หน้าแรก CPF บูรณาการความร่วมมือ สวทช. ต่อยอดวิจัยที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม พร้อมเยี่ยมชม LANTA Supercomputer และ Bioprocessing Facility
CPF บูรณาการความร่วมมือ สวทช. ต่อยอดวิจัยที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม พร้อมเยี่ยมชม LANTA Supercomputer และ Bioprocessing Facility
12 ก.ค. 2567
0
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์


(11 กรกฎาคม 2567) นายพฤฒ โพธิ์ศรีทอง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ และคณะผู้บริหาร CPF เข้าเยี่ยมชมศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center: ThaiSC) และ “LANTA” Supercomputer และเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม (Bioprocessing Facility) อาคาร BIOTEC Pilot Plant พร้อมร่วมประชุมหารือกับศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมด้วย ดร.ปิยวุฒิ ศรีชัยกุล รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (ThaiSC) ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ณ อาคาร INC2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ กล่าวว่า สวทช. มีความตั้งใจนำวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาตอบโจทย์วิจัยเพื่อขยายผล มีการวางแนวของการทำงาน โดย สวทช. เป็นศูนย์วิจัยหลักของประเทศ ที่มีนักวิจัยมากที่สุดในประเทศครอบคลุมทุกด้าน ส่งเสริมให้นักวิจัยได้วิจัยเชิงลึกพร้อมผลักดันให้นักวิจัยทำงานตอบโจย์ได้จริง ที่สำคัญส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน มองว่า สวทช. เป็นประตูเชื่อมให้นักวิจัยตอบโจย์ได้จริงให้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิเคราะห์งานวิจัยให้สามารถตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้

นายพฤฒ โพธิ์ศรีทอง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า CPF ก็มีความยินดีอย่างยิ่งในความร่วมมือที่ผ่านมากับ สวทช. ทั้งที่ทำอยู่และพัฒนาด้านความร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อผลิตผลงาน ในฐานะตัวแทนของ CPF มีโอกาสได้อยู่ในกลุ่มคณะทำงานได้สานต่อความคืบหน้าในการทำงานร่วมกัน หาแนวทางรูปแบบที่ให้นักวิจัยมาร่วมงานมากขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานส่วนของความร่วมมืออื่น ๆ โดยมีความสนใจทางด้าน AI มาใช้งาน เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานทั้งหมดต้องปรับเปลี่ยนไปสู่โลกอนาคต ทำให้คนอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีให้ได้

ทั้งนี้ สวทช. ได้ใช้โอกาสนี้ แนะนำเยี่ยมชมหน่วยงานวิจัย NECTEC และศูนย์ ThaiSC ซึ่งมีความพร้อมทั้ง นักวิจัยและบุคลากร มุ่งเน้นการให้บริการระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing: HPC) เพื่อการพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาการคำนวณ (Computational Science) เช่น การทำแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ งานวิจัยด้าน Computational chemistry, Bioinfomatics, Climate change, Artificial Intelligence (AI), Big data เป็นต้น และมีศักยภาพสามารถรองรับโจทย์ปัญหาขนาดใหญ่ของประเทศได้

นอกจากนี้คณะได้เยี่ยมชม โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค (BIOTEC Bioprocessing Facility, BBF) โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศในการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม บริการผลิตในระดับขยายและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ หรือ Translational research โดยดำเนินงานตามมาตรฐานสากล รวมถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการใช้จุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม หรือ Good Industrial Large Scale Practice (GILSP) ในสภาพควบคุมระดับ LS1 เพื่อผลักดันการนำไปใช้จริงในอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยและเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG อีกด้วย

แชร์หน้านี้: