หน้าแรก โครงการอบรมการป้องกันความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 23 (CDIC2024) งานสัมมนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
โครงการอบรมการป้องกันความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 23 (CDIC2024) งานสัมมนาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
16 ธ.ค. 2567
0
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์

CDIC2024 เป็นงานสัมมนาประจำปีทางด้าน Cybersecurity ที่จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้อง แกรนด์ฮอลล์ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา งานสัมมนาเป็นหนึ่งในการประชุมด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และความปลอดภัยของข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด สมาคมผู้ตรวจสอบและควบคุมระบบสารสนเทศ-ภาคพื้นกรุงเทพฯ (ISACA Bangkok Chapter) และสมาคม The International Information System Security Certification Consortium (ISC2)

งานสัมมนา CDIC ประสบความสำเร็จในการเป็นเวทีสำหรับเทคโนโลยี แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การสร้างชุมชนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ (Cybersecurity) ในประเทศไทยและการรวบรวมผู้ให้บริการ Cybersecurity Solution ชั้นนำกว่า 60 บริษัทจากทั่วโลก ที่มีความยืดหยุ่นการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ และการตลาดในอุตสาหกรรมความปลอดภัยของข้อมูลในระดับสูง อาธิเช่น ผู้สนับสนุนหลัก EC-Council Group, Bitdefender (Thailand), บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ยิบอินซอย จำกัด อีกทั้งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากบริษัทชั้นนำมากมาย เช่น Cisco Systems, ManageEngine, บริษัท ซีเคียว ดี เซ็นเตอร์ จํากัด, บริษัท มายาเซเว่น จำกัด, Thales D I S (Thailand) Ltd., บริษัท เน็ตก้า ซิสเต็ม จำกัด, Imperva, Fortinet Security Network (Thailand) Ltd., SOSECURE Co., Ltd., OffSec Services Limited

ปีนี้ CDIC จัดขึ้นเป็นปีที่ 23 ภายใต้แนวคิด ″Harnessing the Power of Generative AI for Proactive Digital Trust and Cyber Resilience: Opportunities, Challenges, Governance, and Integration Strategies″ โดยการถือกำเนิดของ Generative AI (Gen-AI) ได้ปฏิวัติกระบวนการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ถูกยกระดับให้มีการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์เชิงรุก ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นโดยรวม ดังนั้นการทำความเข้าใจโอกาส ความท้าทาย และกลยุทธ์ในการบูรณาการ Gen-AI เข้ากับกรอบการทำงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ภายในงานสัมมนา CDIC2024 ทำการรวบรวมประเด็นสำคัญไว้มากมาย ทั้ง AI Predicting and Preventing Cyber Threats, The Future of Cyber Resilience, Advanced Threat Intelligence Sharing for Proactive Cyber Defense, Regulatory and Compliance Enhancements, Navigating the Cloud Security Landscape: Understanding CNAPP, CWPP, CSPM, and CIEM และ Leveraging Big Data and AI for Sustainable Economic Growth องค์ความรู้เหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาด และไฮไลท์ของงาน CDIC 2024 Live Show ..สาธิตสด ประเด็นภัยคุกคามใหม่รู้ก่อน..ปลอดภัย

กำหนดการช่วงสำคัญสำหรับงานสัมมนา CDIC2024 ดังนี้

กล่าวต้อนรับเข้าสู่งาน CDIC 2024
ทิศทางอนาคต Generative AI ในประเทศไทย: ขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดย ดร.กัลยา อุดมวิทิต
รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA)

กล่าวเปิดงาน CDIC 2024
เสริมพลังประเทศเพื่อก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืน: การวางยุทธศาสตร์และนโยบายปัญญาประดิษฐ์ระดับชาติ คือกุญแจสำคัญในการสร้างความไว้วางใจทางดิจิทัลที่สนับสนุน CSA และ PDPA
โดย ดร.ปิยนุช วุฒิสอน
รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

Keynote Address:
กลยุทธ์และนโยบายปัญญาประดิษฐ์ระดับชาติของประเทศไทย: นำทางไปสู่กฎหมายปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผลกระทบ การปฏิบัติตาม และทิศทางในอนาคต
โดย พลอากาศตรี อมร ชมเชย
เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

Keynote Address:
ปลดล็อก PDPA และการใช้งาน Generative AI: คู่มือการกำกับดูแลสำหรับกลยุทธ์และนโยบาย PDPA ของประเทศไทย และการปฏิบัติตามกฎหมายลำดับรอง
โดย ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์
รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รักษาการแทน เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Keynote Address:
แนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทิศทางและภัยคุกคามความเป็นส่วนตัวในปี 2568
โดย อ.ปริญญา หอมเอนก
CISSP, CSSLP, SSCP, CFE, CBCI, CASP, ITIL V3 Expert, ISMS Lead Auditor
ประธานกรรมการบริหาร
บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด และ บริษัท ไซเบอร์ตรอน จำกัด

กลุ่มเป้าหมาย
• ผู้บริหารระดับสูง (CEO, COO, CRO)
• ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (CIO, CTO, CDO)
• ผู้บริหารระบบความปลอดภัยข้อมูลระดับสูง (CSO, CISO)
• ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการในสายงานไอทีและสารสนเทศ (Vice President, Assistant Vice President, IT Director, IT Manager)
• ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจ ผู้บริหารฝ่ายดิจิทัล ผู้บริหารฝ่ายนวัตกรรม ผู้บริหารฝ่ายการตลาด (CBO, CDO, CIO, CMO)
• ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางด้านระบบสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (IT Specialist, Cybersecurity Specialist, IT Consultant)
• บุคลากรด้านไอทีของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (IT Security Practitioner)
• ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์คและระบบปฏิบัติการขององค์กร (Network & System Administrator)
• ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ (IT Auditor)
• ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer)
• บุคลากรในสายงานกฎหมาย (Law Enforcement)
• บุคลากรในสายงานกำกับดูแล (Compliance / IT Compliance)
• บุคลากรในสายงานบริหารความเสี่ยง (ERM / IT Risk)
• บุคลากรในสายงานนิติวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Cyber Cop / Digital Forensic Investigator)
• บุคลากรของผู้ให้บริการระบบเทคโนโลยี (IT Supplier, IT Outsourcing Provider)
• นักวิศวกรด้านไอที (IT Engineer)
• ประชาชนทั่วไปที่สนใจด้านความปลอดภัยข้อมูลคอมพิวเตอร์ (IT Smart Users)

Conference Highlights
1. ทิศทางอนาคต Generative AI ในประเทศไทย: ขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
2. เสริมพลังประเทศเพื่อก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืน: การวางยุทธศาสตร์และนโยบายปัญญาประดิษฐ์ระดับชาติ คือกุญแจสำคัญในการสร้างความไว้วางใจทางดิจิทัลที่สนับสนุน CSA และ PDPA
3. กลยุทธ์และนโยบายปัญญาประดิษฐ์ระดับชาติของประเทศไทย: นำทางไปสู่กฎหมายปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผลกระทบ การปฏิบัติตาม และทิศทางในอนาคต
4. ปลดล็อก PDPA และการใช้งาน Generative AI: คู่มือการกำกับดูแลสำหรับกลยุทธ์และนโยบาย PDPA ของประเทศไทย และการปฏิบัติตามกฎหมายลำดับรอง
5. การปรับปรุงความเสี่ยงและแนวโน้มด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวสำหรับปี 2025 และต่อไปด้วยโมเดลและแผนที่ทางดิจิทัลที่ไว้วางใจ
6. การวางแผนกลยุทธ์: การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วย AI และ Big Data ของประเทศไทยสำหรับอนาคต
7. อนาคตของการปฏิบัติตามการคุ้มครองข้อมูลในยุค AI: แนวโน้ม ความท้าทาย และแนวทางเชิงกลยุทธ์
8. กลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรม: ด้านความสามารถในการรับมือและตอบสนองต่อภัยไซเบอร์ คือ หัวใจสำคัญในการส่งเสริมแนวปฏิบัติของการต้านทานภัยคุกคามอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ปฏิวัติ Generative AI: ในระบบธนาคารของประเทศไทย จัดทัพให้พร้อมต่อการปฏิบัติตามข้อบังคับ ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย
10. การสนทนาแบบพาเนล: การบริหาร Generative AI และความสามารถในการรับมือและตอบสนองต่อภัยไซเบอร์: การขับเคลื่อนกลยุทธ์ระดับชาติสำหรับมิติทางกฎหมาย การเงิน และเทคโนโลยี

 

ประโยชน์จากการเข้าร่วมงาน CDIC2024
• รับรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการ Update ความรู้และข่าวสารใหม่ล่าสุด ด้าน Cybersecurity และ Generative AI เพื่อความไว้วางใจทางดิจิทัลและความยืดหยุ่นทางไซเบอร์เชิงรุกจากทั่วโลก ถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญ
• รู้จักและร่วมปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมงานท่านอื่นๆ จากหลากหลายวงการ รวมทั้งวิทยากรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่าย (Networking) และเปิดมุมมองความคิดใหม่ๆ จากวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานด้วยกัน ตลอดจนการรับรู้ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งเข้าร่วมสนุกกับเกมชิงรางวัลที่บูธแสดงผลิตภัณฑ์
• รู้ทันภัยคุกคามทางไซเบอร์และความเสี่ยงในยุคที่ Generative AI มีบทบาทสำคัญในทุกมิติ อีกทั้งยังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งองค์กรและทุกคนต้องทำความเข้าใจและพร้อมรับมือ เพื่อป้องกัน และลดผลกระทบที่จะเกิดจากความไม่รู้เท่าทัน ขาดการสังเกต และไม่มีแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมและควบคุมการใช้งานปัญญาประดิษฐ์
• รู้ถึงปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้งานทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล โดยการยกระดับทุก ๆ ด้าน ทั้งยุทธศาสตร์และภาคปฏิบัติในการนำ Generative AI และแพลตฟอร์มต่างๆ มาใช้งานให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมที่สุด
• รู้ทันเทคนิคภัยคุกคามใหม่ๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ รวมถึงการถ่ายทอดให้บุคคลรอบข้างได้ตระหนักและป้องกัน เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อในยุคแห่งสังคม Generative AI
• เรียนรู้กลยุทธ์ในการตอบสนองต่อเหตุการณ์เชิงรุกด้วย Generative AI ตลอดจนกลยุทธ์ในการป้องกันข้อมูลด้าน Big Data ด้าน Cloud ด้วยเครื่องมือ Generative AI เพื่อตอบโจทย์ความรวดเร็วและแม่นยำ
• รู้ถึงกฎหมายลำดับรอง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Act update) และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA update) พร้อมแนวทางปฏิบัติ
• เรียนรู้แนวทางปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามที่แฝงมากับ Generative AI
• เรียนรู้วิธีปฏิบัติตามแนวทาง NIST CSF 2.0 ซึ่งเป็นกรอบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลกที่ออกใหม่ล่าสุด
• พบกับการสาธิตเทคนิคการเจาะระบบหลายรูปแบบ (CDIC2024 Live Show) ที่มีโอกาสที่จะถูกนำมาใช้จารกรรมและเจาะระบบ ในชีวิตจริง

ผู้สนใจ สามารถติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://www.cdicconference.com/

แชร์หน้านี้: