รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2561

ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 9 กันยายน 2561

งานวิจัยเพื่อการพัฒนาตามนโยบายประเทศไทย 4.0
1 เชิงอรรถ : ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0
การศึกษาชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมภาคอุตสาหกรรมไทยรองรับการเชื่อมโยงในภูมิภาคด้วยเศรษฐกิจดิจิตอลระยะที่ 1 (สศอ.,2559) และระยะที่ 2 (สศอ.,2560) โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการทั้ง 2 ระยะนี้เพื่อจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยทั้งในระดับภาพรวมและอุตสาหกรรมรายสาขา สำหรับการศึกษานี้จะมุ่งเน้นในส่วนของการวิเคราะห์นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยนบริบบทของเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งประกบด้วย 1 โดยนัยยะของเศรษฐกิจดิจตอลต่อการพัฒนาอุตสาหรรม 2 โดยนับของโมเดลประเทศไทย 4.0 3 เป้าหมายการพัฒนาและอุตสาหกรรมเป้าหมายและ 4 การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า องค์กรธุรกิจในยุคดิจิตอลคือองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยการวิเคราะห์ข้ดมูลแล้วนำไปสร้างสรรค์คุณค่า การยกระดับองค์กรอุตสาหกรรมไทยเพื่อแปลงสภาพไปสู่องค์กรธุรกิจในยุคดิจิตอลรวมถึงการพัฒนาไปสู่อุตาหกรรม4.0 นั้นประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1 การจัดการข้อมูลดิจิตอลและการสร้างคุณคา และ 2 การพัฒนารับเครือข่ายและความเชื่อมโยง ส่วยนัยของโมเดลประเทศไทย 4.0 นั้น การกำหนดอุตสหกรรมเป้าหมายนั้นเป็นนโยบายจากบนลงล่างไม่สอดคล้องกับบริบทอุตสาหกรรมเป็นนโยบายจากบนลงล่างไม่สอดคล้องกับบริบทอุตสาหกรรมปัจจุบันที่เป็นเครือข่ายโซ่คุณค่า ดังนั้น การกำหนดยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมไทยควรมุ่งเน้นที่ Theme ของการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต
2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นนโยบายที่ช่วยส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเพิ่มการสร้างสรรค์ทางด้านนวัตกรรมและขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจหรือไม่

ประเทศไทยมีอุทยานวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจโดยใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมของประเทศ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการเป็นนโยบายที่ช่วยสนับสนุนให้วิสาหกิจเจริญเติบโตและมีการพัฒนาโดยการเข้าไปช่วยเพิ่มการสร้างสรรค์ทางด้านนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นนโยบายที่ช่วยเพิ่มการสร้างสรรค์นวัตกรรมและขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับวิสาหกิจ โดยให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาการวิจัยและการเชื่อมโยงกับสถาบันองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งจะทำให้วิสาหกิจสามาถแข่งขันในตลาดได้ และช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต
3 สมรรถนะของภาคอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์จากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมได้อย่างไร? การค้นพบจากการทบทวนอย่างเป็นระบบ
การศึกษาสมรรถนะในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม จะทำให้ทราบว่ามีสมรรถนะใดบ้างที่ควรส่งเสริมและนำมาใช้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลลัพธ์จากความร่วมมือฯ ตลอดจนสามารถนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างสำเร็จ นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังนำเสนอการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงนโยบายรวมถึงแนวทางในการทำวิจัยในอนาคตอีกด้วย
รางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี ค.ศ. 2018
คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาสรีศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปี ค.ศ. 2018 ให้แก่ศาสตราจารย์ เจมส์ พี.อัลลิสัน จากศูนย์มะเร็งเอ็ม.ดี.แอนเดอร์สัน มหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ ทาซูกุ ฮอนโจ ผู้เชี่ยวชาญระบบภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น จากผลงานการค้นพบวิธีการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการควบคุมตัวยับยั้งของระบบภูมิคุ้มกัน

โรคมะเร็งกับการรักษาในอดีต
โรคมะเร็ง คือ โรคของเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติที่สามารถบุกรุก ทำลายอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ดี ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกาย โดยปกติเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจะไม่ทำลายเซลล์ของร่างกายเนื่องจากมีความสามารถในการจดจำเซลล์ของร่างกายได้ จึงสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โดยมีทีเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในระบบป้องกันของร่างกายการรักษาโรคมะเร็งในอดีต รักษาโดยการผ่าตัด การฉายรังสี เคมีบำบัด และการใช้ฮอร์โมน ซึ่งพบว่าไม่สามารถใช้ในการบำบัดรักษามะเร็งบางชนิดได้ผล ซึ่งเข้าทำลายทั้งเซลล์มะเร็งรวมไปถึงเซลล์ปกติด้วย
การค้นพบตัวยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน
ในปี ค.ศ.1990 ศาสตราจารย์อัลลิสัน ได้ค้นพบโปรตีน CTLA-4 เป็นตัวยับยั้งการทำงานของทีเซลล์ ซึ่งควบคุมโดยโปรตีน 2 ชนิดคือตัวยับยั้งและตัวเร่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 ศาสตราจารย์อัลลิสัน ได้พัฒนาแอนติบอดีเข้าไปจับกับโปรตีน CTLA-4 จากการทดลองทีเซลล์สามารถเข้าโจมตีเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การพัฒนาวิธีการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
หลังจากนักวิจัยค้นพบตัวยับยั้งทีเซลล์ มีการคิดค้นแอนติบอดีที่ต่อต้านการทำงานของตัวยับยั้งเหล่านั้น และนำมาทดลองปรากฏว่ายับยั้งการทำงานของโปรตีนในการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งไต มะเร็งปอด

การพัฒนาสู่ยารักษาโรค
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติให้ใช้แอนติบอดีต้านโปรตีนเป็นยารักษามะเร็งผิวหนัง มีชื่อยาทางการค้าว่า “เยอร์วอย” (Yervoy) โรคมะเร็งเป็นปัญหาด้านสุขภาพของมนุษยชาติมากกว่า 100 ปี ที่นักวิทยาศาสตร์ได้มีความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
กระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมของประเทศฝรั่งเศส
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. เข้าพบผู้แทนของกระทรวงอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรมของประเทศฝรั่งเศส (Ministry of Higher Education, Research and Innovation, MESRI) เพื่อศึกษาดูงาน เรียนรู้รูปแบบการทำงาน อุปสรรค ความท้าทายในการดำเนินงาน และนำมาถอดบทเรียนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งการดูงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางและรูปแบบการทำงานของหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่กำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นในเร็วๆ นี้
วิวัฒนาการของการดำเนินงานของ MESRI
ในปีค.ศ. 2004/2005 มีการจัดตั้งสำนักงานเพื่อการวิจัยแห่งชาติ เพื่อเป็นสถาบันที่ให้ทุนสำหรับการวิจัยและการจัดตั้งคลัสเตอร์ต่างๆ
ในปีค.ศ.2009 มีการจัดตั้งภาคีการวิจัย เพื่อที่จะเพิ่มความสามารถของการวิจัย ผลิตผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและทางการแพทย์
ในปีค.ศ.2010 ดำเนินโครงการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 29.7 พันล้านยูโร
ในปีค.ศ.2013/2014 ดำเนินโครงการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 5.3 พันล้ายูโร รวมถึงออกกฎหมายสำหรับอุดมศึกษาและการวิจัย และการจัดตั้งคลัสเตอร์ด้านอุดมศึกษาและห้องปฏิบัติการวิจัยที่มีคุณภาพชั้นนำระดับสากล
ในปีค.ศ. 2015-2016 ดำเนินโครงการการลงทุนสำหรับโครงการในอนาคตครั้งที่ 3 เป็นจำนวนเงิน 5.9 พันล้านยูโร รวมถึงการออกยุทธศาสตร์ชาติด้านการวิจัย การพัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งชาติ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการวิจัย
นโยบายสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ฝรั่งเศสได้กำหนดนโยบายหลัก ประกอบด้วย 1. การสนับสนุน Triangle of Knowledge ซึ่งคือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการวิจัย การศึกษา และนวัตกรรม 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเชื่อมโยงของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำวิจัย เช่น การสร้างคลัสเตอร์ตามภูมิศาสตร์หรือสาขาความเชี่ยวชาญ 3. การลงทุนใน Blue Sky Research ซึ่งเป็นการวิจัยที่ไม่สามาถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ทันทีแต่อาจนำไปสู่แง่คิดทางทฤษฎีและการสร้างการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการสู่ตลาด

ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติของฝรั่งเศส
เป็นสถาบันวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศสและเป็นองค์กรทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใหญ่ในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์คือ
ทำการประเมินและดำเนินงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ชั้นสูงใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
พัฒนา ประยุกต์ใช้ และต่อยอดผลการวิจัย
พัฒนาฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือการอบรมด้านการวิจัย
เข้าร่วมในกระบวนการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศประจำชาติ และในระดับนานาชาติ และนำผลลัพธ์ไปต่อยอดสู่นโยบายระดับชาติ
สถาบันวิจัยของรัฐแห่งอื่นๆ ในประเทศฝรั่งเศส ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ MESRI
สถาบันวิจัยของรัฐ ได้แก่ Inserm ,Inra, Inria,CEA โดยสถาบันจะทำสัญญากับรัฐบาลเป็นเวลา 4 ปี ในการับการสนับสนุน แต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายปีด้วยการผ่านการประเมินและยอมรับจากคณะกรรมการ ซึ่งจะประเมินจากเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และผลที่ได้รับหลังจากการนำเสนอเป็นปีต่อปี โดยเงินที่ได้รับร้อยละ 80 เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเงินเดือนพนักงาน ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190624-newsletter-brussels-v9-sep61.pdf

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2561

ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2561

โครงการความร่วมมือ InTBIR เพื่อพัฒนาการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมอง
ที่มาของโครงการ
หลักการและเหตุผลของการจัดตั้งเริ่มจากมีผู้ป่วยภาวะบาดเจ็บทางสมองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุหลักของภาวะบาดเจ็บทางสมองคือ อุบัติเหตุบนท้องถนน หล่นจากที่สูง และได้รับแรงกระแทกขณะเล่นกีฬา
รูปแบบการทำงาน
โครงการความร่วมมือ InTBIR มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อหลักคือ
1.การศึกษาโดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตุการใช้วิธีการรักษาแล้วนำผลการรักษามาเปรียบเทียบเพื่อดูประสิทธิภาพของการรักษา
2.รวบรวมและแบ่งปันข้อมูล เนื่องจากแต่ละประเทศมีประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการส่งต่อข้อมูลระหว่างประเทศ
3.ต่อยอดการศึกษา ปัจจุบันโครงการความร่วมมือ InTBIR มีองค์กรที่เข้าร่วมสมาชิก 5 องค์กร ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป สถาบันวิจัยสุขภาพของแคนาดา สถาบันสุขภาพแห่งชาตของสหรัฐอเมริกา กระทรวงกลาโหมสหรัฐ และองค์กรการกุศล One Mine
การประชุมคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 21

ความเป็นมาและภาพรวม
คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา เป็นคณะกรรมาธิการเฉพาะด้านของสหประชาชาติ ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่ให้คำปรึกษาระดับสูงและข้อเสนอแนะแก่สมัชชาใหญ่ เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติว่าด้วยเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในระบบสหประชาชาติ โดยเฉพาะบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 43 ประเทศ ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมสมัยที่ 18 เป็นสมัยแรก เมื่อวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2558 สำหรับการประชุมสมัยที่ 21 หัวข้อหลักคือ
1.บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญภายในปี ค.ศ.2030
2.การสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่และอุบัติใหม่ โดยมุ่งเน้นมิติด้านเพศและด้านเยาวชน
บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน
“บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกัน” โดยหัวข้อว่า “จากโลกสู่ท้องถิ่น : การสนับสนุนสังคมที่ยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท”

ความก้าวหน้าในการอนุวัตและติดตามผลลัพธ์การประชุม World Summit on the Information Society
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลมีนัยต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วนต้นทุนที่ลดลงของ hard drive storage ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ได้แก่ วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data analytics) การพิมพ์สามมิติ (3D printing)
การสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่และอุบัติใหม่โดยมุ่งเน้นมิติด้านเพศและด้านเยาวชน
ทักษะดิจิทัลแบ่งเป็น 4 ระดับ คือการรับเทคโนโลยี (adoption) ระดับที่สองคือการใช้งานขั้นพื้นฐาน (basic use) ระดับที่สามคือการใช้งานเชิงสร้างสรรค์และการดัดแปลงเทคโนโลยี (creative use and adaptation of technologies) และระดับสูงสุดคือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีสมัยใหม่ (creation of new technologies)
การทบทวนนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
กรอบการดำเนินงานใหม่คือ “นวัตกรรมมีส่วนมาน้อยแค่ไหนในการจัดการปัญหาท้าทายหลักๆ ของสังคม?” กรอบการดำเนินงานใหม่ควรปรับลักษณะเฉพาะให้เป็นภาพสะท้อนเชิงยุทธศาสตร์ที่วางแนวการทบทวนตามความยั่งยืน มีทิศทางแน่นอน ขยายการมีส่วนร่วมให้กว้างขวางขึ้น คำนึงถึงแนวทางใหม่ๆ ของการสร้างนวัตกรรม และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงนโยบาย
บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีนัยสำคัญภายในปี ค.ศ.2030
สำหรับรัฐบาลประเทศสมาชิก : เพิ่มการสนับสนุนกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ส่งเสริมการใช้พลังงาน
หมุนเวียนทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และเกษตรกรรม
สำหรับประชาคมนานาชาติ : อำนวยความสะดวกกิจกรรมวิจัยร่วมระดับนานาชาติและระดับภูมิภาครวมถึงการพยากรณ์แนวโน้ม และการใช้แนวทางแบบองค์รวม ระหว่าง น้ำ อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190619-newsletter-brussels-v8-aug61.pdf

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2561

ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2561

โครงการความร่วมมือ JPND: ความหวังในการจัดการโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท

โครงการความร่วมมือ JPND เป็นโครงการวิจัยระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในการศึกษาโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท โดยมุ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนร่วมระหว่างประเทศเพื่อนำมามาใช้เป็นงบสนับสนุนงานวิจัยในการศึกษาหาสาเหนุและพัฒนาวิธีการรักษาโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท เพื่อที่จะสามารถให้การรักษาได้อย่างเฉพาะเจาะจงได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ

หลักการและเหตุผล
เริ่มมาจากสถานการณ์ที่ยุโรปกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยโรคที่พบมากและส่งผลต่อสุขภาพคือโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์และพาร์คินสันซึ่งเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ยาก โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลจัดการ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ทำให้เกิดการถดถอยทางความจำ ความคิดและทักษะอื่น อย่างต่อเนื่อง ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุ โดยระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2-10 ปี ในระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่าวยจะไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม สื่อสาร หรือทำกิจวัตรประจำวันของดนได้ จึงต้องการดูแลเป็นพิเศษอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดภาระต่อผู้ดูแลและสังคมโดยรวม

รูปแบบการทำงาน
กรอบการทำงานแบ่งออกเป็นส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
1 ปรับปรุบความเข้าทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทให้ดีมากยิ่งขึ้น
2 พัฒนาเครื่องมืทางการแพทย์เพื่อให้แพทย์สามาถใช้ในการวินิฉัยตรวจหาโรค และรักษาโรคได้ดีมากยิ่งขึ้น
3 พัฒนาโครงสร้างการให้การดูแลและบริการทางสังคมเพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย
โครงการได้กำหนดเป้าของการทำงานไว้ 4 เป้าหมายดังนี้
1 พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ และกำหนดกลยุทธ์ในการป้องกันการเกิดโรค
2 ปรับปรุงการให้การบริการและการดูแลทางสุขภาพและทางสังคม
3 สร้างความตระหนักและช่วยให้เกิดการยอมรับต่อผู้ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท
4 ช่วยบรรเทาภาระทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากโรคชนิดนี้
ขอบเขตการทำงาน
JPND มุ่งเน้นการทำงาน 3 ด้านหลักดังนี้
1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์
2 การศึกษาทางการแพทย์
3 งานบริการทางสังคม
ไขความลับกล้องโทรทัศน์วิทยุ

กล้องโทรทรรศน์วิทยุ
อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ศึกษาคลื่นวิทยุคือ กล้องโทรทรรศน์วิทยุ หลักการทำงานเช่นเดียวกับสถานีรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม แต่กล้องโ?รทรรศน์วิทยุตรวจวัดสัญญาณที่มีความเข้มต่ำมาก มีระบบขับเคลื่อนแม่นยำสูง สามารถติดตามเทหวัตถุท้องฟ้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนานหลายชั่วโมง การเพิ่มประสิทธิภาพทำได้โดยเพิ่มขนาดจานรับสัญญาณ เรียกว่า เครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (Very Long Baseline Interferometer: VLBI) ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเสมือนกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่มีขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุทั้งหมด

กล้องโทรทรรศน์วิทยุในประเทศไทย

ประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เหตุน้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) จึงได้กำหนดแผนติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 40 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตร สำหรับกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติของประเทศไทย ประเทศไทยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตรกับ บริษัทเอ็ทีเมคคาทรอนิกส์ จำกัด ตั้งอยู่ที่เมืองไมนซ์ สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี ในอนาคตประเทศไทยยังมีแผนติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตร และขยายเครือข่ายสถานีเชื่อมสัญญาณไปอีก 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และสงขลา ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเสมือนกับกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประทศและเชื่อมต่อกับเครือข่าย VLBI
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุ
เครือข่ายแทรกสอดระยะไกลยีออเดติกส์ของโลก เป็นประโยชน์ต่อกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย  ในการสร้างและเชื่อมโยงโครงข่ายหมุดหลักฐาน ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เนื่องจากวิจัยดาราศาสตร์และฟิสิกส์ระดับรากฐานจำเป็นสำหรับงานวิจัยทางวิศวกรรมจึงเปิดโอกาสให้เทคโนโลยีขั้นสูงได้รับการพัฒนา หลายสาขา เช่น วิศวกรรม โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เกิดเป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านเทคนิคขั้นสูง อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และภาคอุตสาหกรรม
ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของดาราศาสตร์วิทยุ
การศึกษาด้านยีออเดซี่ : ใช้ในการวิจัยชั้นบรรยากาศและธรณีวิทยา เช่น เครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล เป็นวิธีวัดตำแหน่งเปลือกโลก ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ในการสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเปลือกโลก และการเกิดแผ่นดินไหว
การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศ : คลื่นวิทยุจากเทหวัตถุ โดยโมเลกุลในชั้นบรรยากาศ เช่น น้ำ ออกซิเจน และไนโตรเจน ส่งเสริมการศึกษาและวิจัยด้านการทำฝนหลวง และวางแผนจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและป่าไม้
แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย
แนวคิดที่ 1 : พืชดัดแปลงพันธุกรรม
ผลิตภัณฑ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมภายใต้ชื่อสินค้า “Beauty Leaves” เป็นพืชที่ผลิตโปรตีนที่ช่วยลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ช่วยให้ผู้บริโภคที่ใช้สารจากพืชดังกล่าวบำรุงผิวหน้ามีผิวหน้าที่ชุ่มชื่นยิ่งขึ้น ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย ชะลอความแก่ของผิวหน้า  แนวคิดนี้มีองค์ความรู้มาจาการผลิตโปรตีนช่วยลดการเกิดริ้วรอยสกัดมาจากเซลล์มนุษย์ จากนั้นจะถูกขนถ่ายด้วยแบคทีเรียเข้าสู่เซลล์พืชต้นแบบ ปลูกง่ายในประเทศไทย
แนวคิดที่ 2: เครื่องพิมพ์พลาสเตอร์ปิดแผล
แนวคิดเริ่มต้นมาจากพลาสเตอร์ปิดแผลมีขนาดไม่พอดีกับขนาดแผล ดังนั้นหากเราสร้างพลาสเตอร์ยาสำหรับปิดแผลซึ่งมีขนาดพอดีกับขนาดบาดแผลขึ้นมาใช้ได้เอง จะสะดวกอย่างยิ่ง การทำงานเริ่มจากสแกนบาดแผลแล้วใช้โปรแกรมคำนวณหาขนาดบาดแผลที่เล็กที่สุด เครื่องพิมพ์สามมิติจะทำการสร้างพลาสเตอร์แล้วพิมพ์ออกมา ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของบาดแผลและพิมพ์ได้ครั้งละหลายชิ้น
แนวคิดที่ 3 : แว่นตาอัจฉริยะ
แว่นตาเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ผู้มีปัญหาทางด้านสายตามักสวมใส่เป็นประจำ แต่ราคาแพง ไม่คงทน การใช้งานจำกัด แว่นตาอัจฉริยะถูกคิดขึ้นมาเพื่อลดปัญหาเหล่านั้น สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือได้ และสือสารโดยตรงกับสมองได้ โดยแว่นตาอัจฉริยะถูกพัฒนามาจากเลนส์น้ำมีต้นทุนการผลิตที่ถูก และสามารถควบคุมได้เพื่อปรับระยะโฟกัสของเลนส์โดยอัตโนมัติ การอ่านและบันทึกคลื่นสมองจาก EEG และ High speed brain computer interfacing technologies ในการสั่งงานการทำงานของแว่นตา สัญญาณภาพที่เห็นไม่ชัดเจนจากสมองจะควบคุมระยะโฟกัสของเลนส์จนสมองรับรู้สัญญาณภาพที่ชัดเจน

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190624-newsletter-brussels-v7-July61.pdf

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2561

ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2561

งานประชุม Brussels Tech Summit 2018

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้เข้าร่วมงาน “Brussels Tech Summit” ณ กรุง บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ซึ่งปีนี้มาในธีมธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Intelligent Enterprises เช่น ระบบดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ โดยภายในงานประชุมมีการนำเสนอแนวโน้มทางเทคโนโลยีที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1 สังคมแห่งปัญญาประดิษฐ์ (Citizen AI) โดยมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาเป็นแรงงานแทนมนุษย์ จึงจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ด้วย เช่น รถยนต์อัตโนมัติเมื่อหลายปีก่อนเราพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้งานที่ปลอดภัยแต่มาในปัจจุบันได้พัฒนาระบบรถยนต์โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปด้วย กล่าวคือ ระบบคอมพิวเตอร์ในรถที่เชื่อมต่อกับระบบ Cloud สามารถคำนวณระยะทางและการตัดสินใจในการขับรถและมีปฎิกิริยากับสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ไหนควรตัดสินใจอย่างไร และจะเกิดผลกระทบตามมาอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์ช่วยลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
2 โลกเสมือนผสานโลกจริง (Extended Reality) ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบเสมือนจริง หรือเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality หรือ VR) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้จำลองเพียงภาพและเสียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประสาทสัมผัสอื่นด้วย อีกหนึ่งเทคโนโลยีคือ ความเป็นจริงเสริมหรือความเป็นจริงแต่งเติม (Augmented Reality หรือ AR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำภาพเสมือนที่เป็นรูปแบบ 3 มิติ จำลองเข้าสู่โลกจริงผ่านกล้องและการประมวลผลที่จะนำวัตถุมาทับซ้อนเข้าเป็นภาพเดียวกัน การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ Virtual Reality และ Augmented Reality นำมาพัฒนาธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยี Virtual Reality มาใช้ในการสมัครงาน โดยผู้สมัครสามารถดูบรรยากาสการทำงานจริงๆ ซึงถือว่าเป็นการประหยัดเวลากทั้งฝ่ายผู้สม้ครและนายจ้าง ส่วนในภาคเอกชน บริษัท Uniqlo ได้นำเทคโนโลยี Augmented Reality มาประยุกต์ใช้กับการส่องกระจกดูเสื้อผ้าผ่าน QR-Code ซี่งลูกค้าจะได้ลองชุดเสมือนจริงผ่านกระจกเงา 
3 คุณภาพของข้อมูล (data veracity) คือ คุณภาพหรือความแม่นยำของข้อมูลที่มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งต้องมาทำการจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
4 ธุรกิจที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Frictionless Business) องค์กรธุรกิจต้องอาศัยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง การผลักดันให้เกิดองค์กรอัจฉริยะจึงต้องเริ่มจากการออกแบบองค์กรแบบใหม่ เช่น บริษัทขายที่ตระหนักถึงแนวโน้มของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ได้มีการพัฒนาโซลูชั่นให้ลูกค้าสามารถรู้ต้นทางของผลไม้ที่จะซื้อว่าปลูกมาจากไหน เมื่อไหร่ ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถตรวจสอบที่มาได้ในเวลาไม่กี่วินาที
5 ระบบคิดที่เชื่อมต่อกัน (Internet of Thinking) การเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ และความเป็นจริงเสมือนการสร้างสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นนอกจากต้องอาศัยบุคลากรและทักษะความเชี่ยวชาญใหม่ๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องทำให้โครงสร้างทางเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความทันสมัยขึ้นด้วย ในอดีตอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) หมายถึงทุกอย่างในอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อกัน แต่เมื่อมาถึงยุค Internet of Thinking นักพัฒนาต่างก็พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยี และการใช้งานบนพื้นฐานใหม่ คือ การกระจายความคิดใหม่ๆ ออกไป

ปัจจัยหลักต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร : สิ่งที่ควรรู้ในการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์
ปัจจัยหลักที่มีผลต่ออนาคตของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมีอยู่ 2 ประการคือ ตลาดและระบบการผลิต แบ่งเป็น 2 ปัจจัยย่อยได้แก่ 1) การพัฒนาระหว่างประเทศ และ 2) ผู้บริโภค สำหรับปัจจัยทางระบบการผลิตถูกแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยย่อยได้แก่ 1) ความสามารถในการผลิต 2) ความสามารถในการทำกำไร และ 3) ความยั่งยืน
ปัจจัยการพัฒนาระหว่างประเทศ
ประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มไปถึง 11.2 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าความต้องการด้านอาหารก็จะเพิ่มขึ้นด้วยซึ่งเราจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้
ปัจจัยทางด้านผู้บริโภค อาหารมีความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงไปตามระดับพัฒนาและ GDP ของประเทศ เช่น ประเทศที่ด้อยพัฒนาซึ่งมีค่า GDP ต่ำมากๆ ประชากรจะนิยมเลือกรับประทานอาหารที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เช่น ธัญพืช ข้าว และ ถั่ว แต่สำหรับประเทศพัฒนาและมีค่า GDP สูง เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป จะเลือกรับประทานอาหารที่มีความซับซ้อน คุณภาพ มีความหลากหลาย มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เช่น อาหารปลอดสารพิษ อาหารออร์แกนิก อาหารเพื่อส่งเสริมหรืออาหารฟังก์ชัน และอาหารเพื่อรักษาโรค

ปัจจัยด้านความสามารถในการผลิต
ปัจจุบันความสามารถการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้ทรัพยากร เช่น ที่ดิน น้ำ แรงงาน และพลังงาน โดยสิ่งที่เราต้องการคือเทคโนโลยี เพื่อมากระตุ้นให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการการมีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด แต่การใช้ทรัพยากรไม่จำกัด เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถการผลิตคือ Big data ซึ่งจะมีข้อมูลในส่วนของผู้บริโภค ข้อมูลการซื้อขายสินค้า ข้อมูลที่ใช้ใน social media และข้อมูลที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ โดยข้อมูลเหล่านี้นำมาพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มระดับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร สร้างนวัตกรรมอาหารใหม่ๆ สุดท้ายนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพของมนุษย์และสัตว์
ปัจจัยด้านความสามารถในการทำกำไร
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในการทำกำไรก็คือราคา แต่ปัจจุบันราคาสินค้าอาหารและการเกษตรมีความผันผวนเป็นอย่างมาก หมายความว่าวันนี้ผู้ผลิตอาจจะได้กำไร แต่พรุ่งนี้อาจจะขาดทุน ดังนั้นการจัดการกับความผันผวนของราคาเป็นสิ่งจำเป็น
ปัจจัยด้านความยั่งยืน
ความยั่งยืนเป็นประเด็นสำคัญทั้งวาระทางการเมืองและการพาณิชย์ในทุกห่วงโซ่การผลิตการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุม 3 มิติ ดังนี้ คือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศเยอรมนี
ความสำคัญของเศรษฐกิจชีวภาพในประเทศเยอรมนี
เศรษฐกิจชีวภาพในประเทศเยอรมนีครอบคลุมทั้งภาคการผลิตและบริการที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ รวมถึงวัตถุดิบจากภาคการเกษตร ป่าไม้ ประมง ของเสียชีวภาพต่างๆ ชีวมวลที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมชีวภาพที่สำคัญประกอบด้วย 1 ไม้ ชีวมวลจากภาคเกษตร ประกอบด้วยพืชสำหรับผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ เรพซีด ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือ และละหุ่ง 2 พืชสำหรับผลิตเอทานอล ได้แก่ ข้าวโพด ช้าวสาลี อ้อย หัวบีท และฟาง และ3 พืนที่นำมาผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ต้นข้าวโพด หญ้า หัวบีท และเศษของพืชต่างรวมถึงของเสียจากภาคอุสาหกรรม 
นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพของเยอรมนี
เยอรมนีมีการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เช่น ยุทธศาสตร์วิจัย “National Research Strategy Bioeconomy 2030” เพื่อใช้เป็นกรอบการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศ แผนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน “German Resource Efficiency Programme” แผนการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน “Energy Concept for and Environmentally Sound, Reliable and Affordable Energy Supply” และ แผนที่นำทางการพัฒนาอุตสาหกรรมโรงกลั่นชีวภาพของประเทศ “Biorefineries Roadmap” เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการประสานงานในระดับนโยบาย และมีการจัดการและสื่อสารข้อมูสู่สังคม รวมถึงมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงเพื่อผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพ

กลยุทธ์พัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ มีบทบาทอย่างมากในแผน National Research Strategy Bioeconomy 2030 โดยกำหนดเป้าหมายชีวภาพให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมเศรษฐกิจชีวภาพของโลก ” A Leading Research and innovation center in bioeconomy” พัฒนาและกระตุ้นการเติบโตของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ โดยส่งเสริ่มการวิจัยและพัฒนา ใน5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร 2) การผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 3) การเพาะปลูกและทำการเกษตรอย่างยั่งยืน 4) การพัฒนาพลังงานจากชีวมวล 5) การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
ระบบการวิจัยของเยอรมนี
การเตรียมความพร้มด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เป็นการรวมตัวของ 4 หน่วยงานวิจัย มุ่นเน้นสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ 4 สาขา ได้แก่ อาหารและอาหารสัตว์ เชื้อเพลิงชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และ เคมีชีวภาพ
หน่วยงานวิจัยหลักด้านเศรษฐกิจชีวภาพ
หน่วยงานวิจัยหลักด้านเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศเยอรมนีคือ German Bioeconomy Council ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 17 ท่านมาจากหลายสาขา หน้าที่ของหน่วยงานนี้คือ
1 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการก้าวสู่เศรษฐกิจชีวภาพบนฐานความรู้
2 กำหนดกรอบ/ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ
3 พัฒนาระบบการฝึกอบรมและการสร้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อรองรับเศรษฐกิจชีวภาพ
4 การสื่อสารกับกลุ่มต่างๆ ของสังคม

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190620-newsletter-brussels-v6-june61.pdf

รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2561

ข่าวกรุงบรัสเซลส์ ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2561

การประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีปยุโรป (TSAC2018) ครั้งที่ 7 ประจำปี 2561

 เมื่อวันที่ 18-20 พ.ค.61 สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ได้ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. จัดประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีปยุโรป (TSAC2018) ครั้งที่ 7 ประจำปี 2561 ในหัวข้อ “การมุ่งเน้นนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์” ภายใต้แนวคิด “Bridging Academic Research and Practical Impleicatain : knowledge creation and transferring”พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ : ทิศทางและนโยบายกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาประเทศไทยโดยการใช้นวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle-income trap)
 งานประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีปยุโรปจัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2555 โดยสมาคมนักเรียนไทยในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และมีการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีหมุนเวียนไปตามประเทศต่างๆ เป้าหมายเพื่อเป็นเวทีให้นักเรียนไทยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในงานวิจัย ประสบการณ์จากการเรียน และการใช้ชีวิตในต่างประเทศ สิ่งสำคัญอีกประการของการประชุมคือ การสร้างเครือข่ายนักเรียนและนักวิจัยในทวีปยุโรป โดยการประชุมวิชาการนักเรียนไทยในทวีปยุโรปครั้งที่ 7 จัดขึ้น ณ ประเทศเบลเยียม เนื่องจากได้ให้ความสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การใช้งานจริง โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานและความช่วยเหลือในการจัดตั้ง บริษัท Startup และ Spin-off ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาและทำวิจัยในทวีปยุโรประดับปริญญาโท-เอก จำนวน 62 คน

Fraunhofer Institute Center Schloss Birlinghoven (IZB)
 สถาบันฟรอนโฮเฟอร์ IZB เป็นศูนย์วิจัยด้านสารสนเทศและคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี เพื่อวิจัยถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมและสังคม
1. Fraunhofer-Institute for Algorithms and Scientific Computing (SCAI) ดำเนินการวิจัยในด้านการจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต รวมถึงการออกแบบและเพิ่มประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม และทำการคำนวณผ่านการใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) นอกจากนี้ยังมีฝ่ายชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) ที่มุ่งเน้นพัฒนาวิธีการเพื่อใช้สำหรับการสกัดข้อมูลและเคมีสารสารสนเทศ
2. Fraunhofer Institute for Applied Information Technology (FIT) จะดำเนินการวิจัยในรูปแบบบูรณาการระหว่างสาขา โดยจะบูรณาการความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
3. Fraunhofer Institute for Intelligent Analysis and Information Systems (IAIS) พัฒนานวัตกรรมในการวิเคราะห์และสร้างข้อมูล โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาขาการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) ซึ่งเป็นกระบวนการใช้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ และสาขาธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence, BI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ และการเข้าถึงข้อมูลนำมาพัฒนาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ บริการและกระบวนการผลิต
4. Fraunhofer Institute for Secure Information Technology (SIT) ดูแลเรื่องการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

สาขางานวิจัยที่มุ่งเน้นของสถาบันฟรอนโฮเฟอร์ IZB
1 ระบบกริดและการคำนวณแบบกลุ่มก้อนเมฆ (Grid and Cloud Computing) โดยจะต่อยอดการใช้เทคโนโลยีเว็บไซต์ไปยังการบริการอื่นๆ ในสาขาเทคโนโลยีเว็บไซต์
2 การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) เป็นกระบวนการที่ใช้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ แล้วสกัดพร้อมแปลผลข้อมูลออกมา
3 การออกแบบระบบโต้ตอบระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์ (Man-machine interaction, MMI)
ข้อมูลสถานภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม (วทน.) ของประเทศออสเตรีย
ประเทศออสเตรียมีจุดแข็งด้านพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน นวัตกรรมด้านการคมนาคมโดยเฉพาะขนส่งระบบราง ชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีด้านการแพทย์และเภสัชศาสตร์ชีวภาพฯ ประเทศออสเตรีย มี 3 กระทรวงที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ประกอบด้วย

1 กระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัย และเศรษฐกิจ เป็นกระทรวงที่สร้างแนวทางให้กับบริษัทและภาคเอกชน ผ่านการสนับสนุนด้านการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีพันธกิจหลักในด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาระดับอุดมศึกษา การวิจัย การวางนโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนานวัตกรรม นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
2 กระทรวงขนส่ง นวัตกรรม และเทคโนโลยี เป็นกระทรวงที่สร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม รับผิดชอบ 3 ด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านคมนาคม ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านโทรคมนาคม
3 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อมและการจัดการน้ำ ทำหน้าที่ในการดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การดูแลป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดยมีพันธกิจหลัก 6 อย่างคือ
– การผลักดันการใช้พลังงานทดแทนในกิจการและคาร์บอนไดออกไซด์
– การนำนวัตกรรมด้านต่างๆ มาใช้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
– การให้ความรู้ต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อและตัดสินใจในการซื้อสินค้า
– การปลูกจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากร น้ำ ป่าไม้ อากาศ
– ส่งเสริมกิจกรรมการเกษตรและกสิกรรมในชนบทเพื่อเป็นฐานความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
– การจัดการอุทกภัย เช่น น้ำท่วม ระบุความเสี่ยงด้านอุทกภัยและตำแหน่งที่เกิด นโยบายและมาตรการป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดอุทกภัย
ความร่วมมือด้าน วทน. ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรีย
ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างประเทศไทยและประเทศออสเตรียดำเนินการผ่าน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพ.) และ Natural History Museum Vienna โดยรูปแบบของความร่วมมือมีทั้งการจัดแสดงผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรและ
นักวิจัย

ปัญหาการนำเข้าขยะพลาสติกจากยุโรปเข้าสู่ประเทศไทย
เมื่อปี 2560 ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม สหราชอาณาจักรได้ส่งออกขยะพลาสติกมายังประเทศไทยเป็นจำนวน 51,000 กิโลกรัม แต่ในช่วงเดียวกันของปี 2561 พบว่าขยะพลาสติกถูกส่งมาสูงขึ้นเป็น 5,473,440 กิโลกรัม นอกจากนี้มีรายงานการนำเข้าขยะพลาสติกโดยไม่ถูกกฎหมาย มีสารเคมีปนเปื้อน มีกลิ่นเหม็น รวมถึงมีโลหะปะปน
การพิจารณาการออกกฎระเบียบห้ามนำเข้าขยะพลาสติกของประเทศไทย
โดยปกติการนำเข้าจะต้องทำการขออนุญาต ผู้ประกอบการต้องยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอนำเข้าเศษพลาสติก พร้อมเอกสารหลักฐานไปยังสำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2019/20190617-newsletter-brussels-v5-may61.pdf

DQ กับการตรวจสอบอารมณ์ของเราในโลก Social

    ความฉลาดทางดิจิทัล  (DQ:  Digital  Intelligence  Quotient)  คือ  กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์      (ที่มา หนังสือความฉลาดทางดิจิทัล โดย สสส. และ สสย.  http://cclickthailand.com/contents/general/dq3.pdf  ) แล้วทักษะความฉลาดทางดิจิทัลที่สำคัญมีอะไรบ้าง โดยสรุปมีดังนี้
8 ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล ที่ควรเรียนรู้
1. ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง  (Digital Citizen Identity)
2. ทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking)
3. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management)
4. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว  (Privacy Management)
5. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ   (Screen Time Management)
6. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints)
7. ทักษะในการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์  (Cyberbullying Management)
8. ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy)
       ในบทความนี้ เรามีภาพสรุปให้คุณได้ทราบภาวะอารมณ์และการจัดการภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเสพสื่อ social มาตรวจสอบกันว่าคุณจะรับมือและจัดการสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร เพราะ ความฉลาดทางดิจิทัล เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันตนเอง ป้องกันคนที่คุณรัก ให้เท่าทันกับเทคโนโลยีและภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ถือเป็นวัคซีนป้องกันชีวิตเราได้ดีในปัจจุบันและอนาคต

แนวโน้มของ exoskeleton

การพัฒนาเทคโนโลยี การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย stroke ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ และอัมพาต และการเพิ่มมากขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ การใช้ในทางการทหาร (ช่วยทหารที่ได้รับบาดเจ็บให้เคลื่อนที่ได้และยกของหนักได้) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาด exoskeleton ขยายมากขึ้น

ตลาด exoskeleton แบ่งตามเทคโนโลยีเป็น stationary และ mobile ในช่วงปี 2018-2025 stationary จะสร้างรายได้อย่างมาก ทั้ง stationary และ mobile สามารถแบ่งต่อเป็น active และ passive ตามพลังงานที่ใช้ การเพิ่มขึ้นของการวิจัยและพัฒนาและการเพิ่มความต้องการหุ่นยนต์ที่ใช้มอเตอร์เพื่อช่วยกลศาสตร์ของร่างกายมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ถูกคาดว่าจะเพิ่มอัตราการใช้เทคโนโลยี active exoskeleton ในคนพิการ การใช้เพิ่มขึ้นของ exoskeleton ชนิด stationary ในการทหารและอุตสาหกรรมคาดว่าจะเพิ่มความต้องการของ exoskeleton ชนิดนี้ในอนาคต การใช้เพิ่มขึ้นของ powered exoskeleton ในการฟื้นสภาพ (rehabilitation) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญซึ่งเป็นไปได้ที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ stationary ระหว่างปี 2018-2025

ตลาด exoskeleton แบ่งตาม drive type เป็น pneumatic actuators, hydraulic actuators, electric servo actuators, electric actuators, fully mechanical exoskeletons, shape memory alloy actuators และ fuel cell

fuel cell ได้รับการคาดหมายว่าจะขยายอย่างมากระหว่างปี 2018-2025 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการขยายสูงสุดของ fuel cell เช่น 1. การรับรู้ที่เพิ่มขึ้นในข้อดีของ fuel cell เหนือ electric actuators  2. fuel cell ถูกขนส่งทางเรือมากขึ้น  3. มีการนำ stationary fuel cell ไปประยุกต์ใช้มากขึ้น

end use หลัก ในตลาด exoskeleton คือ healthcare, การทหาร และอุตสาหกรรม  ในปี 2018-2025 อุตสาหกรรมคาดว่าจะมีการขยายสูงสุด ปัจจัยหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมเกิดการขยายคือ การเพิ่มมากขึ้นของการได้รับบาดเจ็บที่เกี่ยวกับการทำงานและการเพิ่มขึ้นของการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี exoskeleton ในอุตสาหกรรม นอกจากนี้การพัฒนาเทคโนโลยี การเพิ่มขึ้นของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี exoskeleton ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง และการเพิ่มขึ้นของการวิจัยและพัฒนาของ exoskeleton สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม คาดว่าจะทำให้การตลาดขยายในช่วงปี 2018-2025

ตลาด exoskeleton ใน Asia Pacific คาดว่าจะมีการขยายสูงสุดในช่วงปี 2018-2025 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย stroke และที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น มีรายได้ที่จับจ่ายได้เพิ่มขึ้น และมีทุนรัฐบาลให้

การลงทุนของบริษัทสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่คาดว่าจะเพิ่มการขยายตลาด exoskeleton ในอนาคต เช่น บริษัท ReWalk Robotics พัฒนา exoskeleton ที่ชื่อ ReWalk ออกแบบเพื่อพยุงขาและส่วนบนของผู้พิการ

ที่มา: Grand View Research (February 2018). Exoskeleton Market Size, Share & Trends Analysis Report By Type (Mobile, Stationary), By Drive Type, By End-use (Healthcare, Military, Industrial), And Segment Forecasts, 2018 – 2025. Retrieved June 10, 2019, from https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/exoskeleton-market

แนวทางการจัดการความรู้ที่ได้มาตรฐานระดับสากล

สรุปการสัมมนาเรื่อง แนวทางการจัดการความรู้ที่ได้มาตรฐานระดับสากล ได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่งจาก คุณสราวุฒิ พันธุชงค์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารสารสนเทศและการจัดการความรู้ มาเป็นวิทยากร เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 ณ Co-Working Space สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ดังนี้

1. KM (knowledge management, การจัดการความรู้)  คืออะไร

  • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้คำจำกัดความของความรู้ว่าคือ 1. ประสบการณ์  2. ทักษะ  3.สารสนเทศ และ 4. องค์วิชา (body of knowledge) ซึ่งคือหลักการต่างๆ เช่น องค์วิชาด้านบัญชี  ดังนั้น KM คือ การจัดการทั้ง 4 ข้อนี้โดยต้องใช้เครื่องมือ หลังจากนั้นจะได้ความรู้ชนิด tacit (ความรู้ฝังในตัวคน) และ Explicit (ความรู้ที่ชัดแจ้ง) ออกมา ต่อมานำไปเก็บไว้ใน KMS (knowledge management system ได้แก่ เว็บไซต์ ยูทูป ฐานข้อมูล อินทราเน็ต) แล้วมาแบ่งปันและเรียนรู้ (share and learn)
  • ประสบการณ์เป็นความรู้ประเภทหนึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ประสบการณ์ที่ดี คือ best practice (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ) หรือ good practice ประสบการณ์ที่ไม่ดี คือ lesson learned ในการจัดการความรู้จะใช้เครื่องมือถอด best practice จะได้องค์ความรู้ออกมา เดินทางต่อไปที่คลังความรู้แล้วต่อมานำไปใช้ปรับปรุงให้ดีขึ้น (improvement) แล้วทำการวัดผล ผลที่ได้ออกมาคือประสิทธิภาพประสิทธิผล
  • ทักษะเป็นความรู้ประเภท tacit การจัดการความรู้ประเภททักษะ ผู้มีทักษะต้องยินดีเปิด แล้วถอดความรู้จากผู้นั้น จัดเป็นการจัดการความรู้ระดับบุคคล (personal KM) วัดผลที่คนเก่งขึ้นไหม ถ้าองค์กรมีระบบที่ดี จะวัดที่ competency
  • สารสนเทศเกี่ยวกับ information ไม่เกี่ยวกับคน information คือข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว มาผ่านเครื่องมือ เช่น DATA analytic ทำให้เกิด improvement นำไปสู่สุดท้ายเกิดนวัตกรรม
  • องค์วิชาที่สำคัญคือการเขียนคู่มือ งานวิจัย ออกมาเป็นนวัตกรรม

2. การทำ KM มี 3 ระดับคือ

  1. personal KM เป็นการจัดการความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน
  2. process KM
  3. organization KM เป็นการจัดการความรู้ระดับองค์กร

Process KM วัดที่ปัญหาในการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่ใช่องค์กร เมื่อวิเคราะห์ปัญหาผลจะออกมา 3 ทาง กลุ่มแรกปัญหาเรื่องคน กลุ่มที่สองเป็นเรื่อง process (ขบวนการปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพ) กลุ่มที่สามเรื่องเทคโนโลยี  ถ้าคนไม่รู้ ไม่มีทักษะ ไม่ชำนาญแก้ได้โดยนำความรู้มาจัดการ  process แก้โดยทำ 5 ส ทำที่เกี่ยวกับ quality system ถ้าเป็นเทคโนโลยีปัญหามี 2 ทาง คือ เทคโนโลยีเก่าไม่ทันสมัย เทคโนโลยีไม่มีประสิทธิภาพแก้โดยพัฒนาเองหรือซื้อ ต่อจากการแก้ปัญาคือจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3. เป้าหมายและจุดประสงค์ของ KM คือ

1. พัฒนาองค์กร ทำให้บรรลุเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ รายได้ และค่าใช้จ่าย
2. พัฒนากระบวนการทำงาน

  • ให้เกิดประสิทธิภาพ ความผิดพลาดลดลง ปรับปรุงพัฒนากระบวนการให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
  • ให้เกิดประสิทธิผล การพัฒนาผลผลิต การลดต้นทุน
  • ให้เกิดนวัตกรรม พัฒนาการระดมความคิด การนำแนวความคิดใหม่มาใช้จริง

3. พัฒนาคน ให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้ มีความคล่องตัวในการทำงาน บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน

4. KM เป็นกระบวนการที่ทำให้องค์กรสามารถก้าวสู่สถานะที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ ลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่

1. มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ทุกคนใฝ่รู้ และเผยแพร่
2. เพิ่มอำนาจการปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาเรียนและรู้ขณะเดียวกัน
3. ทันต่อความเปลี่ยนแปลง
4. มีระบบการเรียนรู้ร่วมกัน มีการถ่ายโอนความรู้ และใช้ประโยชน์จากความรู้
5. ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
6. มุ่งเน้นคุณภาพ และความพอใจของลูกค้า
7. มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีการทำงานเป็นทีม
8. ผู้บริหารเป็นพี่เลี้ยง ผู้ชี้แนะ เกื้อหนุน
9. มีมุมมองในภาพรวมและเป็นระบบ
10. ให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์

5. บทบาทหน้าที่ของบุคคลในกระบวนการ KM

  • คณะกรรมการอำนวยการ (KM Committee)
    1. กำหนดนโยบาย แนวทางในการดำเนินงานจัดทำแผนงานจัดการความรู้
    2. ประเมินผล และอำนวยความสะดวก ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • คณะทำงานและนักการจัดการความรู้ (KM Facilitator)
    1. จัดทำแผนการจัดการความรู้ในองค์กร
    2. ดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ในองค์กร
    3. ดำเนินการค้นหา รวบรวมองค์ความรู้ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ บทเรียนต่างๆ ในการทำงาน
    4. รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหาร
    5. เผยแพร่องค์ความรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร

6. ประเด็นหลักในการพิจารณาออกแบบ KM ได้แก่

1. วัฒนธรรมองค์กร
2. นโยบายจากผู้บริหารสูงสุด
3. โครงสร้างขององค์กร
4. อายุองค์กร และอายุของพนักงาน
5. ทีมงานการจัดการความรู้
6. เทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร

7. ระดับการพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร (บอกว่าองค์กรเราทำ KM อยู่ในระดับไหน) แบ่งเป็น 5 ระดับ

  • ระดับ 1 การเริ่มต้น : ปฐมบทแห่งการเรียนรู้ อธิบายเป้าหมายและจุดประสงค์ของการจัดการความรู้ เขียน Roadmap และ KPI เข้าใจเข้าถึงการมีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ระดับ 2 การพัฒนา : วิธีการปฏิบัติและมีการปฏิบัติซ้ำๆ พัฒนาความเป็นผู้นำการจัดการความรู้ ออกแบบกลยุทธ์ของการจัดการความรู้ หาแนวทางและเครื่องมือในการจัดการความรู้ ค้นหาและใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
  • ระดับ 3 วางมาตรฐาน : กระบวนการและวิธีการ จัดการและกระบวนการทางการจัดการความรู้ ออกแบบวิธีการและเริ่มดำเนินการ นำบทเรียนที่ได้รับเป็นแหล่งเรียนรู้ สื่อสารและร่วมแบ่งปันประสบการณ์
  • ระดับ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพ : ตรวจสอบคุณภาพและการปรับปรุง มีมาตรฐาน KM และใช้ประโยชน์ได้ทั่วทั้งองค์กร และมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเพื่อแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติ
  • ระดับ 5 แนวทาง : การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ฝังวิธีการ KM มาตรฐานในแบบการจำลองธุรกิจตรวจสอบวิธีการ KM จัดเรียงการประเมินประสิทธิภาพและการรับรู้ด้วยกลยุทธ์ KM ปรับปรุง KM การจัดการภายในองค์กรและดำเนินงานต่อไป

8. ปัจจัยที่ทำให้การทำ KM ไม่ประสบผลสำเร็จ

  1. ผู้บริหารระดับสูงไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญ
  2. องค์กรที่ไม่มีวัฒนธรรมเอื้อต่อการเรียนรู้และแบ่งปัน
  3. คนในองค์กรไม่มีเวลาที่จะเรียนรู้และไม่ใช้ความรู้ในการทำงาน

9. ปัจจัยที่ทำให้การทำ KM ประสบผลสำเร็จ

  1. วิสัยทัศน์องค์กร สร้างทัศนคติที่ในการทำงาน สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานทุกระดับ
  2. ผู้นำ สร้างความเป็นแบบอย่าง เอาจริงเอาจัง ร่วมคิดร่วมทำ สร้างแรงจูงใจ
  3. กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ทำอย่างเป็นระบบ สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เปิดโอกาส สร้างคน
  4. นโยบายที่เปิดกว้าง สร้าง / ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม กระตุ้นให้พนักงานรักองค์กรเหมือนรักบ้านของตนเอง สร้างเครือข่ายความรู้จากหลักการ “ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ”

10. ISO 30401 เป็นมาตรฐานที่ประกาศใช้ในประเทศไทย เป็นแนวปฏิบัติการทำ KM ในองค์กร พูดถึงอะไรบ้าง เข้าใจองค์กร เก็บรวบรวมความต้องการ ทำขอบเขตว่าจะทำแค่ไหน ผู้นำต้องเป็นคนกำหนดนโยบาย กำหนดบทบาท กำหนดความรับผิดชอบ กำหนดตัววัด การวางแผน หาโอกาสหรือความเสี่ยง การกำหนด roadmap ทรัพยากรที่ใช้ การสร้าง awareness ให้กับคนในองค์กร  การสื่อสาร การวัดผลทั้งประสิทธิภาพในกระบวนการและมีการทำ internal audit


สรุปความจากงานสัมมนาเรื่อง แนวทางการจัดการความรู้ที่ได้มาตรฐานระดับสากล เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 ณ Co-Working Space อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ทิศทางของการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ (DNA Data Storage)

ปัจจุบันความต้องการของการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลกำลังมีมากกว่าความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล และความสัมพันธ์นี้ขยายมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีข้อมูลดิจิทัลเกิดขึ้นมากมายมหาศาล โดยในปี 2025 มนุษย์ได้รับการคาดหมายว่าจะผลิตข้อมูล 160 เซตตะไบต์ต่อปี ทำให้การจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอได้รับความสนใจแทนการจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า (เช่น ซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดร์ฟ) เนื่องจากมีความหนาแน่นในการจัดเก็บสูงกว่า (ต้องการดีเอ็นเอเพียง 1 กรัม สำหรับเก็บข้อมูล 40 เซตตะไบต์) และคงสภาพเดิมด้วยมีครึ่งชีวิตมากกว่า 500 ปี

ความสนใจในการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอเริ่มตั้งแต่ปี 1988 โดยเก็บข้อมูล 0.000004 เมกะไบต์ ถึงอย่างไรก็ตามเพียงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018 มีการเก็บข้อมูล 400 เมกะไบต์ อุปสรรคสำคัญต่อความก้าวหน้าของการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอคือค่าใช้จ่ายที่สูงมากของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เนื่องจากเทคโนโลยีการสังเคราะห์ดีเอ็นเอไม่ได้รับการพัฒนามากพอในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ใช้วิธีการที่ใช้เคมีอินทรีย์ (phosphoramidite) ขณะนี้มีหลายบริษัทเกิดใหม่และสถาบันการศึกษากำลังพัฒนาเทคโนโลยีการสังเคราะห์ดีเอ็นเอโดยใช้เอนไซม์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอลดลงอย่างมาก โดยคาดว่าในปี 2020 เทคโนโลยีนี้จะออกสู่ตลาด ทำให้ค่าใช้จ่ายในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอลดลงอย่างมากในปี 2021 และปีต่อๆ มา โดยปี 2025 จะมีค่าใช้จ่ายในการสังเคราะห์ดีเอ็นเออยู่ที่ 0.00001 ดอลลาร์ต่อคู่เบส ซึ่งจะเท่ากับการเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอด้วยค่าใช้จ่ายประมาณ 42 ดอลลาร์ต่อเมกะไบต์ และในปี 2030 ค่าใช้จ่ายในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอจะลดลงเป็น 0.0000001 ดอลลาร์ต่อคู่เบส ซึ่งเท่ากับค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอประมาณ 1 ดอลลาร์ต่อเมกะไบต์

นอกจากเทคโนโลยีในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอมีผลต่อค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ ยังมีการพัฒนาในเทคโนโลยีอื่นอีกที่มีผล ได้แก่ 1. การเพิ่มความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ (DNA Fountain technique, DNA modification techniques) 2. การทำให้การเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอมีประสิทธิภาพมากขึ้น (บริษัท Helixworks ใช้เพียงเบส A กับ T ในการเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ  บริษัท Catalog ใช้ดีเอ็นเอสายสั้น (20-30 เบส) หลายสายเพื่อเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอ โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2019 จะเก็บข้อมูล 1 เทราไบต์ต่อวันในดีเอ็นเอด้วยค่าใช้จ่ายประมาณ 2 พันดอลลาร์ เพื่อบรรลุเป้าหมายเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีแผนที่จะสร้างอุปกรณ์เก็บข้อมูลในดีเอ็นเอเป็นครั้งแรกในโลกโดยจะพัฒนาเสร็จต้นปี 2019) 3. ทำให้การอ่านดีเอ็นเอเร็วขึ้น (ทำให้การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอเร็วขึ้น) 4. พัฒนาวิธีดึงข้อมูลที่เก็บในดีเอ็นเอกลับคืนแบบเข้าถึงแบบสุ่ม (การพัฒนาซอฟต์แวร์ปฏิบัติการกับการพัฒนาอุปกรณ์อ่านดีเอ็นเอ)

ที่มา: Potomac Institute for Policy Studies (September 2018). The Future of DNA Data Storage. Retrieved June 3, 2019, from http://www.potomacinstitute.org/images/studies/Future_of_DNA_Data_Storage.pdf

การศึกษาวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 (Why we need both science and humanities for a Fourth Industrial Revolution education)

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในยุคที่เครื่องจักรกลฉลาดขึ้น ที่แท้จริงคืออะไรกำลังเข้ามาแทนที่ องค์การสหประชาชาติตระหนักถึงทำอย่างไรจะนำประโยชน์จากนวัตกรรมสู่ลูกค้าและสังคมโลกได้ขณะที่กำลังเข้าสู่ยุค 5G วิศวกรและนักมนุษยธรรมเก่งๆ หลายคนต่างมองหาแนวทางที่จะดึงเอาประโยชน์จากนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายยุคที่ 5 หรือ 5G ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นต้น

ความต้องการของตลาดแรงงานและเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทำให้สถานศึกษาหลายๆ แห่งพุ่งเป้าไปที่ (STEM) คือวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์

Statistia (2016) สำรวจนักศึกษาจบใหม่ในสาขา (STEM) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ พบว่าประเทศที่ศึกษา STEM ได้แก่จีน 4.7 ล้านคน รองลงมาอินเดีย 2.6 ล้านคน อันดับสามสหรัฐอเมริกา 568,000 คน ต่อมาเป็นรัสเซีย 561,000 คน อันดับห้าเป็นอิหร่าน 335,000 คน ต่อมาคืออินโดนีเซีย 206,000 คน และญี่ปุ่น 195,000 คน แม้สถิติชี้ชัดเจนว่าระบบการศึกษากำลังป้อนแรงงานด้าน (STEM) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สู่ตลาดแรงงานจำนวนมาก แต่บ่อยครั้งที่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งตัดสินใจผิดพลาดเมื่อนำนวัตกรรมที่พัฒนาในห้องแลปออกสู่สังคม เช่น ข้อมูลความเป็นส่วนตัว ความโปร่งใสในเอื้อระบบการเมืองใด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ สังคมและระบบการศึกษาควรหันมาให้ความสนใจศาสตร์ทางด้านมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปะ ไม่แพ้ (STEM) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  วิศกรควรเข้าแนวคิดจากนวนิยายเรือง Brave New World ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ควรมีความเข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้วย

วัตถุประสงค์ของระบบการศึกษาที่ควรเป็น

  1. เพื่อให้ผู้เรียนรักการแสวงหาความรู้พัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  2. เพื่อเสริมสร้างความรู้พื้นฐาน คิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยตนเอง อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
  3. เพื่อพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ศึลธรรม จริยธรรม ประพฤติตนดีงามมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ระบบการศึกษาควรหันมาให้ความสนใจและความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง นั่นคือ สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เป็นเพียงแต่แนวคิด หรือแม้แต่การพิจารณาเรื่องข้อจำกัดด้านอายุในการรับบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา เช่น ขยายอายุจาก 18 – 21 ปี เป็นไปจนถึง   40 ปี เป็นต้น เพื่อให้การศึกษาเตรียมคนให้พร้อมรับมือกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งในอนาคตอันใกล้และที่กำลังจะมาถึง


ที่มา: Hans Vestberg (2018, September 21).Why we need both science and humanities for a Fourth Industrial Revolution education. World Economic Forum. Retrieved May 14, 2019,

จาก https://www.weforum.org/agenda/2018/09/why-we-need-both-science-and-humanities-for-a-fourth-industrial-revolution-education/