กลุ่มวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)
1. การพัฒนาขีดความสำมารถด้านวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
โดยจะใช้ กลยุทธ์ 6-6-10 เป็นกรอบการพัฒนาเพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งและความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ขั้นสูง ด้วยกลยุทธ์ 6-6-10 คือ 6 research pillars, 6 frontier research และ 10 Technology Development Groups (TDGs)
2. National S&T Infrastructure (NSTI)

เป็นการพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทาง วทน. ที่สำคัญของประเทศ

1. ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ
(National Biobank of Thailand: NBT)

ดำเนินการจัดเก็บ อนุรักษ์ ทรัพยากรชีวภาพ เช่น พืช จุลินทรีย์ ข้อมูลจีโนมของมนุษย์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประชาคมวิจัย
รายละเอียดเพิ่มเติม

2. ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ
(National Omics Center: NOC)

พัฒนาวิธีการตรวจสอบทาง Genomics, Transcriptomics, Proteomics และ Metabolomics ที่ได้มาตรฐาน
รายละเอียดเพิ่มเติม

3. ศูนย์ระบบไซเบอร์-กายภาพ
(Center for Cyber-Physical Systems: CPS)

เป็นศูนย์บริการเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านระบบ ไซเบอร์-กายภาพชั้นนำของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
รายละเอียดเพิ่มเติม

4. ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center: ThaiSC)

เป็นศูนย์บริการด้านการคำนวณประสิทธิภาพสูง เพื่อตอบโจทย์ปัญหาขนาดใหญ่ของประเทศที่ต้องการความรวดเร็วและความแม่นยำสูง
รายละเอียดเพิ่มเติม

5. สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Technology and Informatics Institute for Sustainability: TIIS)

จัดทำข้อมูลและการประเมินวัฏจักรชีวิต เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การเติบโตอย่างยั่งยืน และการแข่งขันในระดับสากล
รายละเอียดเพิ่มเติม

3. National Quality Infrastructure (NQI)
เป็นการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ เพื่อรองรับการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย และการตรวจประเมินให้การรับรองที่ได้มาตรฐานสากลทั้งกับภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐ เพื่อต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม อันจะเป็นฐานให้เกิดเศรษฐกิจสังคมฐานนวัตกรรม
1. ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(Electrical and Electronic Product Testing Center: PTEC)

เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือแพทย์ของไทย

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

2. ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช.
(NSTDA Characterization and Testing Service Center: NCTC)

ห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพตรงตามหลักมาตรฐานสากล (ISO/IEC 17025) และเครื่องมือที่ทันสมัย

รายละเอียดเพิ่มเติม

3. ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม
(Design & Engineering Consulting Service Center: DECC)

พัฒนาต้นแบบ เครื่องจักรและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม

รายละเอียดเพิ่มเติม

4. ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้าน และเซรามิกอุตสาหกรรม
(Industrial Ceramic and Houseware Product Testing Center: CTEC)

ให้บริการทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในเวทีสากล

รายละเอียดเพิ่มเติม

4. National Research Laboratory (NRL) ในภูมิภาค
สวทช. มีแผนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระจายเข้าสู่ภูมิภาค (สวทช. ภูมิภาค) โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (National Research Laboratory) เป็นศูนย์วิจัยที่ตั้งขึ้นเพื่อทํางานร่วมกับมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั้ง 3 แห่ง คือ ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา เพื่อนำองค์ความรู้หรือความเชี่ยวชาญไปเสริมการดำเนินงานวิจัยของมหาวิทยาลัย หรืออุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งหัวข้อการวิจัยที่ได้มีการหารือในเบื้องต้นกับเครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นและมลพิษทางอากาศ โปรตีนจากแมลง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดขอนแก่น
ภาคใต้: จังหวัดสงขลา
การดำเนินการด้วยกลยุทธ์ 6-6-10
การพัฒนาขีดความสำมารถด้านวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม โดยจะใช้กลยุทธ์ 6-6-10 เป็นกรอบการพัฒนาเพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งและความเชี่ยวชาญด้านวิทยา ศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ขั้นสูง ด้วยกลยุทธ์ 6-6-10 คือ 6 research pillars, 6 frontier research และ 10 Technology Development Groups (TDGs)

 

(1) ส่วน 6 ตัวแรก หมายถึง

หน่วยวิจัยใน 5 สาขาวิจัยหลักที่เป็นความเชี่ยวชาญของ สวทช. (Research pillars) และ 1 กลุ่ม Agenda–based

• หน่วยวิจัยใน 5 สาขาวิจัยหลักที่เป็นความเชี่ยวชาญของ สวทช. (Research pillars)

1. Bioscience and Biotechnology
เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบการทำงานของสิ่งมีชีวิต ควบคุมให้สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติตามที่ออกแบบไว้ และพัฒนาให้เป็นต้นแบบในการขยายขนาด

2. Materials and Manufacturing Technology
พัฒนาเทคโนโลยีวัสดุ การขึ้นรูปชิ้นงาน กระบวนการผลิต เพื่อให้ได้วัสดุที่มีสมบัติตามความต้องการ และการออกแบบ วิศวกรรม การผลิต และวิเคราะห์ ทดสอบสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์

3. Electronics and Information Technology
พัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศขั้นสูง

4. Nanoscience and Nanotechnology
พัฒนาเทคโนโลยีฐานใน 3 Platforms ด้านการเคลือบ การห่อหุ้ม และโครงสร้างเชิงฟังก์ชัน

5. Energy Technology
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการกักเก็บพลังงานประสิทธิภาพสูง สร้างอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ พลังงานหมุนเวียน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากต้นสู่ปลายทาง

 

• กลุ่ม Agenda–based

กลุ่มเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ความต้องการประเทศในปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเฉพาะทำง (focus center) 3 แห่ง

1. ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (Assistive Technology and Medical Devices Research Center: A-MED)

ส่งมอบผลงาน ได้แก่ เครื่องมือแพทย์ นวัตกรรมสุขภาพ อุปกรณ์ประมวลผลสัญญาณ ชีวการแพทย์ เทคโนโลยีฟื้นฟูสมรรถภาพ และเทคโนโลยีเพื่อตอบการแพทย์ครบวงจร

รายละเอียดเพิ่มเติม

2. ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (National Security and Dual-Use Technology Center: NSD)

ส่งมอบผลงาน ได้แก่ ระบบสารสนเทศเพื่อตรวจสอบข้อมูลอัตลักษณ์ ระบบ ป้องกันภัยจากอากาศยาน ไร้คนขับและเทคโนโลยีไร้สาย ระบบเซลล์จ่ายพลังงานจากวัตถุดิบในประเทศ ระบบควบคุมเสถียรภาพแหล่งจ่ายพลังงาน ระบบกรองและ บำบัดมลพิษทางอากาศ และระบบเซนเซอร์ตรวจวิเคราะห์มลพิษทางอากาศ

รายละเอียดเพิ่มเติม

3. ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ (Rail and Modern Transports Research Center: RMT)

ส่งมอบผลงานได้แก่เทคโนโลยีสำหรับทดสอบ ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงระบบราง งานออกแบบ และพัฒนาชิ้นส่วนและการประกอบรถรางได้เองในประเทศ การพัฒนาบุคลากรและความร่วมมือกับต่างประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

(2) ส่วน 6 ตัวที่สอง หมายถึง

6 frontier research หรือ 6 สาขาวิจัยขั้นแนวหน้า เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ และขีดความสำมารถสำหรับรองรับอนาคต ได้แก่

1. Quantum Engineering

สำหรับการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล

2. Terahertz

ความถี่ที่อยู่ระหว่างไมโครเวฟกับอินฟราเรด ที่สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่า WIFI

3. Artificial Photosynthesis

สร้างพลังงานไฟฟ้าโดยการเลียนแบบการสังเคราะห์แสงของพืช

4. DNA Data Storage

แปลงข้อมูลดิจิทัลเพื่อจัดเก็บในรูปแบบของ DNA

5. Exoskeleton

โครงสร้างพื้นผิวเพื่อห่อหุ้มที่เทียบเคียงได้กับสิ่งมีชีวิต

6. Nanorobotics

จักรกลหรือหุ่นยนต์ขนาด Nanoscale ที่ทำงานได้ตามภารกิจ

(3) ส่วน 10 ตัวสุดท้าย หมายถึง

6 frontier research หรือ 6 สาขาวิจัยขั้นแนวหน้า เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ และขีดความสำมารถสำหรับรองรับอนาคต ได้แก่

1. Precision Agriculture:

พัฒนาการผลิตทางการเกษตรของไทยทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

2. Food & Feed:

พัฒนาและใช้สารที่ให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional Ingredient) สำหรับอาหารและอาหารสัตว์

3. Biochemicals:

พัฒนาเทคโนโลยีในการ ค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การสังเคราะห์ และการดัดแปรโมเลกุลทางเคมีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์

4. Cosmeceutical:

มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางและสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากธรรมชาติ ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล

5. Biopharmaceutical

พัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพประชาชน

6. Precision Medicine:

ใช้ข้อมูลระดับพันธุกรรมร่วมกับข้อมูลทางสุขภาพอื่นๆ เพื่อสร้างเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้สำหรับการวินิจฉัยพยากรณ์โรคในระยะแรก การป้องกัน และการรักษาแบบแม่นยำ

7. Medical Devices & Implants

พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเครื่องมือแพทย์นวัตกรรมสุขภาพ อุปกรณ์ประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ เทคโนโลยีฟื้นฟูสมรรถภาพ

8. Mobility & Logistics:

สร้างความเข้มแข็ง ให้กับอุตสาหกรรมยานพาหนะสมัยใหม่ โดยต่อยอดจากอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนให้มีความปลอดภัยในการเดินทาง

9. Energy:

พัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน เช่น ระบบกักเก็บพลังงาน พลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก เช่น เทคโนโลยีเพิ่มคุณภาพไบโอดีเซล พลังงานแสงอาทิตย์รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซล

10. Dual-use Defense:

ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมและนวัตกรรม ที่มีการใช้งานทั้งในภาคพลเรือนเชิงพาณิชย์และในด้านความมั่นคงของประเทศ