หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ BCG BCG Implementation แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล Digital Healthcare Platform
แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล Digital Healthcare Platform
20 ธ.ค. 2566
0
BCG Implementation

พัฒนาการบริการการแพทย์ปฐมภูมิ รวมถึงการส่งต่อไปสู่การแพทย์ทุติยภูมิ/ตติยภูมิ แก้ไขปัญหาของประชาชนในเรื่องความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข และอุปสรรคในการเข้าถึงหน่วยบริการ แก้ไขปัญหาหน่วยบริการสาธารณสุขที่มีภารกิจมากและหลากหลายเกินจำนวนบุคลากรที่จะรองรับได้ และขาดเครื่องมือช่วยในการบริหารจัดการให้รองรับผู้ป่วยให้ได้มากขึ้น รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในการเตรียมเอกสารเพื่อเบิกจ่ายผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยมีผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้ มีแพลตฟอร์มบริการการแพทย์ปฐมภูมิและระบบเบิกจ่าย (A-MED Care) แพลตฟอร์มบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยในที่บ้าน (A-MED Home Ward) แพลตฟอร์มการเบิกจ่าย (e-Claim Gateway) แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (D1669) แพลตฟอร์มบริการข้อมูลและเฝ้าระวังโรคของกรมควบคุมโรค (DDC-Care) แพลตฟอร์มล่ามภาษามือทางไกลสำหรับการแพทย์ (TTRS-Care) สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วประเทศได้รับประโยชน์ 800,000 คน สภาเภสัชกรรม ร้านยาเภสัชชุมชน 1,500 แห่ง

โครงการที่ 1

แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ปฐมภูมิและระบบเบิกจ่าย (A-MED Care) แพลตฟอร์มบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยในที่บ้าน (A-MED Homeward) และแพลตฟอร์มการเบิกจ่าย (e-Claim Gateway)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

  1. ให้บริการผู้ป่วยนอก (OPD) ที่มีการเจ็บป่วยเล็กน้อย ในแพลตฟอร์ม A-MED Care มากกว่า 1.2 ล้านครั้งต่อปี หรือไม่น้อยกว่า 600,000 คนต่อปี (ผู้ป่วยนอกสามารถกลับมาใช้บริการซ้ำได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี) และมีหน่วยบริการปฐมภูมิร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 1,500 แห่ง
  2. ให้บริการผู้ป่วยใน (IPD) ที่มีกลุ่มโรคตามเกณฑ์การดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน ในแพลตฟอร์ม A-MED Home ward มากกว่า 25,000 ครั้งต่อปี หรือไม่น้อยกว่า 20,000 คนต่อปี (ผู้ป่วยในสามารถกลับมาใช้บริการซ้ำได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี) และมีโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ/ตติยภูมิ เข้าร่วมโครงการมากกว่า 500 แห่ง
  3. ให้บริการเบิกจ่าย (e-Claim Gateway) มียอดการเบิกจ่ายผ่านระบบฯ ไม่น้อยกว่า 500,000 ครั้งต่อปี และมีหน่วยบริการนำร่องอย่างน้อย 10 แห่ง 

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

แพลตฟอร์มการให้บริการดูแลผู้ป่วยและอำนวยความสะดวก ผ่านหน่วยบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โครงการที่ 2

แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (D1669)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

ประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศเข้าถึงบริการฉุกเฉินการแพทย์ 1 ล้านคนต่อปี และมีการใช้งานในโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ 400 แห่ง

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

ศูนย์ D1669 ที่เชื่อมต่อกับศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถระบุพิกัดที่โทรแจ้ง และเชื่อมต่อกับเอกชนผ่าน EMS Gateway

โครงการที่ 3

แพลตฟอร์มบริการข้อมูลและเฝ้าระวังโรคของกรมควบคุมโรค (DDC-Care)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตาม พรบ. ของกรมควบคุมโรค (คร.) ผ่าน 1442 และแอปพลิเคชัน โดยประชาชนในโรงงานที่ติดตามสุขภาพ 1 ล้านคน มีผู้เข้ารับการอบรมการใช้งานไม่น้อยกว่า 500 แห่ง ภายใต้กรมควบคุมโรค (คร.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) โรงพยาบาลรัฐบาล ไม่น้อยกว่า 500 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

ระบบบริการข้อมูลและเฝ้าระวังโรค ติดตั้งให้กับกรมควบคุมโรค โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการเฝ้าระวังโรค และประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการเฝ้าระวังโรคแบบ Location-based ได้

โครงการที่ 4

แพลตฟอร์มล่ามภาษามือทางไกลสำหรับการแพทย์ (TTRS-Care)

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567-2571)

เกิดการใช้งานโดยโรงพยาบาลรัฐบาลทั่วประเทศ รพ.สต. ทั่วประเทศ สำหรับคนพิการทางการ ได้ยินที่ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่น้อยกว่า 1,000 แห่ง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ 7,000 คน เจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาล 1,000 คน และคนพิการทางการได้ยินเข้าถึงบริการทางการแพทย์ 10,000 คน

แผนงาน/สิ่งส่งมอบ

ระบบบริการล่ามทางไกลโดยการเชื่อมต่อการสื่อสาร สำหรับเข้าถึงบริการแบบปกติ แบบฉุกเฉิน และแบบ Telehealth เพื่อคนพิการทางการได้ยิน

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. A-MED Care สำหรับร้านยา มีร้านยาเข้าร่วม 1,500 แห่ง
  2. A-MED Care สำหรับคลินิกพยาบาล มีคลินิกเข้าร่วม 300 แห่ง
  3. A-MED Homeward มี โรงพยาบาลเข้าร่วม 500 แห่ง
  4. ระบบ e-Claim Gateway สำหรับการเบิกจ่าย กองทุน สปสช. มีอย่างน้อย 10 หน่วยบริการที่ใช้งาน
  5. ระบบ UCEP ในส่วนการประเมินคัดแยกระดับความฉุกเฉิน (Pre-Authorization) ของ สพฉ มี โรงพยาบาลเข้าร่วม 300 แห่ง
แชร์หน้านี้: