หน้าแรก 10 Technologies to Watch 2024: เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling Technology)
10 Technologies to Watch 2024: เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling Technology)
12 ก.ย. 2567
0
ข่าว
บทความ

10 Technologies to Watch 2024: เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling Technology)

 

การมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำทำให้มีความต้องการแบตเตอรี่ประเภทลิเทียมไอออนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูง จึงเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมควบคู่กันไปด้วย

 

10 Technologies to Watch 2024: เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling Technology)

 

ข้อมูล ณ ปี 2023 (พ.ศ. 2566) ประเทศไทยมียอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมากถึงร้อยละ 12 ขณะที่มีการประมาณว่าในปี 2030 (พ.ศ. 2573) อัตราความต้องการแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า

10 Technologies to Watch 2024: เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling Technology)

 

ปัจจุบันการรีไซเคิลแบตเตอรี่ส่วนใหญ่มักใช้ความร้อน (pyrometallurgy) หรือตัวทำละลาย (hydrometallurgy) เพื่อแยกเอาวัสดุบางส่วนที่ยังใช้งานได้ไปใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้พลังงานมากและก่อให้เกิดมลพิษ ในอนาคตกระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำวัสดุกลับมาใช้งานใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะผ่านการยกระดับสู่ ‘การรีไซเคิลแบบโดยตรง (direct recycle)’ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และมุ่งเน้นการซ่อมแซมวัสดุเพื่อนำ ‘แร่ลิเทียม’ จากขั้วแคโทดซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ชนิดนี้ รวมถึงวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการสรรหาทรัพยากรใหม่

10 Technologies to Watch 2024: เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling Technology)

 

กระบวนการรีไซเคิลแบตเตอรี่ด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลแบบโดยตรง เริ่มต้นจากการนำแบตเตอรี่ที่ผ่านการใช้งานแล้วเข้าสู่ ‘กระบวนการคัดแยกวัสดุ’ ด้วยวิธีร่อน ตัด ย่อย และบด เพื่อคัดแยกขั้วแอโนดและวัสดุต่าง ๆ ที่ยังใช้ประโยชน์ได้ ขั้นที่สองนำขั้วแคโทดที่เสื่อมสภาพแล้วไปผ่านกระบวนการแยกตัวประสานเพื่อแยกแผ่นอะลูมิเนียมออก ขั้นที่สามเมื่อเหลือเฉพาะวัสดุแคโทดที่เสื่อมสภาพแล้ว จะเป็นขั้นตอนของการนำวัสดุเหล่านั้นไปเข้ากระบวนการฟื้นฟูสภาพ ก่อนนำวัสดุที่ยังใช้ประโยชน์ได้กลับไปใช้ประกอบรวมเป็นแบตเตอรี่ใหม่ มีการประเมินว่าการรีไซเคิลด้วยวิธีนี้อาจนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ซ้ำได้มากถึงร้อยละ 90 และในปี 2030 (พ.ศ. 2573) อาจช่วยลดความต้องการสินแร่ใหม่เพื่อการผลิตแบตเตอรี่ได้มากถึงร้อยละ 25

10 Technologies to Watch 2024: เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling Technology)

 

ข้อดีของการรีไซเคิลแบตเตอรี่ด้วยเทคโนโลยีนี้ คือ ลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้โลหะหนัก และลดต้นทุนการผลิต

10 Technologies to Watch 2024: เทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่แบบโดยตรง (Direct Battery Recycling Technology)

 

ในอนาคตเทคโนโลยีรีไซเคิลแบบโดยตรงมีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับการจัดการแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงานที่หมดอายุการใช้งานแล้ว เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเป็นการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่ช่วยลดความต้องการสินแร่ได้ร้อยละ 25 ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) โดยมี EBITDA margin มากกว่าร้อยละ 10

แชร์หน้านี้: