หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ BCG BCG Implementation การพัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน
การพัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน
20 ธ.ค. 2566
0
BCG Implementation

พัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE และ SDG เพื่อสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของประเทศไทย ประกอบด้วย

  1. พัฒนาข้อมูลตัวชี้วัดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศไทย หรือ SDG 12 ให้กับสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
  2. พัฒนาข้อมูลดัชนีการหมุนเวียนวัสดุ (Material Circularity Index, MCI) ตามเป้าหมายของหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 – 2570) ให้กับ สศช.
  3. พัฒนาข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม และเหล็ก/เหล็กกล้า สนับสนุนผู้ประกอบการ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับมาตรการ (Carbon Adjustment Mechanism, CBAM)
  4. พัฒนาแพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน สนับสนุนเป้าหมายของโมเดล BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน
  5. พัฒนาฐานข้อมูลและค่ากลางขยะอาหาร (Food Waste) จากแหล่งกำเนิดต้นทางของประเทศ ให้กับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) สนับสนุนการจัดทำ (ร่าง) แผนที่นำทางการจัดการขยะอาหาร (พ.ศ. 2566 – 2573) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

โครงการที่ 1

 พัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลด้าน CO2, CE, SDG เพื่อการค้าและความยั่งยืน

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. ฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องด้าน CO2, CE และ SDG เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายของหมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
  2. ฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกในการรองรับรับมาตรการ CBAM เพื่อสนับสนุนภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน

แผนงาน

  1. พัฒนาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อมูลค่าเพิ่ม (GHG emission per value added) และการบริโภคพื้นฐานต่อการใช้ทรัพยากร (Material Footprint, MF)
  2. พัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ ดัชนีการหมุนเวียนวัสดุ (Material Circularity Index, MCI) ในผลิตภัณฑ์เป้าหมาย (พลาสติก วัสดุก่อสร้าง และเกษตร-อาหาร)
  3. พัฒนาและปรับปรุงฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตระดับประเทศให้ทันสมัยและเหมาะสมในบริบทของไทย ได้แก่ ฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม เพื่อรองรับมาตรการ CBAM จากฐานข้อมูลในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าเป้าหมาย

โครงการที่ 2

แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบบริหารจัดการข้อมูล Food loss & Food Waste ของประเทศ

เป้าหมายตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2567 – 2571)

  1. แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายของโมเดล BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน
  2. ฐานข้อมูลและค่ากลางขยะอาหาร (Food Waste) จากแหล่งกำเนิดต้นทางประเภทธุรกิจค้าปลีก รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลขยะอาหารกับข้อมูลการสูญเสียอาหาร เพื่อผลักดันให้เกิดระบบบริหารจัดการข้อมูล Food loss & Food Waste ของประเทศ

แผนงาน

  1.  พัฒนาแพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเก็บข้อมูล ติดตาม และรายงานผลตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับ BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามข้อมูลตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
  2. พัฒนาฐานข้อมูลและค่ากลางของขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดต้นทางประเภทธุรกิจค้าปลีก รวมถึงพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชันติดตามประเมินปริมาณขยะอาหาจากแหล่งกำเนิดต้นทาง ด้วยเทคโนโลยีการประมวลด้วยภาพถ่าย (Image Processing) และระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ที่สามารถแสดงตำแหน่งที่ตั้งและปริมาณขยะของแต่ละแหล่งกำเนิด
  3. เชื่อมโยงข้อมูลขยะอาหาร (Food Waste) กับข้อมูลการสูญเสียอาหาร (Food Loss) ของประเทศ

ผลงานเด่นที่คาดว่าจะเกิดในปี 2567

  1. ฐานข้อมูลตลอดวัฏจักรชีวิตของสินค้าส่งออกกลุ่มอะลูมิเนียม และเหล็ก/เหล็กกล้า
  2. แพลตฟอร์มติดตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเน้น 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พลาสติก วัสดุก่อสร้าง และเกษตร-อาหาร
  3. แอปพลิเคชันติดตามประเมินปริมาณขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดต้นทาง
20 ธ.ค. 2566
0
แชร์หน้านี้: