสาขาที่มีความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ มีความร่วมมือระดับนานาชาติ แม้ไม่ใช่สาขาที่สาธารณรัฐเช็กมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด แต่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ได้สูง ทางกลับกันมีความเชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์สาขาที่เกี่ยวกับอาหาร การเกษตร และประมง ซึ่งมีวารสารวิชาการสาขาเหล่านี้ตีพิมพ์ออกมาเป็นจำนวนมาก
ความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมอวกาศของสาธารณรัฐเช็ก
สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) ใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้านอวกาศทางวิทยาศาตร์ นานกว่า 60 ปี ช่วงเริ่มต้น 10 ปีแรก เป็นการใช้ข้อมูลจากระบบเซ็นเซอร์ (sensors) ที่เชื่อมต่อกับดาวเทียมขนาดเล็กในการทดลอง ค้นคว้า และวิจัยในสถาบันวิจัยและภาคธุรกิจขนาดเล็ก จุดเปลี่ยนของการพัฒนากิจการด้านอวกาศเกิดจากการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การอวกาศยุโรป หลังจากนั้นมาพัฒนาการด้านกิจการอวกาศมีความโดดเด่น การพัฒนาและบทบาทในด้านกิจการอวกาศมาอย่างต่อเนื่อง
เมื่อต้นปี ค.ศ. 2020 ได้ประกาศ แผนกิจการด้านอวกาศแห่งชาติ 5 ปี (National Space Plan 2020-2025) (NSP 2020-2025) วัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างศักยภาพและขีดความสามารถด้านกิจการอวกาศทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา ตลอดจนเพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้การลงทุนด้านอุตสาหกรรมอวกาศเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและยังเป็นยุทธศาสตร์ สาธารณรัฐเช็กให้ความสำคัญด้านอวกาศหลายมิติ เช่น การสังเกตการณ์โลกเพื่อสำรวจทรัพยากร การสำรวจอวกาศ การสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบนำร่องด้วยดาวเทียม การบินในอวกาศโดยมนุษย์และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และการเฝ้าระวังกิจกรรมทางอวกาศ
ปัจจุบันสาธารณรัฐเช็กมีบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งเริ่มต้นจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจของ ESA Business Incubation Center (ESA BIC) นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้ง Czech Space Alliance (CSA) เป็นสมาคมผู้ประกอบการด้านกิจการอวกาศ มีบทบาทสำคัญโดยเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตและพัฒนาอุปกรณ์และส่วนประกอบของจรวดและสถานีอวกาศ พัฒนาโปรแกรมและซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอวกาศ
ความร่วมมือระหว่างไทยและสาธารณรัฐเช็กในมิติกิจการด้านการบินและอวกาศ
การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็ก ในปี 2562 รัฐบาลไทยและสาธารณรัฐเช็กได้มีการหารือร่วมกัน โดยเฉพาะการพัฒนาความร่วมมือทางทหาร – การบิน โดยรัฐบาลสาธารณรัฐเช็กได้แสดงความสนใจการลงทุนใน eastern seaboard ของไทย โดยไทยจะร่วมมือกับสาธารณรัฐเช็กในการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาโรงงานประกอบและศูนย์อำนวยความสะดวกการซ่อมบำรุงซ่อมแซม และยกเครื่อง (MRO: Maintenance, Repair, and Overhaul) อากาศยาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2022/20220915-newsletter-brussels-no02-feb65.pdf