หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ การต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ดีหรือไม่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ศึกษาจากผู้อำนวยการสถาบัน Max Planck ประเทศเยอรมัน
การต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ดีหรือไม่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ศึกษาจากผู้อำนวยการสถาบัน Max Planck ประเทศเยอรมัน
31 มี.ค. 2564
0
นานาสาระน่ารู้

เป็นการศึกษาผลของการเปิดเผยการประดิษฐ์ (invention disclosure), การอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานวิจัย (licensing) และ กิจกรรม spin-off ของผู้อำนวยการสถาบัน Max Planck ประเทศเยอรมัน (หน่วยงานวิจัยของรัฐบาลที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัย) ในช่วงปี 1985-2004 ที่มีต่อการเผยแพร่ (publication) และการอ้างอิงผลงาน (citation) พบว่า

  1. การประดิษฐ์เทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ซึ่งต่อมามีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานวิจัย มีผลเพิ่มจำนวนการเผยแพร่และการอ้างอิงผลงาน ในขณะที่การเป็นผู้ก่อตั้ง spin-off ระยะยาว มีจำนวนการเผยแพร่และการอ้างอิงผลงานในระดับต่ำ
  2. การประดิษฐ์ที่ได้รับอนุญาตให้ spin-off มีผลไม่สำคัญต่อการเผยแพร่หรือการอ้างอิงผลงาน แสดงว่าการอนุญาตให้ spin-off ไม่มีผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นมาพิเศษต่อนักวิจัย
  3. นักวิจัยมีการเผยแพร่และการอ้างอิงผลงานมากขึ้นหลังจากการเปิดเผยการประดิษฐ์ที่มีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานวิจัยครั้งแรก
  4. การไหลเวียนของรายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิในงานวิจัยและการต่อยอดการประดิษฐ์สู่เชิงพาณิชย์ไม่มีผลทางบวกต่อคุณภาพและปริมาณการเผยแพร่ผลงานของนักวิจัย
  5. ผลของการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับภาคเอกชนไม่สามารถมีผลต่อความสามารถในการวิจัยของนักประดิษฐ์ทางวิชาการและนักวิจัยที่ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่นในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์อาวุโสซึ่งมีตำแหน่งสูงสุดในภาคเอกชน โดยเฉลี่ยมีจำนวนการเผยแพร่และการอ้างอิงผลงานลดลง

 

ที่มา: Guido Buenstorf (2009). Is commercialization good or bad for science? Individual-level evidence from the Max Planck Society. Retrieved February 4, 2021, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0048733308002746

 

แชร์หน้านี้: