หน้าแรก คลังความรู้ คลังความรู้ นานาสาระน่ารู้ แนะนำข้อมูลเปิดภาครัฐ – การเปิดเผยชุดข้อมูล
แนะนำข้อมูลเปิดภาครัฐ – การเปิดเผยชุดข้อมูล
26 มิ.ย. 2567
0
นานาสาระน่ารู้

 ขั้นตอนการเปิดเผยชุดข้อมูลสำหรับข้อมูลเปิดภาครัฐ

จากบทความแนะนำข้อมูลเปิดภาครัฐ หลังจากพิจารณาเตรียมข้อมูลเพื่อเปิดเผย ต่อไปเป็นขั้นตอนเปิดเผยชุดข้อมูล ที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการเพื่อเปิดเผยสู่สาธารณะ โดยมีทั้งหมด 10 ขั้นตอน

ขั้นตอน 1 สำรวจชุดข้อมูลที่มีอยู่ในหน่วยงาน
พิจารณาในหน่วยงานของท่านว่า มีการทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) แล้วหรือไม่

  • กรณี หน่วยงานมีการทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)
    – เข้าไปดูที่ Data Catalog ที่ได้จัดทำไว้ และนำข้อมูลที่ถูกจัดชั้นความลับว่าเป็น “ข้อมูลสาธารณะ” แล้วนำเข้าสู่ ขั้นตอน 2 เพื่อพิจารณาเพิ่มเติมชุดข้อมูลที่ ควรนำมาเปิดเผย
  • กรณี หน่วยงานไม่มีการทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)
    – ให้ทำการสำรวจข้อมูลภายในหน่วยงาน ให้นำข้อมูลที่เป็น “ข้อมูลสาธารณะ” สามารถเปิดเผย ไปพิจารณาเพิ่มเติมตาม ขั้นตอน 2

 

ขั้นตอน 2 พิจารณาชุดข้อมูลที่ควรจะนำมาเปิด
หลังจากได้ “ข้อมูลสาธารณะ” มาแล้ว ก็ต้องมาระบุชุดข้อมูลที่จะนำไปเปิดเผยว่าเป็นชุดข้อมูลประเภทใด มีความสำคัญอย่างไร และนำไปใช้ในทิศทางใด โดยพิจารณาตาม
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  • กฎหมายกำหนดให้เปิดเผย เช่น ข้อมูลแผนงาน โครงการ สัญญาสัมปทาน
  • เปิดตามภารกิจของหน่วยงาน เช่น ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
  • มีประโยชน์ต่อผู้พัฒนาในการนำไปพัฒนาบริการภาครัฐ เช่น ข้อมูลสถิติต่าง ๆ
  • มีประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้งาน เช่น ข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท ข้อมูลการขนส่ง ข้อมูลการเกิดอาชญากรรม
  • สร้างความโปร่งใส คือ ผู้ใช้สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อป้องกันการทุจริต เช่น ข้อมูลด้านงบประมาณ ค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และการจัดซื้อจัดจ้าง

 

ขั้นตอน 3 จัดลำดับความสำคัญ
โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

  • คุณค่าของแต่ละชุดข้อมูล
  • คุณภาพของชุดข้อมูล
  • การบริหารจัดการของชุดข้อมูลเปิด
  • หากมีคุณค่าสูง ข้อมูลที่มีอยู่มีคุณภาพ และอยู่ในรูปแบบที่สามารถเปิดเผยได้ ก็ควรพิจารณาให้เปิดเผยก่อน

 

ขั้นตอน 4 การรวบรวมจัดทำชุดข้อมูล
เนื่องจากข้อมูลอาจจะมาจากหลายส่วนงานภายใน จึงต้องมีการจัดทำออกมาเป็นชุดข้อมูลก่อนเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

 

ขั้นตอน 5 การจำแนกประเภทข้อมูลและตัวอย่าง
ต้องทำให้มั่นใจก่อนว่า ข้อมูลที่จะนำมาเปิดเผยถูกจำแนกว่าเป็นข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ โดยสามารถพิจารณาตามคำถามต่อไปนี้

  • เป็นข้อมูลเปิดตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ใช่หรือไม่
    • หากใช่ สามารถเปิดเผยได้
    • หากไม่ใช่ ให้พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
  • เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงฯ ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพ.ร.บ.ข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. 2562ใช่หรือไม่
    • หากใช่ ไม่สามารถเปิดเผยได้
    • หากไม่ใช่ ให้พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
  • เป็นข้อมูลส่วนบุคคลฯ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540ใช่หรือไม่
    • หากใช่ ให้พิจารณาว่าได้รับอนุญาตให้เปิดเผยได้ ใช่หรือไม่
      • หากใช่ สามารถเปิดเผยได้
      • หากไม่ใช่ ไม่สามารถเปิดเผยได้
    • หากไม่ใช่ ให้พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
  • เป็นข้อมูลที่มีกฎหมายเฉพาะให้เปิดเผย ใช่หรือไม่
    •  หากใช่ สามารถเปิดเผยได้
    •  หากไม่ใช่ ไม่สามารถเปิดเผยได้
  • ทั้งนี้หลังจากจำแนกชุดข้อมูล จะต้องพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ด้วย
    •  คุณภาพของชุดข้อมูล ชุดข้อมูลที่คุณภาพต่ำไม่ควรนำมาเปิดเผยหรือเผยแพร่จนกว่า จะมีการควบคุมคุณภาพของข้อมูลให้สูงขึ้นในระดับที่ยอมรับให้เปิดเผยได้
    •  สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลเปิดภาครัฐจะต้องไม่มีข้อห้ามเรื่องลิขสิทธิ์สิทธิบตัรเครื่องหมายการค้า หรือข้อจ ากัดในเชิงการค้า (Open License) ในการนำชุดข้อมูลดังกล่าว ไปเปิดเผย และสามารถใช้งานได้โดยอิสระ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

ขั้นตอน 6 การเตรียมความพร้อมก่อนนำขึ้นเผยแพร่
ทำให้อยู่ในรูปแบบเปิด ทำให้อยู่ในรูปแบบเปิดมากที่สุด เช่น มีชุดข้อมูลอยู่ในไฟล์ .pdf ก็ให้ทำการแปลงเป็นไฟล์รูปแบบอื่น เพื่อทำให้เครื่องอ่านได้ เช่น .csv

  • การแปลงไฟล์ ที่ทำให้สามารถเปิดเผยได้
  • ตรวจสอบคุณภาพ – กำจัดข้อมูลซ้ำ ทำให้ไม่มีข้อมูลว่าง
  • ตรวจสอบความต้องกัน – รูปแบบวันที่ รูปแบบเวลา
  • ตรวจสอบมาตรฐาน – รหัสมาตรฐาน เช่น UN/LOCODE
  • กำหนดความถี่ในการปรับปรุง กำหนดว่าชุดข้อมูลนี้ ต้องปรับปรุงหรือไม่ หากมี ความถี่เป็นอย่างไร จะใช้วิธีใดในการปรับปรุง
  • Metadata ต้องมีการจัดทำเมทาดาตาเพื่อความสะดวกกับผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นความต้องการขั้นต่ำในการเปิดเผยชุดข้อมูลเปิด

 

ขั้นตอน 7 การขออนุมัติ
การเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐจะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐในการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

 

ขั้นตอน 8 เปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐผ่านช่องทาง
มี 2ช่องทาง หลัก ๆ ที่แนะนำเพื่อให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน

  • ผ่านศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการเผยแพร่ชุดข้อมูลให้เป็นไปตามกลุ่มข้อมูลเปิดภาครัฐที่ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐได้มีการกำหนดไว้ โดย สพร.
    ผู้พัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานสามารถนำข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้มาเปิดเผย
  • ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานเอง หากหน่วยงานของรัฐมีชุดข้อมูลที่เปิดเผยไปแล้วผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงานเอง ผู้รับผิดชอบในการนำข้อมูลเปิดของหน่วยงานสามารถ
    เชื่อม API มาที่ทางแพลตออร์มที่ สพร. มีให้บริการได้

 

ขั้นตอน 9 การวัดผล
ต้องกำหนด “แผนการวัดผล” เพื่อนำแผนการไปปรับปรุง และพัฒนาข้อมูลเปิดภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น

  • กำหนดแผนปรับปรุง ชุดข้อมูลที่นำขึ้นเปิดเผยแล้ว (Existing Datasets) โดยพิจารณาจาก
    • ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุดข้อมูล
    • ข้อร้องเรียน
  • กำหนดแผนการนำเข้าชุดข้อมูลใหม่ ๆ โดยพิจารณาชุดข้อมูลที่มีแนวโน้มควรเปิดเผย (Potential Datasets) ตัวอย่างข้อมูลเหล่านี้ หาได้จาก
    • ชุดข้อมูลภายในประเทศที่มีคนต้องการ แต่ยังไม่มีการเปิดเผย
    • ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าของต่างประเทศ
    • ชุดข้อมูลที่ถูกนำไปใช้พัฒนาบริการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

 

ขั้นตอน 10 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ผลที่ได้จาก ขั้นตอน 8 ต้องนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผยไปแล้วมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีหลักการปรับปรุงเบื้องต้นดังนี้

  • แก้ไข ปรับปรุง ข้อมูลเดิม ที่ยังมีข้อผิดพลาดอยู่
  • ปรับปรุง ข้อมูลเดิมให้มีคุณภาพมากขึ้น
  • เพิ่มชุดข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้
  • เพิ่มชุดข้อมูลให้ทันสมัย
  • กำหนดเป้าหมายให้เปิดเผยเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี
  • จัดทำ High Value Datasets

 

แหล่งข้อมูล : https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2021/03/ราชกิจจานุเบกษา_เปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ.pdf

แชร์หน้านี้: