หน้าแรก แกะกล่องงานวิจัย : แบตเตอรี่อุปกรณ์พกพา ปลอดภัย ยืดหยุ่นสูง
แกะกล่องงานวิจัย : แบตเตอรี่อุปกรณ์พกพา ปลอดภัย ยืดหยุ่นสูง
18 มิ.ย. 2567
0
BCG
ข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
บทความ
ผลงานวิจัยเด่น

 

📌 1) เกี่ยวกับอะไร ?

หนึ่งในสินค้าที่คอ IT ทั่วโลกจับตาการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ คือ wearable devices หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดสวมใส่ไว้กับร่างกาย อาทิ smart watch, หูฟังไร้สาย

แต่รู้หรือไม่ว่า จนถึงปัจจุบันผู้พัฒนายังคงต้องเผชิญข้อจำกัดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ค่อนข้างมาก เพราะแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน (lithium-ion battery) ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดเรื่องไม่สามารถบิดงอ ฉีกขาด หรือสัมผัสกับความร้อนสูงได้ เพราะอาจทำให้เกิดเหตุระเบิดดังที่ปรากฏให้เห็นในข่าวอยู่เป็นระยะ

ในการนี้ สวทช. จึงร่วมกับ North Calorina State University พัฒนากระบวนการผลิต ‘แบตเตอรี่สังกะสีไอออนแบบเคเบิล (cable-shaped zinc-ion battery)’ ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดในการออกแบบอุปกรณ์ โดยแบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้งานได้กับทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดสวมใส่ไว้กับร่างกาย และอุปกรณ์ IoT ขนาดเล็ก (ใช้กำลังไฟต่ำ) ชนิดต่าง ๆ ที่ต้องการความคงทนต่อสภาพแวดล้อมสูง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

 

📌 2) ดีอย่างไร ?

ปลอดภัยสูงไม่ระเบิด วัสดุทั้งหมดที่ทีมวิจัยเลือกใช้มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม ทำให้เมื่อเกิดเหตุชำรุดจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ในการผลิตยังมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าด้วย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นยังมี 3 จุดเด่นที่สำคัญ คือ เล็ก บิดงอได้ และน้ำหนักเบา เอื้อให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

 

📌 3) ตอบโจทย์อะไร?

การที่ประเทศไทยพัฒนาอุปกรณ์ประเภทแบตเตอรี่ได้เอง จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับสากล ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็น 2 อุตสาหกรรมที่ในระดับตลาดโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเสมอมา

 

📌 4) สถานะของเทคโนโลยี?

ปัจจุบันทีมวิจัยประสบความสำเร็จในระดับห้องทดลองแล้ว (TRL4) อยู่ในขั้นตอนการทำวิจัยเพื่อผลักดันผลงานวิจัยสู่ระดับอุตสาหกรรม

 

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัย : ชวนติดตามนวัตกรรมไทย ‘แบตเตอรี่สังกะสีไอออนแบบเคเบิล’ แบตเตอรี่ชนิดปลอดภัยสูง ตอบโจทย์การแข่งขันในตลาด wearable devices

แชร์หน้านี้: