คณะนักวิจัยจาก RMIT University ที่ Melbourne ออสเตรเลีย ได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ได้ผลกับไวรัสหลายโรครวมถึงโรคไข้หวัดใหญ่และโรคไข้หวัดธรรมดา ผลการศึกษาเผยแพร่ในวารสาร Nature Communications
คณะนักวิจัยเริ่มด้วยการศึกษาไวรัสทำให้คนเกิดโรคได้อย่างไร และค้นพบว่า ขบวนการทางชีววิทยาของเซลล์อายุ 1.5 พันล้านปี ซึ่งพบในพืช รา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทำให้เกิดโรคไวรัสมากขึ้นในหนูและนอกจากนี้ในคน
คณะนักวิจัยได้แยกโปรตีนชื่อ Nox2 oxidase ซึ่งถูกกระตุ้นโดยไวรัสหลายตัว ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสไข้หวัดธรรมดา ไวร้สไข้เลือดออก และไวรัสโรคเอดส์
เมื่อถูกกระตุ้น Nox2 oxidase จะยับยั้งปฏิกิริยากำจัดไวรัสหลักของร่างกายและความสามารถในการต่อสู้และกำจัดการติดเชื้อไวรัส ซึ่งผลคือโรคที่รุนแรงมากขึ้นในหนู
คณะนักวิจัยค้นพบว่า โปรตีน Nox2 oxidase เมื่อถูกกระตุ้นโดยไวรัสอยู่ในส่วน endosomes ของเซลล์
คณะนักวิจัยค่อยๆ เปลี่ยนโครงสร้างของสารเคมีซึ่งยับยั้งการทำงานของ Nox2 oxidase เพื่อให้ได้ยาใหม่ที่รักษาโรคเหล่านี้
ยาที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมพบว่ามีประสิทธิภาพดีมากในการยับยั้งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
วิธีการรักษาในปัจจุบันมีข้อจำกัดคือมีเป้าหมายเป็นไวรัสที่หมุนเวียนในร่างกายและไม่มีผลหรือมีเล็กน้อยต่อไวรัสใหม่ซึ่งเข้าสู่ร่างกาย แต่ในการศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมายเป็นไวรัสใหม่
ที่มา: RMIT University (2017, July 12). New research points to treatment breakthrough for viruses. ScienceDaily. Retrieved November 23, 2017, from https://www.sciencedaily.com/releases/2017/07/170712072807.htm