คณะนักวิจัยจาก Princeton University พัฒนาเทคนิคใหม่ใช้ในการสร้างโมเลกุลกัมมันตรังสี (radioactive molecules) ทำให้ยาใหม่ไปสู่คนป่วยเร็วขึ้นมาก
ยาใหม่ทุกตัวต้องได้รับการทดสอบว่ามีผลต่อส่วนของร่างกายที่เป็นเป้าหมายหรือไม่ ติดตามเส้นทางของสารเคมีหนึ่งที่ละลายในกระแสเลือดเป็นเรื่องที่ยาก แต่นักเคมีกัมมันตรังสีได้แก้ปัญหาหลายปีที่ผ่านมาโดยแลกเปลี่ยนแต่ละอะตอมด้วยกัมมันตรังสี David MacMillan หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าวว่า ผลก็คือคุณสมบัติของยาเหมือนเดิมยกเว้นเป็นกัมมันตรังสี ซึ่งหมายความว่าง่ายที่จะติดตาม
MacMillan กล่าวว่า ทำให้อะตอมกัมมันตรังสีเหล่านี้เข้าไปอยู่ในยาเป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้เวลานานเป็นเดือน 2 เดือน 3 เดือนเพียงเพื่อให้ได้สารปริมาณเล็กน้อยมีอะตอมกัมมันตรังสีสองสามอะตอม
แต่คณะนักวิจัยค้นพบวิธีที่ดีกว่า โดยใช้แสง LED สีฟ้าและตัวเร่งปฏิกิริยา (catalysts) ซึ่งตอบสนองต่อแสง เรียกว่า photocatalysts งานวิจัยนี้เผยแพร่ออนไลน์ในวารสาร Science เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน
MacMillan กล่าวว่า ถ้าคุณฉายแสงไปยัง photocatalysts จะแทนที่อะตอมที่ไม่ใช่กัมมันตรังสีด้วยอะตอมกัมมันตรังสี
คณะนักวิจัยใช้น้ำกัมมันตรังสีซึ่งแทนที่ไฮโดรเจนที่เป็นส่วนประกอบของน้ำด้วย tritium (รูปกัมมันตรังสีของไฮโดรเจน มี 2 นิวตรอนเพิ่มขึ้นมาต่ออะตอม)
MacMillan กล่าวว่า ถ้าเพียงคุณปล่อยให้ยาอยู่ในน้ำกัมมันตรังสีและส่องแสงไปยังตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวเร่งปฏิกิริยาจะกำจัดออกอะตอมซึ่งไม่ใช่กัมมันตรังสี ในที่นี้คือไฮโดรเจน และแทนที่ด้วย tritium
วิธีการนี้ใช้เวลาเพียงเป็นชั่วโมงแทนเป็นเดือนและใช้ได้ดีกับสารประกอบที่ใช้บ่อยๆ หลายชนิด คณะนักวิจัยได้ทดสอบวิธีนี้กับยาที่วางขายแล้ว 18 ตัวและที่ค้นพบโดย Merck
สำหรับสารประกอบที่ไม่ต้องการเป็นกัมมันตรังสี วิธีนี้ยังใช้แทนที่ด้วย deuterium (รูปของไฮโดรเจนที่มีเพียง 1 นิวตรอนเพิ่มขึ้นมา) การแทนที่ด้วย deuterium และ tritium สามารถประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางในการค้นพบยา
ที่มา: Princeton University (2017, November 9). LEDs light the way for better drug therapies. ScienceDaily. Retrieved December 14, 2017, from https://www.sciencedaily.com/releases/2017/11/171109140801.htm