หน้าแรก 10 Technologies to Watch: การดูแลสุขภาพทางไกลในยุคถัดไป (Next–Generation of Telehealth)
10 Technologies to Watch: การดูแลสุขภาพทางไกลในยุคถัดไป (Next–Generation of Telehealth)
14 ธ.ค. 2565
0
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ

การดูแลสุขภาพทางไกลในยุคถัดไป (Next–Generation of Telehealth)

การดูแลสุขภาพทางไกลในยุคถัดไป (Next–Generation of Telehealth)

 

ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ที่ผ่านมา หลายคนอาจมีประสบการณ์ใช้งานระบบ Telehealth หรือ การดูแลสุขภาพทางไกล โดยระบบดังกล่าวเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาก เพราะช่วยลดการติดเชื้อ ช่วยติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ลดค่าใช้จ่ายการเดินทางของผู้ป่วย รวมไปถึงลดความหนาแน่นของโรงพยาบาล ประเมินกันว่าแนวโน้มเช่นนี้จะดำรงอยู่ต่อไปและน่าจะขยายตัวมากขึ้นในยุคหลังโควิด 19 เพราะผู้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น แอปพลิเคชันต่าง ๆ ใช้งานสะดวก และราคาค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับยอมรับได้

 

การดูแลสุขภาพทางไกลในยุคถัดไป (Next–Generation of Telehealth)

 

นอกจากนี้ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยี AI, internet of things, VR, AR, robotics รวมไปถึงอุปกรณ์หรือเซนเซอร์ติดตามตัว ซึ่งจะกลายมาเป็นอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ จะทำให้เทคโนโลยี telehealth แพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยทำให้ “ปฏิสัมพันธ์” ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยมีความใกล้เคียงและเสมือนจริงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบบริการชื่อ XRHealth ของสหรัฐอเมริกาที่ให้บริการ “คลินิกแบบเสมือนจริง” (virtual clinic) รักษาผ่านอุปกรณ์และแอปพลิเคชัน VR ที่บ้าน

 

การดูแลสุขภาพทางไกลในยุคถัดไป (Next–Generation of Telehealth)

 

ในยุคถัดไปการใช้งานจะมีลักษณะแบบเรียลมากขึ้นอีก แพทย์กับผู้ป่วยหรือแพทย์กับแพทย์ จะได้พบปะ พูดคุย ปรึกษาหารือ ไปจนถึงลงมือผ่าตัด รักษาร่วมกัน ผ่านเทคโนโลยี extended reality แบบต่าง ๆ ดังเช่น ระบบชื่อ Proximie ให้บริการระบบ AR ที่แพทย์ผ่าตัดผู้เชี่ยวชาญติดตามการผ่าตัดและให้คำแนะนำกับแพทย์ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ มีเครื่องมือชื่อ digital finger ที่ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญชี้ตำแหน่งรอบพื้นที่ที่เกิดความเสียหายของผู้ป่วยและต้องผ่าตัด มีสตาร์ตอัปหลายบริษัทพยายามพัฒนาเซนเซอร์ตรวจวัดสัญญาณชีวภาพต่าง ๆ เบื้องต้นนับสิบค่า เพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยแบบทางไกลได้

 

การดูแลสุขภาพทางไกลในยุคถัดไป (Next–Generation of Telehealth)

 

ในประเทศไทยเองก็มีโรงพยาบาลรัฐและเอกชน และสตาร์ตอัปหลายแห่งที่เปิดให้บริการ telehealth ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนแล้วเช่นกัน โดยเน้นการรักษาผู้ป่วยเรื้อรัง แต่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเมือง อัตราค่าบริการราว 500 บาทต่อ 15 นาที ซึ่ง สปสช.ให้เบิกจ่ายการให้บริการ telehealth ได้แล้ว ส่วนในช่วงโควิด 19 ระบาด มีการนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยทั้งในระบบโรงพยาบาลสนาม, home isolation และ community isolation อีกด้วย อย่างระบบ A-MED Telehealth ที่ สวทช. พัฒนาขึ้นก็ให้บริการผู้ป่วยไปแล้วมากกว่า 1 ล้านคน

แชร์หน้านี้: